วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

สุภาษิตล้านนา

การให้ความหมายทางสังคมต่อความเป็นเพศ

อุษณีย์ เทพมณี

ความเป็นเพศที่สังคมมีให้มนุษย์
คาดหวังให้ผู้ชายเป็นผู้นำที่ดีของครอบครัว
คาดหวังให้ผู้ชายมีความขยันหมั่นเพียร
คาดหวังให้ผู้ชายมีความรู้ความสามารถ
คาดหวังให้ผู้หญิงมีความประพฤติดี ซื่อสัตย์
คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นภรรยาที่ดี
คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นมารดาที่ดี

ความเป็นเพศที่สังคมมีให้มนุษย์

ความเป็นเพศ เป็นสิ่งที่กระบวนการขัดเกลาทางสังคมได้มอบให้มนุษย์ การศึกษาสุภาษิตล้านนาที่สอนเกี่ยวกับชายและหญิง เท่ากับเราได้ศึกษาถึงพฤิตกรรมที่เป็นความคาดหวังของสังคมที่สัมพันธ์กับคนทั้งสองเพศ เมื่อสังคมเป็นผู้กำหนดความเป็นหญิง ความเป็นชายให้สังคมก็จะเป็นผู้บอกว่าผู้หญิงและผู้ชายควรต้องทำตัวอย่างไร และมีบทบาททางเพศนั้นอย่างไร ซึ่งความคาดหวังของสังคมที่ว่านี้มักจะปรากฏอยู่ในจารีตประเพณีความเชื่อนิทาน ตำนาน และที่สำคัญคือ สุภาษิต เพราะสุภาษิตเป็นข้อมูลทางวรรณกรรมมุขปาฐะที่สังคมยอมรับและใช้กันแพร่หลาย ติดปาก ติดหู ง่ายต่อการจดจำ ฉะนั้นการเลือกเอาสุภาษิตล้านนาที่สอนเกี่ยวกับชายและหญิงมาศึกษาก็เป็นการศึกษาถึงกระบวนการขัดเกลาทางสังคมอันทำให้เกิดการแบ่งเพศ แบ่งบทบาท และแบ่งว่า สุภาษิตนี้เป็นของผู้หญิง มุ่งสั่งสอนเตือนใจหญิงหรือสุภาษิตนี้เป็นของชายมุ่งสั่งสอนเตือนใจชาย

การศึกษาเรื่องการให้ความหมายทางสังคมต่อความเป็นเพศจากสุภาษิตล้านนาดังกล่าวนี้ พบว่าการสร้างความเป็นเพศ โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม มีสิ่งที่สังคมคาดหวังให้ชายและหญิงประพฤติปฏิบัติอยู่ 6 ประการ ซึ่งจะได้กล่าวตามลำดับ คือ

 

  1. คาดหวังให้ผู้ชาย เป็นผู้นำที่ดีของครอบครัว

  2. คาดหวังให้ผู้ชายมีความขยัน หมั่นเพียร

  3. คาดหวังให้ผู้ชายมีความรู้ ความสามารถ

  4. คาดหวังให้ผู้หญิงมีความประพฤติดี ซื่อสัตย์

  5. คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นภรรยาที่ดี

  6. คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นมารดาที่ดี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย