เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ดิน

โครงการตามพระราชดำริ

ส่วนประกอบของดิน
ดินกับการเจริญเติบโตของพืช
ดินเค็ม
ดินเปรี้ยว
กระบวนการสร้างดินทางธรณีวิทยา
กระบวนการสร้างดินทางปฐพีวิทยา
วิธีการ "แกล้งดิน" ตามพระราชดำริ
ดินทราย
ประโยชน์ของการปลูกพืชคลุมดิน
การใช้ปุ๋ย
ดินเสี่อมโทรม
แนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน
การพัฒนาที่ดินตามแนวทางเกษตรยั่งยืน
การศึกษาวิจัยการพัฒนาด้านพันธุ์พืชและเทคโนโลยีการพัฒนาการเกษตร
การใช้ประโยชน์ที่ดินตามแนวทฤษฎีใหม่

การศึกษาวิจัยการพัฒนาด้านพันธุ์พืชและเทคโนโลยีการพัฒนาการเกษตร

ศึกษาทดสอบระบบปลูกพืช ปฏิบัติรักษาตามแผนงานการปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ ที่ทำการศึกษาทดสอบทั้งหมด 5 ระบบ และติดตั้งระบบน้ำแบบ mini sprinkler ทุกแปลง โดยใช้งบประมาณของสำนักงาน กปร. ปี 2537 ระบบการปลูกพืชที่ดำเนินการ คือ

  • ระบบที่ 1 ปลูกขนุนร่วมกับน้อยหน่า (พื้นที่ 1-0-20 ไร่)
  • ระบบที่ 2 ปลูกมะขาม (พื้นที่ 1-0-1 ไร่)
  • ระบบที่ 3 ปลูกมะขามแซมน้อยหน้า (พื้นที่ 1-0-20 ไร่)
  • ระบบที่ 4 ปลูกส้มโอแซมด้วยกล้วยน้ำหว้า (พื้นที่ 0-3-0 ไร่)
  • ระบบที่ 5 ปลูกกระท้อน (พื้นที่ 1-0-0 ไร่) ระหว่างแถวกระท้อนปลูกแฝก เพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดกระท้อนให้ผลผลิต 5 ต้น ได้น้ำหนักผลประมาณ 50 กก.

ทดสอบระบบการทำฟาร์มแบบผสมผสานพื้นที่ 6.5 ไร่ เดิมจัดทำเป็นกิจกรรมย่อย 4 งาน แต่เนื่องจากปี 2538 พื้นที่บางส่วนได้ใช้ในการก่อสร้างฝายน้ำล้น งานที่ปฏิบัติในปี 2538 มีดังนี้

  • ปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีปักดำ และปล่อยปลาไนจำนวน 1,000 ตัว
  • การเลี้ยงปลาในบ่อร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ ปลาดุก 16,000 ตัว ได้น้ำหนัก 439 กก. ราคา กก.ละ 20 บาท ไก่เนื้อจำนวน 250 ตัว ได้น้ำหนัก 318 กก.
  • บ้านเกษตรกรตัวอย่าง ดำเนินงานจัดรูปแบบ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ปลูกมะพร้าวน้ำหอมและหมาก รวม 70 ต้น

ศึกษาทดสอบพืชไร่ ทำการปลูกพืชไร่พันธุ์ดีชนิดต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยพืชไร่สนับสนับพันธุ์พืชตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำทำการปลูกทดสอบตลอดปีในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ใช้พืชไร่ชนิดต่างๆ ครั้งละ 5-10 ชนิด ปลูกแสดงแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป

ศึกษาทดสอบพืชสวน ทำการปฏิบัติดูแลรักษามะม่วงแก้ว และมะม่วงหิมพานต์การติดตั้งระบบน้ำ mini splinkler ในแปลงมะม่วงแก้วทุกต้นและระบบ splinkler ชนิดเคลื่อนย้ายได้ในแปลงมะม่วงหิมพานต์เก็บผลผลิตมะม่วงแก้วได้ 248 กก. และทำเป็นมะม่วงดอง

ศึกษาทดสอบยางพารา ทำการปฏิบัติดูแลรักษาและเก็บผลผลิตยาง การทดสอบปลูกยางพาราท้องที่แห้งแล้ง พื้นที่ 36 ไร่ ปี 2538 ทำการหาวิธีเพิ่มจำนวนวันกรีด เพิ่มโดยการกรีดชดเชยได้ 25 วัน รวมวันกรีด 125 วัน/ปี/แปลงกรีด ปี 2539 ไม่ได้กรีดชดเชยเพราะมีปัญหาแรงงานกรีด


ศึกษาทดสอบปอสาครบวงจร ทำการปฏิบัติดูแลรักษาตามแผนงานในพื้นที่เพียง 20 ไร่ โดยทำการปลูกไม้โตเร็วกับปอสาในบริเวณที่ว่าง ส่วนพื้นที่ที่เหลือ 50 ไร่ ทำการไถเตรียมพื้นที่ที่จะจัดทำการศึกษาทดสอบงานการปลูกผักกางมุ้ง การศึกษาทดสอบปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรยั่งยืน ศึกษาทดสอบระบบการปลูกพืช และทดสอบไม้ดอกไม้ประดับบางชนิด

ศึกษาทดสอบหม่อนไหม ทำการปฏิบัติรักษาแปลงปลูกหม่อน พื้นที่ 1.5 ไร่ ทำการขุดทำลายแปลงเปรียบเทียบหม่อนในพื้นที่ 0.5 ไร่ เนื่องจากต้นหม่อนอายุมาก ทำการปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 เพิ่มเติมอีก 1 ไร่

การศึกษาทดสอบอนุรักษ์พืชสมุนไพร ทำการปฏิบัติดูแลรักษาพื้นที่ 15 ไร่ มีพืชสมุนไพร บางชนิดตายในระหว่างฤดูแล้ง ทำการปลูกซ่อม ปลูกเพิ่มเติมได้จำนวนหนึ่ง สมุนไพรที่แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ สมุนไพรเป็นแม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์ สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตร สมุนไพรระงับพิษ สมุนไพรที่ให้สีผสมอาหาร สมุนไพรที่ใช้ในการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและพืชหัวสมุนไพร

ศึกษาทดลองผักอนามัย ทำการปลูกผักชนิดต่างๆ ตลอดปี โดยวิธีการใช้สารเคมีทางการเกษตร และใช้สารสกัดจากสะเดาทดแทน ใช้พื้นที่ทั้งหมด 5 ไร่ คือ พื้นที่งานวิชาการเกษตร 2 ไร่ และปีงบประมาณ 2540 ได้ขยายพื้นที่ศูนย์วิจัยส่วนพระองค์ 3 ไร่ จัดทำเป็นผักกางมุ้ง โดยปลูกพืชผักชนิดต่างๆ สลับผลผลิตที่ได้เป็นผักปลอดสารพิษส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ และประชาชนทั่วไป ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ มีผักชนิดต่างๆ ที่ผลิตได้ รวม 4,453 กก. คือ ถั่วฝักยาว แตงกวา ฟักเขียว กวางตุ้ง ข้าวโพดหวาน ผักกาดหัว คะน้า ต้นหอม และผักชี ฯลฯ นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งโครงการกองทุนเกษตรกรฉะเชิงเทรา ผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ได้รับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน ตั้งแต่ปี 2536 จากบริษัทดีทแฮล์ม จำกัด จำนวน 200,000 บาท ให้เกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ เขาหินซ้อน จัดซื้อปัจจัยการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ปี 2540 ทำการผลิตผักตลอดปี ผลผลิตได้จากจำนวนสมาชิก 34 ราย เป็นผักชนิดต่างๆ มากกว่า 28 ชนิด สามารถผลิตได้อาทิตย์ละ 1-1.5 ตัน การผลิตอยู่ในการควบคุมดูแลของงานวิชาการเกษตร มีเจ้าหน้าที่ช่วยวางแผนการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูผักด้วยวิธีการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ผลผลิตที่ได้ส่งจำหน่ายในนามของกลุ่มเกษตรกรฉะเชิงเทราผู้ผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ปี 2540 ผลิตผักได้ 60,564 กก. ส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า กรุงเทพฯ 22,289 กก. และจำหน่ายในท้องถิ่น 11,122 กก. ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรฯ มีกำไรสุทธิ หลังดำเนินงานได้รวม 2 ปี 1 เดือน เป็นเงิน 318,140.6 บาท ผลผลิตของเกษตรกรอีกส่วนหนึ่ง ให้เกษตรกรสมาชิดนำไปจำหน่ายเองที่กระทรวงสาธารณสุข (สำนักคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงานปลัดกระทรวง) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2539 นำไปจำหน่ายอาทิตย์ละ 2 ครั้งๆ ละ ประมาณ 300-700 กก.

ศึกษาทดสอบการเพาะเห็ด ทำการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ 5 ชนิด และฝึกอบรมการเพาะเห็ดแก่เกษตรกรผู้สนใจและนักเรียน 4 โรงเรียน รวม 255 คน จำนวนถุงเห็ดที่เพาะได้ 11,874 ถุงและมอบให้โรงเรียนในโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 4,200 ถุง สำหรับชนิดของเห็ดที่เหมาะสมที่จะผลิตในพื้นที่เขาหินซ้อนตามลำดับคือ เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ นอกจากนี้ทำการทดสอบเพาะเห็ดหลินจือได้ จำนวน 1,200 ถุง ได้ผลผลิตเป็นเห็ดแห้งประมาณ 17 กก. เห็ดฟางอุตสาหกรรมในโรงเพาะเห็ด 24 ตร.ม. ได้ผลผลิต 52 กก.

จัดทำแปลงทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยี ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ดำเนินงานเป็นสองส่วน คืองานวิจัยและทดสอบ โดยจัดทำแปลงทดสอบและแปลงทดสอบกึ่งสาธิต ทำแปลงทดสอบปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรยั่งยืน และแปลงทดสอบกึ่งสาธิต การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ใช้ระบบเกษตรธรรมชาติ งานอีกส่วนคืองานพัฒนาการปลูกข้าวของเกษตรกร ในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน ปี 2539 ทำการคัดเลือกเกษตรกรจำนวน 20 ราย ปลูกข้าวพันธุ์ดี ตามเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ในพื้นที่ 260 ไร่ ใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ขาวตาแห้ง ได้ผลผลิต เฉลี่ย 300-350 กก./ไร่ ปี 2540 ได้คัดเลือกเกษตรกรร่วมโครงการ 20 ราย โดยเน้นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยหมักแทน

ศูนย์การศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาวิจัยการผลิตองุ่นในเชิงแบบการผลิตเกษตรยั่งยืน โดยเปรียบเทียบให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์ การจัดการด้านการใช้พื้นที่ดินและปุ๋ย การให้น้ำ การจัดการโรคแมลงอย่างเหมาะสม เพื่อให้เป็นต้นแบบการผลิตองุ่น โดยไม่เกิดมลพิษและอันตรายจากการใช้สารเคมีและสร้างรูปแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเกษตรกรที่มีรายได้น้อยในสภาพพื้นที่แห้งแล้ง ให้เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ดี และให้ผลระยะยาวในแบบการเกษตรยั่งยืนในระบบนิเวศน์ของประเทศไทย ใช้ระยะเวลาในการวิจัยทั้งสิ้น 5 ปี

การศึกษารูปแบบการปลูกองุ่นในศูนย์การพัฒนาเขาหินซ้อนฯ มี 3 รูปแบบ

  1. รูปแบบการเกษตรแบบทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการผลิต เช่น การใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง ระบบการให้น้ำ ระบบการฉีดยา ฯลฯ
  2. รูปแบบการเกษตรแบบยั่งยืน โดยการปรับใช้การผสมผสานของการเกษตร เช่น การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ พืชคลุมดิน ใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง ร่วมกับการใช้สารสะกัดจากพืช และเชื้อจุลินทรีย์ (Biopesticide) ฉีดป้องกันโรคแมลง
  3. รูปแบบการเกษตรแบบธรรมชาติ มุ่งเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรียวัตถุจากปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ใช้สารสกัดจากพืช และเชื้อจุลินทรีย์ ตลอดจนถึงการใช้พืชคลุมดิน ในการดำเนินโครงการ จะปลูกพืชหลักคือ องุ่น และปลูกพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ เช่น มะละกอ ชะเอม ตำลึง และพืชผักกินใบต่างๆ เพื่อให้เป็นรูปแบบที่แท้จริงสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลระดับครัวเรือนได้ต่อไป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย