ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
คีตกวีไทย
ดนตรีไทยได้แบบอย่างมาจากอินเดีย
เนื่องจากอินเดียเป็นแหล่งอารยะธรรมโบราณที่สำคัญ
และได้ใหลบ่าเข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศต่างๆในแถบเอเซียอย่างมากมาย
ทั้งทางด้านศาสนาประเพณี ความเชื่อ และศิบปแขนงต่างๆ โดยเฉพาะในด้านดนตรีนี้น
การจำแนกเครื่องดนตรีของไทย ได้จำแนกออกเป็น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี
และเครื่องเป่า ซึ่งใกล้เคียงกับลักษณะของเครื่องดนตรีของอินเดีย ที่กล่าวไว้ใน
คัมภีร์สังคีตรัตนากร ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภทเช่นกัน คือ ตะตะ
คือเครื่องดนตรีประเภทมีสาย สษิระ คือเครื่องดนตรีประเภทเคื่องเป่า อะวะนัทธะ หรือ
อาตตะ คือเครื่องหุ้มหนัง หรือกลองต่างๆ ฆะนะ คือเครื่องตี หรือเครื่องกระทบ
บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนวทัศนะนี้ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย
ดนตรีเกิดจากความคิดสติปัญญาของคนไทยเอง
เนื่องจากดนตรีเป็นมรดกของมนุษย์ชาติ ทุกชาติทุกภาษา
ก็มีดนตรีเป็นของตนเองด้วยกันทั้งนี้น จะสังเกตุว่าเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย
มีชื่อเรียกเป็นคำไทยแท้ๆ ทั้งนั้น เช่น เกราะ โกร่ง กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ ขลุ่ย ฆ้อง
และกลอง เป็นต้น เมื่อไทยเราได้อพยพลงมาทางตอนใต้ เข้ามาในแหลมอินโดจีน
จึงได้รับเอาวัฒนธรรมของอินเดีย มอญ เขมร เข้ามาผสมได้ทันที
เพราะชนชาติไทยนี้นมีนิสัยรักการดนตรีอยู่แล้ว จึงได้เกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้น
เช่น พิณ สังข์ ปี่ฉน บัณเฑาะว์ กระจับปี่ และจะเข้ เป็นต้น
ต่อมาเมื่อไทยได้โยกย้ายถิ่นฐาน เข้ามาในแหลมอินโดจีน
จึงได้รับเครื่องดนตรีบางอย่างของประเทศนี้นๆ มาใช้เช่นในวงดนตรีไทยด้วย เช่น
กลองแขก ปี่ชวาของชวา (อินโดนีเซีย) กลองมลายู ของมลายู เปิงมาง นะโพนมอญ ปี่มอญ
ฆ้องมอญ ของมอญ กลองยาวของพม่า และขิมของจีน กลองมริกัน กลองของชาวอเมริกัน เปียโน
ออร์แกน และไวโอลินของประเทศตะวันตก เป็นต้น
วิวัฒนาการของดนตรีไทย นับเนื่องมาได้จนถึงสมัยกรุงสุโขทัย
ที่ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น
ที่ปรากฎหลักฐานไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ได้กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ แตร
สังข์ มโหระทึก ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง(ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอพุงตอ ปี่ไฉน ระฆัง
และกังสะดาล ตามหลักฐานในศิลาจารึก และหนังสือไตรภูมิพระร่วง มีเครื่องดนตรีไทย
ดังนี้ คือ วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่บรรเลงพิณ และขับร้อง
เป็นลักษณะขับลำนำ วงขับไม้ ประกอบด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือ คนขับลำนำ คนสีซอสามสาย
และคนไกวบัณเฑาะ วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะวงปี่พาทย์เครื่อง 5 มี 2 ชนิดคือ
วงปี่พาทย์เครื่อง 5 ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 5 ชิ้นคือ กลองชาตรี ทับ(โทน)
ฆ้อิงคู่ และฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรี วงมโหรี
เป็นลักษณะของวงดนตรีที่นำเอาวงบรรเลงพิณ กับวงขับไม้มาผสมกัน
เป็นลักษณะของวงมโหรีเครื่องสี่ เพราะประกอบด้วยผู้บรรเลฃง 4 คนคือ
คนขับลำนำและตีกรับพวง 1 คน คนสีซอสามสายคลอร้อง คนดีดพิณ และคนตีทับคุมจังหวะ
จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะของวงดนตรีไทยในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นดังนี้คือ
สำหรับวงปี่พาทย์ ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย
แต่ได้เพิ่มระนาดเอกขึ้นอีก 1 เครื่องมือ เครื่องดนตรีไทนวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย
ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรี
ได้พัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ในสมัยสุโขทัย เป็นมโหรีเครื่องหก คือได้เพิ่มขลุ่ย
และรำมะนา ทำให้มีเครื่องดนตรีดังนี้คือ ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ(โทน) ระมะนา ขลุ่ย
และกรับพวง สมัยกรุงธนบุรี ไม่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากกำลังมีข้าศึก
และป้องกันประเทศอยู่มาก มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้แบ่งความเจริญเป็นลำดับดังนี้
รัชกาลที่ 1
รูปแบบของวงดนตรียังคงรูปเหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่ได้พัฒนาและเพิ่มกลองทัดขึ้นในวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก ทำให้วงปี่พาทย์มีกลองทัด 2
ลูก ตัวผู้เสียงสูวง และตัวเมียเสียงต่ำ
รัชกาลที่ 2
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล่านภาลัย ทรงพระปรีชาสามารถในด้านการดนตรี
คือทรงซอสามสายและมีซอคู่พระหัตถ์ที่ชื่อว่า ซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์
เพลงไทยที่ชื่อว่า บุหลันลอยเลื่อน นั่นเอง พร้อมทั้งในสมัยรัชกาลที่ 2 นี้
ได้เกิดกลองสองหน้าขึ้น ซึ่งได้พัฒนามาจากเปิงมาง ของมอญ
และพัฒนามาเป็นเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับของวงปี่พาทย์ไม้แข็งในในปัจจุบันนี้
รัชกาลที่ 3
ได้พัฒนามาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพร้อมกับมีการประดิษฐ์ระนาดทุ้ม
คู่กับระนาดเอก และ ฆ้องวงเล็ก ให้คู่กับฉ้องวงใหญ่
รัชกาลที่ 4
วงปี่พาทย์ได้พัฒนามาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
เพราะได้มีการประดิาฐ์เครื่องดนตรีขึ้นอีก 2 ชนิดคือ ระนาดเอกเหล็ก
และระนาดทุ้มเหล็ก โดยใช้โลหะทาทำลูกระนาด
และทำรางระนาดให้แตกต่างไปจากรางระนาดเอกและระนาดทุ้ม นอกจากนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 4
นี้ ก็มีการนิยมร้องส่ง ทำให้ มีผู้คิดแต่งขยายเพลง 2 ชั้นของเดิม เป็น 3 ชั้น
และตัดลงเป็นชั้นเดียว ทำให้เกิดเป็นเพลงเถาขึ้น เป็นครั้งแรกในสมัย รัชกาลที่ 4
นี้
รัชกาลที่ 5
ในสมัยนี้ เกิดวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ขึ้น โดย สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ได้คิดค้นเพื่อนำไปประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ มีการปรับปรุงวงดนตรีปี่พาทย์
โดยการตัดเครื่องดนตรีชนิดเสียงเล็กแหลม หรือดังเกินไปออก
เครื่องปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ย ซออู้ ฆ้องหุ้ย (ฆ้อง 7 ใบ) นะโพน กลอง
และเครื่อบงกำกับจังหวะ
รัชกาลที่ 6
ในสมัยนี้ ได้มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง โดยได้นำวงดนตรีของมอญ
เข้ามาผสมกับวงปี่พาทย์ของไทย เรียกว่า วงปี่พาทย์มอญ ซึ่งคิดค้นปรับปรุงโดย
หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก
และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกน ของฝรั่งมาผสมในวงเครื่องสาย
ทำให้วงเครื่องสายได้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นวงเครื่องสายผสม
รัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สนพระทัยในเรื่องดนตรีไทยเป็นอันมาก
ด้วยได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ถึง 3 เพลงคือ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น
เพลงเขมรลออองค์ (เถา) และเพลงราตรีประดับดาว (เถา) เป็นต้น ในสมัยนี้
มีผู้ที่นิยมดนตรีไทยมากมาย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ตลอดจนขุนนาง
ก็ได้ให้ความอุปถัมภ์นักดนตรีไทย ในวังก็จะมีวงดนตรีประจำวัง เช่น วงวังบูรพา
วงวังบางขุนพรหม วงวังบางคอแหลม และวงวังปลายเนิน เป็นต้น มีการประกวดประชันกัน
ทำให้วงการดนตรีไทย เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด หลังการเปลี่ยนแปลงการปกคลอง
ผู้ปกครองประเทศในสมัยนั้น มีนโยบายที่เรียกว่า รัฐนิยม
- คือ ห้ามการบรรเลงดนตรีไทย เพราะเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียม นานาอารยประเทศ การจะบรรเลงดนตรีไทย จะต้องขออนุญาติจากทางราชการ ทำให้เป็นเหตุหนึ่งที่การดนตรีไทย ตกต่ำเป็นอย่างมาก ทำให้รัฒนธรรมและดนตรี จากต่างชาติได้เข้ามา และมีบาทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอันมากมาจนถึงทุกวันนี้
พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ครูช้อย สุนทรวาทิน
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)