สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย
สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา
สมัยอยุธยาตอนต้น
สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
สมัยรัตนโกสินทร์
การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คณะราษฎร
สมัยสุโขทัย
ในหนังสือปาฐกถาของสมเด็จฯ กรมพระดำรงราชานุภาพ
เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ ได้อธิบายไว้ว่า
วิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น
นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ
เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือน หลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้าน อยู่ในปกครองของพ่อบ้าน
ผู้อยู่ในปกครองเรียกว่าลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง
ถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง
ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศอยู่ในความปกครองของพ่อขุน
แม้ว่าระบอบการปกครองของสุโขทัยจะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดไม่ว่าจะในด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
รวมอยู่ที่พ่อขุนเพียงพระองค์เดียว และพ่อขุนไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
แต่ด้วยการจำลองลักษณะครองครัวมาใช้ในการปกครองทำให้ลักษณะการใช้อำนาจของพ่อขุนเกือบทุกพระองค์เป็นไปในลักษณะทางให้ความเมตตาแลเสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร
พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงปกครองประชาชนในลักษณะ บิดาปกครองบุตร คือ
ถือพระองค์เป็นพ่อของราษฎร
มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยแบะส่งเสริมความสุขให้ราษฎร
ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน
ปรากฏว่าพ่อขุนกับประชาชนในลักษณะการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรมีความใก้ลชิดกันพอสมควร
จะเห็นได้จากการที่ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกา
หรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุนโดยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง
ถ้าใครต้องการถวายฎีกาก็ไปสั่นกระดิ่งพระองค์ก็จะทรงชำระความให้
ส่วนการจัดการปกครองอาณาจักรสุโขทัยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครอง
อำนาจการวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่เมืองหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่ทำการของรัฐบาล
และที่ประทับของพระมหากษัตริย์
การปกครองหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3
ประเภท คือ
- หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองหน้าด่าน หรือเมืองลูกหลวง
จัดเป็นเมืองในวงเขตราชธานีล้อมรอบราชธานีทั้ง 4 ด้าน มีศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
สองแคว (พิษณุโลก) สระหลวง (พิจิตร) และกำแพงเพชร
การปกครองหัวเมืองชั้นในขึ้นกับสุโขทัยโดยตรง
- หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองท้าวพระยามหานครที่มีผู้ปกครองดูแลโดยตรง
แต่ขึ้นอยู่กับสุโขทัยในรูปลักษณะการสวามิภักดิ์ ในฐานะเป็นเมืองขึ้น
หัวเมืองชั้นนอกมี แพรก (สรรคบุรี) อู่ทอง (สุพรรณบุรี) ราชบุรี ตะนาวศรี แพร่
หล่มสัก เพชรบูรณ์ และศรีเทพ
- เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองที่เป็นชาวต่างภาษา มีกษัตริย์ปกครองแต่ขึ้นกับสุโขทัย ในฐานะประเทศราช มีนครศรีธรรมราช ยะโฮร์ ทวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน เซ่า เวียงจันทน์ และเวียงกา
ลักษณะเด่นของการปกครองสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่มีลักษณะปกครองแบบบิดาปกครองบุตร มีพระมหากษัตริย์ (พ่อขุน) เป็นประมุข
โดยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน และมีความใกล้ชิดกับประชาชนมาก
ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในชาติ
เพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน
แต่มีหน้าที่ต่างกันเท่านั้น
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 1826 ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น
โดยใช้อักษรมอญและอักษรขอมเป็นตัวอย่าง รวมทั้งอักษรไทยเก่าแก่บางอย่างขึ้น
ทำให้ชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็นวัฒนธรรมของเราเองจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงทำให้ทราบว่าไทยเรามีระบบกฎหมายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ทั้งกฎหมายมรดก กฎหมายภาษี กฎหมายค้าขาย กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน เป็นต้น
สมัยสุโขทัยนอกจากจะมีสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือ
ก็ได้มีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน มอญ มลายู ลังกา ตลอดจนอินเดีย
เริ่มมีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และมาตั้งประกอบกิจการต่างๆ เช่น
พวกจีนเข้ามาตั้งทำเครื่องสังคโลก เป็นต้น มีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี จกอบ
หรือศุลกากรเพื่อต้องการให้พ่อค้ามีความสนใจในการทำการค้า
นอกจากนี้พ่อขุนรามคำแหงทรงศรัทธาในหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดของพระภิกษุในพระศาสนานิกายหินยานที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศลังกา
พระองค์จึงทรงอัญเชิญพระภิกษุสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์มาประจำที่กรุงสุโขทัยทำหน้าที่เผยแพร่พระศาสนาลัทธิใหม่
ในระยะเวลาอันสั้นพระพุทธศาสนาลิทธิลังกาวงศ์ก็มีความเจริญในสุโขทัย
ประชาชนพากันยอมรับนับถือและวิวัฒนาการมาเป็นศาสนาประจำชาติไทยในที่สุด
การนำพระศาสนาเข้ามา
และพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทำตัวอย่างให้ประชาชนเห็นถึงความเคารพของพระองค์ที่มีต่อพระภิกษุและหลักธรรม
ทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ก่อให้เกิดศีลธรรมจรรยา
และระเบียบวินัยแก่ประชาชน ทำให้มีความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
เพราะทั้งพ่อขุนและประชาชนมีหลักยึดและปฏิบัติในทางธรรม พระมหาธรรมราชาลิไทย
พ่อขุนของสมัยสุโขทันในสมัยต่อๆ มา ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไทยเรื่องเกี่ยวกับศาสนาชื่อ
ไตรภูมิพระร่วง และในหนังสือเรื่องนี้เองได้แถลงถึง ทศพิธราชธรรม
อันเป็นหลักของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่นั้นมา