สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย

สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา
สมัยอยุธยาตอนต้น
สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
สมัยรัตนโกสินทร์
การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คณะราษฎร

สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย (พ.ศ. 1991 - 2310)

การปรับปรุงการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในช่วง 100 ปีแรกของสมัยอยุธยา การบริหารมิได้แยกกันระหว่างฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นครองราชย์ในระหว่าง พ.ศ. 1991 – 2031 พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ ให้มีสมุหนายกเป็นหัวหน้าราชการ ฝ่ายพลเรือน โดยมีเสนาบดีจตุสมดภ์เป็นผู้ช่วย รับผิดชอบบริหารกิจการเกี่ยวกับเมือง วัง คลัง นา และให้มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าราชการ ฝ่ายทหาร ทำหน้าที่ด้านทหารและการป้องกันประเทศไพร่จะได้รับสิทธิที่จะเลือกสังกัดฝ่ายพลเรือน หรือ ฝ่ายทหาร แต่ในยามสงครามไพร่ทั้งสองฝ่ายต้องออกรบด้วยกัน

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – 2031 ) ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยศักดินาขึ้นและใช้มาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศักดินา คือ วิธีให้เกียรติยศบุคคลตั้งแต่ขุนนางข้าราชการลงไปถึงไพร่และทาสโดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์หรือเกียรติยศของบุคคล เช่น ขุนนางชั้นเอก คือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น การกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน นอกจากนี้ระบบศักดินายังเกี่ยวพันกับการชำระโทษและปรับไหมในกรณีกระทำผิดอีกด้วย คนที่ถือศักดินาสูงเมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวงค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐาน



ในด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในสมัยอยุธยานอกจากค้าขายกับชาติต่างๆ ใน เอเชียแล้ว ก็ได้ค้าขายกับชาวตะวันตกด้วย ชาติแรกที่เข้ามาคือ โปรตุเกส โดยฑูตชื่อ ดูอาร์ต เฟอร์นันเดช ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2061 ได้มีการเซ็นสัญญาอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสทำมาค้าขายในดินแดนไทยได้ ต่อจากนั้นก็มีชนชาติอื่นๆ เช่น สเปน อังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศสทยอยกันเข้ามามีสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย

โดยปกติพระมหากษัตริย์ของไทยมักให้การต้อนรับชนต่างชาติเป็นอย่างดี บางครั้งก็มีกองกำลังต่างชาติประจำการเป็นอาสาประจำอาณาจักร โดยเฉพาะในสมัยพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) มีชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการในตำแหน่งสำคัญๆ หลายคน มีการแลกเปลี่ยนทูตกับฝรั่งเศสหลายครั้ง หลังจากสมัยพระนารายณ์ลงมา อิทธิพลของชาวตะวันตกในราชสำนักจึงลดลง เพราะพระมหากษัตริย์ของอยุธยาตอนปลายไม่นิยมชาวตะวันตก และระแวงว่าจะเข้ามาหาทางครอบครองเอาชาติไทยเป็นเมืองขึ้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย