ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

รัตนโกสินทร์ตอนต้น

(รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
การปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
กฎหมายและการศาล
เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สภาพสังคมและการศึกษา
การศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรมและศิปลกรรม
การป้องกันเอกราชของประเทศ
ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบจลาจลภายในกรุงธนบุรีและสร้างความมั่นคงภายในประเทศแล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งชื่อใหม่ว่ากรุงเทพฯ ทั้งนี้เนื่องด้วยสาเหตุหลายประการ คือ

  1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยายอาณาเขตของพระราชวังให้กว้างขวางขึ้นได้
  2. พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้พระนครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางเป็นเสมือนเมืองอกแตก ดังเช่น เมืองพิษณุโลก สุพรรณบุรี เพราะหากข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำ ก็สามารถบุกตีใจกลางเมืองหลวงได้ ทำให้ยากแก่การป้องกันพระนคร ครั้นจะสร้างป้อมปราการทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองเงินทองมาก ทำให้ยากแก่การเคลื่อนพลจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการยากลำบากมาก ดังนั้นพระองค์จึงย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดียว โดยมีแม่น้ำเป็นคูเมืองทางด้านตะวันตก และใต้ ส่วนทางด้านตะวันออกและทางด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองขึ้นเพื่อเป็นคูเมืองป้องกันพระนคร
  3. พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปได้เรื่อยๆ ตรงบริเวณที่ตั้งพระนครพื้นที่เป็นแหลม โดยมีแม่น้ำเป็นกำแพงกั้นอยู่เกือบครึ่งเมือง
  4. ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายอยู่เสมอ จึงไม่เหมาะแก่การสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุใดๆ ไว้ริมฝั่งแม่น้ำ

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีรับสั่งให้สร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณหัวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา คือ บริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธนา มหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนจากคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”

ในการสร้างพระมหาบรมราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นภายในด้วย คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐาน ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กรุงเทพฯ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย