เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โครงการพระราชดำริ
การวิจัยการทำปุ๋ยหมักจากขยะและการใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีการกำจัดขยะตามแนวพระราชดำริ
ลักษณะการหมักปุ๋ยจากขยะในกล่องและบ่อคอนกรีตโดยการฝังกลบประยุกต์
การแยกและเตรียมขยะมูลฝอย
หลักในการหมักปุ๋ยจากขยะในกล่องหรือบ่อคอนกรีตแบบฝังกลบประยุกต์
วิธีการหมักปุ๋ยจากขยะชุมชนแบบฝังกลบประยุกต์
ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินการหมัก
วิธีการหมักปุ๋ยจากขยะครัวเรือนและชุมชนขนาดเล็กแบบฝังกลบประยุกต์
ปัญหาอากาศเป็นพิษ
ลักษณะการหมักปุ๋ยจากขยะในกล่องและบ่อคอนกรีตโดยการฝังกลบประยุกต์
การฝังกลบประยุกต์ โดยใช้กล่องคอนกรีตที่สร้างด้วยคอนกรีตบล๊อค
ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร
การฝังกลบประยุกต์ โดยใช้บ่อคอนกรีตชนิดกลม
(ถังส้วม) ที่มีขายในท้องตลาด
จากการศึกษาวิจัยและพัฒนาของโครงการฯ ได้เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยวิธีการทำปุ๋ยหมักจากขยะด้วยการใช้กล่องและบ่อคอนกรีต หรือการฝังกลบประยุกต์ เป็น 2 รูปแบบ คือ
- การหมักปุ๋ย โดยวิธีการฝังกลบประยุกต์ด้วยการใช้กล่องคอนกรีต
- การหมักปุ๋ย โดยวิธีการฝังกลบประยุกต์ด้วยการใช้บ่อคอนกรีตชนิดกลม
แต่ละรูปแบบอาศัยหลักการธรรมชาติช่วยธรรมชาติเหมือนกัน และเหมาะ-สมกับการนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนตามครัวเรือน ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีการบรรจุขยะลงกล่องหรือบ่อคอนกรีตในการหมักที่ไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างกันที่ขั้นตอนในช่วงการหมักเท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดและรูปแบบของกล่องและบ่อคอนกรีตดังภาพที่ 1 และภาพที่ 2
จำนวนกล่องหรือบ่อคอนกรีตเท่าไรจึงจะพอในการหมัก
การกำหนดจำนวนของกล่องหรือบ่อคอนกรีตที่จะนำมาใช้ในการหมักปุ๋ยจากขยะนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนคน
เพราะถ้าจำนวนคนมาก ขยะแต่ละวันก็จะมาก คนน้อยแต่ละวันก็จะน้อย
โดยทั่วไปคนในเขตชุมชนจะทิ้งขยะประมาณ 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน
ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งจะเป็นขยะที่ย่อยสลายง่าย ดังนั้นจึงมีขยะที่นำไปใช้หมักเพียง
0.5 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน (ครึ่งกิโลกรัมต่อคนหนึ่งคนในแต่ละวัน)
กล่องหรือบ่อคอนกรีตที่ใช้ในการหมักสามารถรองรับขยะได้ดังนี้ คือ
- กล่องคอนกรีต ขนาดกว้าง 2.00 เมตร ยาว 3.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋ยจากขยะได้สูงสุดเท่ากับ 6 ลูกบาศก์เมตร หรือ 2.000 กิโลกรัม (2 ตัน)
- บ่อคอนกรีต ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋จากขยะได้สูงสุด 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ 330 กิโลกรัม
จะต้องเตรียมการอย่างไร
- ต้องเลือกและเตรียมพื้นที่
การเลือกพื้นที่ที่ใช้ในการตั้งกล่องหรือบ่อคอนกรีตเพื่อทำปุ๋ยหมักจากขยะด้วยการฝังกลบประยุกต์
จึงสมควรเลือกหรือหาพื้นที่ที่ไม่เกิดปัญหากลิ่นเหม็น และการซึม--ของน้ำชะขยะ
ควรเลือกดังนี้ คือ
-ควรให้ห่างจากชุมชนพอสมควร แต่ไม่ต้องมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดความลำบากและยุ่งยากในการขนย้ายขยะ ไม่ควรเกินกว่า 500 เมตร
-ควรเลือกพื้นที่ที่มีทิศทางลมพัดผ่านชุมชนน้อยที่สุด และควรปลูกต้นไม้ล้อมรอบพื้นที่ดำเนินการ
-ห่างจากแหล่งน้ำ คู คลอง หนอง บึง
-มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจำนวนของกล่องหรือบ่อคอนกรีตที่ต้องใช้
- วัสดุอุปกรณ์
-กล่องคอนกรีตขนาดกว้าง 2.00 เมตร ยาว 3.00 เมตร สูง 1.50 เมตร หรือบ่อคอนกรีตชนิดกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 เมตร สูง 1.50 เมตร
-ขยะสด (แยกส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ และส่วนที่ย่อยสลายยากออกแล้ว)
-ดินแดง หรือดินธรรมดาทั่วไป (ย่อยให้มีขนาดเล็ก)
-ทรายละเอียด
-ถ่านไม้
-น้ำ และบัวรดน้ำ
-รองเท้ายางทรงสูง (คลุมถึงส่วนหน้าแข้ง)