สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย
สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา
สมัยอยุธยาตอนต้น
สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
สมัยรัตนโกสินทร์
การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คณะราษฎร
การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิก ตำแหน่ง อัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมถ์ โดยการแบ่งการบริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยะประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2435 มี 12 กระทรวง คือ
- มหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว
- กลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออก ตะวันตก และเมืองมลายู
- ต่างประเทศ จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ
- วัง กิจการในพระราชวัง
- เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตำรวจและราชฑัณฑ์
- เกษตราธิการ ว่าการเกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้
- คลัง ว่าการภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน
- ยุติธรรม จัดการเรื่องชำระคดีและการศาล
- ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการทหาร
- ธรรมการ ว่าการเรื่องการศึกษา การสาธารณสุขและสงฆ์
- โยธาธิการ ว่าการเรื่องการก่อสร้าง ถนน คลอง การช่าง ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ
- มุรธาธิการ เกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน และงานระเบียบสารบรรณ
ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และยุบกระทรวงมุรธาธิการ
ไปรวมกับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน
และประชุมร่วมกันเป็น เสนาบดีสภา
ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย
เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงแต่งตั้ง สภาที่ปรึกษา ในพระองค์
ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น รัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยเสนาบดี
หรือผู้แทนกับผู้ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรวมกันไม่น้อยกว่า 12 คน
จุดประสงค์เพื่อเป็นที่ปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจพระมหากษัตริย์
แต่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาดังกล่าวหาได้บรรลุจุดประสงค์ที่ทรงหวังไว้เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะโต้แย้ง
พระราชดำริส่วนใหญ่มักพอใจที่จะปฏิบัติตามมากกว่าที่จะแสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยังทรงแต่งตั้งองคมนตรีสภาขึ้นอีก ประกอบขึ้นด้วยสมาชิกเมื่อแรกตั้งถึง 49 คน
มีทั้งสามัญชน ตั้งแต่ชนชั้นหลวงถึงเจ้าพระยาและพระราชวงศ์
องคมนตรีสภานี้อยู่ในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะข้อความที่ปรึกษา
และตกลงกันในองคมนตรีสภาแล้ว
จะต้องนำเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีสภาแล้วจึงจะเสนาเสนาบดีกระทรวงต่างๆ
ในด้านการปกครองท้องถิ่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้มีการบริหาราชการส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล
ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบันเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2440
โดยโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล กรุงเทพฯ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)
ขึ้นบังคับใช้ในกรุงเทพฯ ต่อมาได้ขยายไปที่ท่าฉลอม
ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดีเป็นอย่างมากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า
ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2448 ขึ้น โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท
คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลตำบล
ท้องถิ่นใดเหมาะสมที่จะจัดตั้งสุขาภิบาลใดก็ให้ประกาศตั้งสุขาภิบาล ในท้องถิ่นนั้น
สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475
ขึ้น เป็นผลให้ในการปกครองแบ่งประเทศออกเป็นมณฑล ถัดจากมณฑลก็คือ เมือง
ซึ่งต่อมาเรียกเป็นจังหวัด จากจังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ
โดยกระทรวงมหาดไทยตั้งข้าราชการจากส่วนกลางไปปกครองทั้ง 3 ระดับ
อำเภอแบ่งเป็นหมู่บ้าน มีกำนันเป็นผู้ปกครอง
แม้ว่าการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์จะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
แต่พระราชกรณียกิจบางประการของพระมหากษัตริย์ก็ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย
โดยเฉพาะในสมัยพระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำเนินการดังต่อไปนี้
- การเลิกทาส พระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกทาสเมื่อ 18
ตุลาคม พ.ศ. 2417 นโยบายการเลิกทาสของพระองค์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ
และความเสมอภาคทัดเทียมกันอันเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
- สนับสนุนการศึกษา
ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาสเล่าเรียนศึกษา หาความรู้
ตั้งทุนพระราชทาน ส่งผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อต่างประเทศ
จากการสนับสนุนการศึกษาอย่างกว้างขวางนี้
นับได้ว่าเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการปกครองประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตย
- การปฏิรูปการปกครอง การปฏิรูประบอบบริหารราชการ ทรงเปิดโอกาสให้ข้าราชการมีส่วนรับผิดชอบในการบริหารมากขึ้น ทรงสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งสุขาภิบาล ทำให้ประชาชนธรรมดามีส่วนและมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารการปกครอง ตามหลักการประชาธิปไตยที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง
นอกจากนี้ในสมัย พระบาสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ได้มีการส่งเสริมการศึกษาให้แพร่หลาย มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง
และสนับสนุนให้ทุนหลวงโดยส่งนักเรียนไปเรียนในต่างประเทศมีการศึกษาภาคบังคับ
โดยกำหนดว่าใครอายุครบเกณฑ์ 7 ปี ต้องเข้ารับการศึกษาขั้นประถมศึกษา
ทำให้ประชาชนมีการศึกษาเพิ่มขึ้น
พระบาสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงนิยมระบอบประชาธิปไตย
โดยได้ทรงจัดตั้ง เมืองสมมุติดุสิตธานี ขึ้นในบริเวณวังพญาไท
จำลองรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดเกล้าฯ
ให้มีรัฐธรรมนูญการปกครองลักษณะนคราภิบาลซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง
และให้ข้าราชบริพารสมมุติตนเองเป็นราษฎรของดุสิตธานี
มีการจัดตั้งสภาการเมืองและเปิดโอกาสให้ราษฎรสมมุติใช้สิทธิ์ใช้เสียงแบบประชาธิปไตย
เป็นเสมือนการฝึกหัดการปกครองแบบประชาธิปไตย
ต่อมาพระบาสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนสหรัฐอเมริกาเมื่อ
พ.ศ. 2474 ว่าพระองค์ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน
เพราะทรงเห็นว่าคนไทยมีการศึกษาดีขึ้นมีความคิดอ่านและสนใจทางการเมืองมากขึ้น
เมื่อเสด็จกลับมา พระองค์ทรงมอบให้พระศรีวิสารวาจา
ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ และนายเรมอน
สตีเวนส์ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นแต่ดำเนินการไม่ทันแล้วเสร็จ
ได้มีการปฏิวัติขึ้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร
เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นการปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักนับตั้งแต่นั้นมา
สาระสำคัญของการปกครองตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ.
2475
ซึ่งคณะราษฎรได้ขอพระบาสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานเพื่อประโยชน์แก่ปวงชนชาวไทย
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ
- อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นของประชาชนชาวไทย
- รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ จะกำหนดหน้าที่ความสัมพันธ์ของสถาบันการปกครองต่างๆ ไว้อย่างละเอียดและชัดเจน
- พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ และทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ คือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล