เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โครงการพระราชดำริ
การวิจัยการทำปุ๋ยหมักจากขยะและการใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีการกำจัดขยะตามแนวพระราชดำริ
ลักษณะการหมักปุ๋ยจากขยะในกล่องและบ่อคอนกรีตโดยการฝังกลบประยุกต์
การแยกและเตรียมขยะมูลฝอย
หลักในการหมักปุ๋ยจากขยะในกล่องหรือบ่อคอนกรีตแบบฝังกลบประยุกต์
วิธีการหมักปุ๋ยจากขยะชุมชนแบบฝังกลบประยุกต์
ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินการหมัก
วิธีการหมักปุ๋ยจากขยะครัวเรือนและชุมชนขนาดเล็กแบบฝังกลบประยุกต์
ปัญหาอากาศเป็นพิษ
วิธีการหมักปุ๋ยจากขยะครัวเรือนและชุมชนขนาดเล็กแบบฝังกลบประยุกต์
จากหลักการข้างต้นเมื่อเตรียมบ่อคอนกรีตชนิดกลมและขยะที่ทำการคัดแยกและเตรียมขยะที่รวบรวมได้ในแต่ละวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการฝังกลบประยุกต์และ/ หรือตามขั้นตอนดังนี้
- ขั้นที่ 1 ใส่ถ่านไม้คลุมบริเวณปากท่อระบายน้ำชะขยะ
พร้อมทั้งใส่ทรายละเอียดรองพื้นบ่อคอนกรีตชนิดกลมให้หนา 20 เซนติเมตร
- ขั้นที่ 2 นำขยะเน่าเสีย (ย่อยสลายง่าย)
ที่ได้จากครัวเรือนในแต่ละวันใส่ลงในบ่อคอนกรีตชนิดกลมที่เตรียมไว้
โดยการใส่ขยะได้อย่างน้อย 3 วัน
- ขั้นที่ 3 เมื่อใส่ขยะได้ครบ 3 วัน
ให้นำดินแดงหรือดินธรรมดาทั่วไปที่เตรียมไว้ใส่ไปแล้วเกลี่ยให้ทั่วและให้หนาประมาณ
5 เซนติเมตร
- ขั้นที่ 4 ทำการใส่ขยะและดินแดงหรือดินธรรมดาไปเรื่อยๆแบบเดียวกันในขั้นที่
4 และขั้นที่ 5 ต่อไปเรื่อยๆ
- ขั้นที่ 5 จนกระทั่งครบเวลาหมัก 90 วัน จึงนำเอาปุ๋ยที่ได้จากการหมักขยะมาใช้ประโยชน์ต่อไป
ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินการหมัก
- ควรกระทำตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในการดำเนินการหมัก
- ควรมีฝาปิด เพื่อป้องกันน้ำฝน
- เมื่อครบกำหนดเวลาในการหมัก หากขยะที่หมักยังมีสภาพที่ไม่ย่อยสลายเป็นปุ๋ย ให้ดำเนินการหมักต่อไปอีก 1 สัปดาห์
ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย
- ค่าก่อสร้างบ่อคอนกรีตชนิดกลม 1 บ่อ 3 ชั้น เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าดินแดง หรือดินนา เป็นเงิน 200 บาท ลูกบาศก์เมตรละ 200 บาท
- ค่าทรายละเอียด ลูกบาศก์เมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 250 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,950 บาท
ระดับความเหมาะสมของเทคโนโลยี
ความเหมาะสมในการนำเทคโนโลยีรูปแบบนี้ไปใช้ ได้แก่ ครัวเรือนทั่วไป
และชุมชนขนาดเล็ก ประมาณ 10 - 15 ครัวเรือน การนำไปใช้ประโยชน์
- ใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืช
- น้ำชะขยะนำไปผสมกับน้ำใช้รดต้นไม้ได้ดี