สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(Constitutionalism and Thai Constitutions)
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รูปแบบของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. รัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร (written constitution)
คือการกำหนดหลักเกณฑ์ระเบียบการเมือง การปกครอง และการบริหารของรัฐเป็นตัวบทกฎหมาย เรียบเรียงเป็นเรื่องๆ และรวบรวมให้อยู่ในฉบับเดียวกัน เมื่อจะใช้ให้เป็นหลักการปกครองก็อ้างบทบัญญัติในเอกสารที่ทำไว้นี้ ส่วนกฎหมายอื่นนอกนี้นั้นไม่นับเป็นรัฐธรรมนูญ
2. รัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณี (unwritten constitution)
ก็คือหลักเกณฑ์ระเบียบการเมืองการปกครอง
และการบริหารประเทศหากแต่หลักเกณฑ์เช่นว่านั้นเป็นทั้งประเพณีปฏิบัติ
(constitutional convention) ซึ่งมีทั้งที่เป็นจารีต
คือสิ่งที่เคยปฏิบัติกันมาหรือคำพิพากษาของศาล
และที่เป็นเอกสารคือบัญญัติเป็นกฎหมายที่เขียนเป็นแต่ละเรื่องไม่ได้รวบรวมไว้เหมือนเช่นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร
อย่างไรก็ตามถึงแม้การแบ่งเช่นนี้ในทางปฏิบัติจริงใช่ว่าจะต้องเป็นไปในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งกล่าวคือการใช้รัฐธรรมนูญของประเทศที่มีรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรก็มีการใช้จารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเพื่อให้การดำเนินการทางการเมือง
การปกครองหรือการบริหารประเทศบรรลุล่วงได้
แต่การแบ่งเป็นสองรูปแบบนี้ก็ชัดเจนมากกว่าการแบ่งตามแบบอื่นๆที่มีผู้อธิบายมา
รูปแบบของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ข้อกำหนดที่จำเป็นในรัฐธรรมนูญ
ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการเป็นกฎหมายสูงสุด