ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
พระที่นั่งวิมานเมฆ
ในปี พ.ศ. 2440 สมัยที่ รัชกาลที่5 ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากประพาสทวีปยุโรปครั้งที่ 1 ได้ทรงมีพระราชดำริว่า กษัตริย์ยุโรปมีพระราชวังทั้งในและนอกพระนครอย่างละแห่ง ประกอบกับพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพค่อนข้างแออัด ลมพัดไม่สะดวก จึงทรงโปรดให้สร้างวังแห่งใหม่ขึ้นที่ชานพระนคร ทรงนึกถึงเกาะสีชังขึ้นมา
เนื่องจากในสมัย รัชกาลที่4 ครองราชย์ ครั้งหนึ่งได้เคยตามเสด็จไปประพาสชายฝั่งตะวันออก เพื่อทอดพระเนตรวิถีชีวิตของผู้คนในแถบนั้น ท่านทรงได้ประทับเรือกลไฟพระที่นั่งไปถึง ชลบุรี, ระยอง และพักที่เกาะสีชังโดยได้ประทับค้างคืนบนเรือพระที่นั่ง ด้วยความที่มีทัศนียภาพงดงาม ลมทะเลโกรกเย็นสบาย แต่มิได้เคยไปประทับอีกเลยจวบจนสิ้น รัชกาลที่4 ทำให้ รัชกาลที่5 รำลึกถึงที่นี่ และได้สร้างพระราชวังขึ้น ขณะนั้นสมเด็จพระพันปีหลวง พระมเหสีได้ประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก พระราชโอรส (ต่อมาได้ขึ้นเป็น กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย)
ดังนั้นพระราชวังที่สร้างขึ้นนี้ รัชกาลที่5 จึงทรงพระราชทานชื่อว่า
จุฑาธุชราชฐาน ในการนี้ได้สร้างอาคาร, พระที่นั่ง, ตำหนัก ประกอบกันหลายหลัง
ส่วนพระที่นั่งที่ประทับนั้น ชื่อว่า มันธาตุรัตนโรจน์
ขณะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างช่วงนั้น ทางกรุงเทพได้เกิดวิกฤตการณ์ รศ.112
ไทยเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศสทางชายแดนอีสาน
มีการรบกันทหารไทยทำให้ทหารฝรั่งเศสบาดเจ็บและล้มตายไปหลายนาย
ฝรั่งเศสจึงส่งเรือปืน 3 ลำมาปิดปากอ่าวไทย
ยิงกันที่ป้อมพระจุลจอมเหล้าทำให้เรือรบฝรั่งเศสเสียหาย
ทางฝรั่งเศสต้องการให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 3 ล้านบาท ซึ่งในสมัย
รัชกาลที่3 นั้นท่านทรงมีเงินเก็บไว้บางส่วนจากการค้าขายกับเรือสำเภาจีน
โดยเก็บไว้ในถุงแดง และท่านได้รับสั่งไว้ก่อนสวรรคตว่า
เงินจำนวนนี้เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง รัชกาลที่5 ท่านจึงได้ทรงนำเงินจำนวนนี้มาใช้
นอกจากเงินแล้ว ไทยยังต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (ลาวทั้งหมด)
ให้กับฝรั่งเศสด้วย
รัชกาลที่ 5 ทรงโทมนัสมาก ทรงประชวรนานหลายเดือน ท่านทรงเห็นว่า
พระที่นั่งจุฑาธุชราชฐานที่เกาะสีชังคงไม่เหมาะจะไปประทับแล้ว
เพราะอยู่ไกลจากเมืองหลวง หากมีเหตุคับขันจะไม่สะดวกในการกลับมา
ท่านจึงให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2436 เสีย ต่อมาในปี 2440
หลังกลับจากยุโรป จึงทรงใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
ซื้อที่นาบริเวณทุ่งสามเสนและโปรดให้สร้างวังขึ้น เรียกว่า วังดุสิต
ต่อมาเปลี่ยนเป็น วังสวนดุสิต และเป็น พระราชวังสวนดุสิต ในที่สุด ทรงเห็นว่า
พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ที่ทรงสร้างค้างไว้นั้นยังดีอยู่
จึงทรงสั่งให้รื้อมาสร้างที่นี่แทน โดยพระราชทานชื่อใหม่ว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ
โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
เป็นแม่กองในการรื้อและออกแบบสร้างพระราชวังสวนดุสิตด้วย
พระที่นั่งนี้ เป็นรูปตัว L หลังคาสีแดง สูง 3 ชั้น ด้านตะวันตกเป็นหอ 8
เหลี่ยมสูง 4 ชั้น ชั้นที่ 4 มีห้องบรรทมของ รัชกาลที่5
รูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารเป็นแบบอังกฤษ Victorian Style แต่ใช้วัสดุของไทย
คือไม้สักทอง ดังนั้น พระที่นั่งนี้
จึงเป็นพระที่นั่งไม้สักทองทั้งหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้เวลาในการก่อสร้าง 19
เดือน รัชกาลที่5 ทรงเสด็จมาควบคุมการก่อสร้างทุกวัน
โดยทรงหัดขี่จักรยานในพระบรมมหาราชวังก่อน
จนคล่องท่านจึงได้ขี่นำขบวนจากพระบรมมหาราชวัง มาตามถนนราชดำเนิน
เพื่อมาดูการก่อสร้างทุกวันตลอด 19 เดือน บางครั้งก็ทรงนำพระราชกิจมาทรงที่นี่ด้วย
และบางครั้งก็ค้างคืนที่นี่เช่นกัน
พระที่นั่งนี้ มีห้องทั้งหมดประมาณ 70 ห้อง แบ่งเป็น 5 กลุ่มสี ได้แก่
สีฟ้า, ชมพู, พีช, เขียว และเหลือง
โดยมีพระมเหสีดูแลและรับผิดชอบแต่ละกลุ่มสีแยกกันไป ในพระที่นั่งนี้ มีห้องบรรทม
รวมถึงของเจ้านายฝ่ายใน-พระโอรส-ธิดา ,ห้องเสวย, ห้องสรง
,ห้องโป่งเพื่อไว้ทรงออกรับแขกด้วย
ครั้งหนึ่ง รัชกาลที่ 5
ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระราชโอรสซึ่งไปศึกษาอยู่ประเทศเยอรมัน ความตอนหนึ่งว่า ชายบริพัตรฯ
บัดนี้พ่อมาอยู่ที่วังสวนดุสิต ลมโกรกเย็นสบายดีเหลือเกิน
หลังจาก รัชกาลที่ 5 ทรงอยู่ที่นี่ได้ประมาณ 5 ปี
ท่านทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งอภิเศกดุสิตขึ้นอีกหลัง
เพื่อเป็นสถานที่ในการพระราชทานเลี้ยง หรือจัดงานต่างๆ
พระที่นั่งนี้มีการใช้ไม้ฉลุลายขนมปังขิงประดับไว้ตามชายคาอาคารโดยรอบด้วย
ด้านหนัาประตูทางเข้าพระที่นั่งอภิเศกดุสิต มีอาร์มแผ่นดินที่คิดขึ้นในสมัย รัชกาลที่5 ประดับอยู่ ในตรานี้ ด้านบนมีรูปช้าง3 เศียรคือ ฃ้างไอยราพต หมายถึงประเทศสยาม , เหนืออาร์มมีตราจักรี มีมหามงกุฎครอบอยู่, ด้านล่างซ้ายมีรูปช้างเชือกเดียว หมายถึงประเทศลาว, ล่างขวามีรูปกฤชสีแดง หมายถึงเมืองขึ้นของไทยสมัยนั้นอันได้แก่ มลายู, ไทรบุรี, กลันตัน, มะริด, ตรังกานู ,2 ข้างมีคชสีห์ (สมุหกลาโหม) และราชสีห์ (สมุหนายก) ประกอบอยู่ เป็นตราประจำประเทศไทย พอถึงสมัย รัชกาลที่6 เปลี่ยนไปใช้ตรา ครุฑพาห์ เป ็นตราประจำประเทศแทน
ภายในพระที่นั่งอภิเศกดุสิต เป็นโถงใหญ่มีพระที่นั่งที่ประทับของ รัชกาลที่5 โถงนี้จุคนได้ประมาณ 100 คน มีการประดับกระจกสีหรือ stain glass ด้านบนด้วย ภายในตกแต่งแบบตะวันตก ใช้ในการออกว่าราชการและพระราชทานเลี้ยง
ต่อมาได้ทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งอัมพรสถาน โดยให้ช่างชาวอิตาลีเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารเป็นแบบ 3 ชั้นก่ออิฐถือปูน สร้างแล้วเสร็จในปลายสมัย รัชกาลที่5 ท่านจึงได้ย้ายไปประทับและสวรรคตที่นั่นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 วันรุ่งขึ้นจึงได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาประสาท
ในช่วงปลายรัชกาลเช่นกัน ท่านยังโปรดให้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมให้เป็นคู่กับพระที่นั่งอัมพรสถาน (พระที่นั่งวิมานเมฆ คู่กับพระที่นั่งอภิเศกดุสิต) เดิมจะสร้างให้เป็นแบบทรงไทยทั้งคู่ แต่สถาปนิกไทยได้ทยอยตายกันไปหมดแล้ว เหลือเพียงพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล)) ซึ่งคุมการก่อสร้างคนเดียวไม่ไหวเนื่องจากอายุมากแล้ว เลยทรงโปรดให้สถาปนิกชาวอิตาเลียนคุมการสร้างแทน ผังอาคารเป็นรูปไม้กางเขน มีโดมขนาดใหญ่ตรงกลาง และโดมขนาดเล็กรารอบ ใช้หินอ่อนสีขาวจากเมืองคาราลา อิตาลี หลังคาหุ้มด้วยทองแดง แต่เราจะเห็นเป็นสีเขียวเนื่องจากออกไซด์ของทองแดงทำให้สีหลังคาเปลี่ยนไป
รัชกาลที่ 6 ทรงรับช่วงดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จในปี 2468 ภายในมีภาพเขียนพระราชกรณียกิจของ 6 รัชกาลประดับอยู่ ต่อมาในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475 คณะราชย์ฯ ได้เข้ายึดพระนคร และใช้เป็นที่บัญชาการทหาร ปัจจุบันนี้ได้ใช้เป็นที่เปิดประชุมสภาสมัยสามัญทุกๆ 4 ปี โดยในหลวงจะเสด็จประทับบนพระที่นั่งพุฒตาลกาญจนสิงหาทบนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตรหลังพระวิสูตร พอเริ่มเปิดประชุมเจ้าพนักงานจะเปิดพระวิสูตรออก ในหลวงทรงตรัสกล่าวเปิดการประชุมแล้วปิดพระวิสูตรลง เป็นอันเสร็จพิธี
นอกจากนี้ พระราชวังสวนดุสิตยังมีตำหนักต่างๆ อยู่ภายในอีก เช่น พระตำหนักสวนหงส์ของสมเด็จพระพันวษา, พระตำหนักสวนบัวของพระพิมาดา, พระตำหนักสวน 4 ฤดู ของพระพันปีหลวง, พระตำหนักสวนฝรั่งกังไสของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นต้น รอบๆ พระที่นั่งวิมานเมฆมีคูน้ำล้อมรอบ ทำให้ดูเหมือนเป็นเกาะอยู่กลางน้ำ มีตำหนักของพระเจ้าน้องนางเธอใน รัชกาลที่5 เช่น พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน อยู่ในบริเวณด้วย ทางทิศใต้มีอ่างหยกเพราะน้ำสีเขียวตลอดเวลา, คลองร่องไม้หอม มีต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมเช่น สายหยุด, ราตรี ประดับอยู่
ทางทิศใต้ของอ่างหยกมีเรือนไทยหมู่ ชื่อว่า พระตำหนักเรือนต้น เป็นที่ประทับเปลี่ยนอิริยาบถ เรือนไทย 4 หลังนี้ทำจากไม้เป็นอาคารหมู่มีชานตรงกลาง ครั้งหนึ่งที่ รัชกาลที่ 5 ทรงพระประชวรได้เปลี่ยนไปพักประทับอิริยาบถที่นี่ กล่าวกันว่า ความเย็นของน้ำทำให้ท่านทรงสร่างจากไข้ได้
พระตำหนักเรือนต้นนี้ได้เคยเป็นที่ใช้รับรองเพื่อนต้นด้วย เนื่องจาก รัชกาลที่ 5
ทรงชอบเสด็จประพาสต้นบ่อยๆ โดยลงเรือเล็กๆ เข้าไปตามที่ต่างๆ
บริเวณหัวเมืองเพื่อดูวิถีและการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน
วันหนึ่งได้เสด็จหัวเมืองแถบจังหวัดอ่างทองไปพร้อมข้าราชบริพารรวม 3 คน
เข้าไปในคลองที่ซอยออกมาจากคลองใหญ่
แล้วได้จอดเรือกระแซงที่หน้าบ้านของนายช้างในตอนเช้า
นายช้างมาเห็นเข้าก็รียกขึ้นมาทานข้าว ภายหลังได้รู้ว่าท่านคือใคร
ท่านก็ได้พระราชทานไม้ตะพดหัวหุ้มเงิน มีตรา จปรัชกาลที่บนหัวไม้เท้าให้
เป็นสัญลักษณ์ว่าคนๆ นี้ เป็นเพื่อนต้นของท่าน แต่ท่านเป็นผู้หญิงท่านจะพระราชทาน
หีบหมากให้แทน และท่านทรงสั่งกำชับบรรดาทหารยามและทหารมหาดเล็กไว้ว่า
หากวันใดมีชาวบ้านถือไม้เท้าหรือหีบหมากลักษณะนี้มาขอเข้าเฝ้า
ให้เข้ามาได้ทันทีและตลอดเวลา เพราะท่านถือว่า เพื่อนจะมาหาเพื่อนเมื่อใดก็ได้
บางเวลาที่ท่านพระราชทานจัดเลี้ยงเพื่อนต้น ท่านก็จะจัดที่
พระตำหนักเรือนต้นแห่งนี้ ซึ่ง รัชกาลที่5 จะเสด็จลงทรงครัวด้วยพระองค์เอง เช่น
หลนปลาร้า หรืออาหารอื่นๆ ด้วย ภายหลัง รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตแล้ว
พระที่นั่งนี้ก็เลยเงียบลงเนื่องจาก รัชกาลที่6 ทรงโปรดประทับที่วังพญาไท (บริเวณ
รพ. พระมงกุฏเกล้า) มากกว่า แต่ท่านก็ได้ให้ชายาของท่านมาประทับที่นี่แทน
ต่อมาพระที่นั่งวิมานเมฆได้ถูกปิดตายช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตั้งแต่
พ.ศ. 2475 2525 เป็นเวลา 50 ปีเต็ม
สมด็จพระนางจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินินาถ
ทรงขอพระราชทานการซ่อมแซมพระที่นั่งนี้จาก รัชกาลที่ 9 และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ของ
รัชกาลที่ 5 ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525
เป็นต้นมา จากห้องทั้งหมดประมาณ 72 ห้องได้เปิดให้เข้าชมประมาณ 30 กว่าห้อง เช่น
ห้องโป่ง, ห้องพระบรรทม, ห้องสังเวยพระป้าย, ของสังเค็ต
(ของชำร่วยแจกงานศพในสมัยนั้น) ,หีบพระร่มทองคำ (หีบใส่ยารักษาโรค) ฯลฯ
ในห้องโป่งมีพระราชอาสน์สีแดงอยู่องค์หนึ่ง
ซึ่งข้าราชบริพารและเชื้อพระวงศ์ในสมัยนั้นได้ร่วมกันสร้างถวายในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ครบ
40 พรรษา โดยตามขอบพระราชอาสน์มีการสลักสัญลักษณ์ของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ (Royal
Regalia) ประดับตามขอบพระราชอาสน์ อันได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฏ , พระแสงขรรค์ชัยศรี
, ธารพระกร , พัดวาลวิชนี (พระแส้ขนจามรี และพัดโบกใบตาล) และฉลองพระบาทเชิงงอน