สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(Constitutionalism and Thai Constitutions)
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
หลักการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
การแก้ไข เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ ของประเทศต่างๆ มักจะเป็นรัฐธรรมนูญ ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ และการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น จะทำได้ทุกส่วน ของรัฐธรรมนูญ ตามความจำเป็น นอกจากนี้ การแก้ไขเพิ่มเติม จะทำได้ทุกขณะ ไม่ว่าเวลาใด แต่จะต้อง เป็นไปตาม วิธีการ ที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญ ของบางประเทศ ได้จำกัดอำนาจ ในการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะเป็น การจำกัด ในเรื่องเวลา ในบางเรื่อง และในบางเหตุการณ์ เช่น รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ. 1884 มาตรา 2 บัญญัติว่า "รูปของรัฐบาล แบบสาธารณรัฐ ไม่อาจที่จะมีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงได้" ซึ่งถือว่า เป็นการจำกัด ไม่ให้แก้ไขในบางเรื่อง ส่วนรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ห้ามไม่ให้แก้ไข ก่อนระยะเวลา 4 ปี การจำกัด การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในบาง สถานการณ์ โดยปกติ ใช้ในกรณี ที่ประเทศ ตกอยู่ในสถานการณ์ อันตราย รัฐธรรมนูญ ของฝรั่งเศส ค.ศ. 1946 บัญญัติว่า "ในกรณี ที่กองทัพต่างชาติ เข้ามายึดครองประเทศ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่อาจมีขึ้นมาได้" ดังนี้ เป็นต้น เราอาจจำแนกวิธีการ แก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ออกได้เป็น 2 วิธีคือ
1. การแก้ไขเพิ่มเติม ตามวิธีการ ที่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้
2. โดยการปฏิวัติ
โดยทั่วไปแล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น จะมีวิธีการ ที่ยุ่งยาก และมีพิธีรีตอง มากกว่าการแก้ไข เพิ่มเติม กฎหมายธรรมดา นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ บางฉบับ มิได้มีบทบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม ไว้แต่อย่างใด แต่บางฉบับ ก็บอกวิธีแก้ไขเพิ่มเติม ตนเองไว้ รัฐธรรมนูญ ที่มีบทบัญญัติ วิธีแก้ไขเพิ่มเติมไว้นั้น โดยปกติแล้ว จะแยกการปฏิบัติ การออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
1. การเสนอริเริ่มให้แก้ไข โดยทั่วไปแล้ว การริเริ่ม ให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญนั้น ทำได้ยากกว่า การแก้ไข กฎหมายธรรมดา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญ มักจะให้สิทธิ แก่บุคคลบางจำพวก ในวงแคบเท่านั้น เช่น ตามรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ. 1875 บัญญัติว่า ในระหว่างที่จอมพลมักมาฮอง เป็นประธานาธิบดีนั้น ผู้มีสิทธิ ในการเสนอ แก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประธานาธิบดี คนเดียวเท่านั้น
2. การตกลงใจ ที่จะแก้ไข อาจดำเนินการ ได้หลายวิธี เช่น รัฐสภา เป็นผู้ลงมติว่า จะให้มีการแก้ไข ตามข้อเสนอนั้นหรือไม่ นอกจากนี้ อาจกระทำ โดยราษฎร ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งวิธีนี้ กระทำอยู่ในประเทศ ซึ่งใช้ระบบ "ข้อเสนอริเริ่มของราษฎร" (initiative) และ การออกเสียง ประชามติ (referendum) ดังที่ปฏิบัติอยู่ ในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ราษฎร จำนวน 50,000 คน อาจร้องขอ ให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด หรือบางส่วนได้
3. วิธีปฏิบัติ ในการแก้ไข โดยปกติแล้ว รัฐสภา เป็นผู้ดำเนินการแก้ไข เช่น ตามรัฐธรรมนูญ เบลเยี่ยม ค.ศ. 1831 มาตรา 131 บัญญัติว่า สภาทั้งสอง คือสภาสูง และสภาล่าง เป็นผู้ดำเนินการแก้ไข พร้อมด้วย ความเห็นชอบ ของพระมหากษัตริย์ ส่วนในสหรัฐ อเมริกานั้น การแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ อาจทำได้ โดยวิธีใด วิธีหนึ่งใน 4 วิธีดังนี้ คือ
1. ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมนั้น เป็นของสภาคองเกรส (congress)
แล้วให้สภานิติบัญญัติ ของมลรัฐต่างๆ รับรอง
2. ข้อเสนอเป็นของสภาคองเกรส แล้วให้ที่ประชุมมลรัฐรับรอง (state convention)
3. ข้อเสนอโดยที่ประชุมสภาแห่งชาติ (national convention)
แล้วให้สภานิติบัญญัติมลรัฐรับรอง และ
4. ข้อเสนอเป็นของที่ประชุมแห่งชาติ แล้วให้ที่ประชุมแห่งชาติรับรอง
แต่ในทางปฏิบัติ ที่นิยมใช้กัน มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ สภาคองเกรส เป็นผู้เสนอ โดยมีมติ ไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 และได้รับการรับรอง โดยสภานิติบัญญัติ ของมลรัฐ ไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของมลรัฐทั้งหมด สำหรับรัฐธรรมนูญ ที่ไม่มีบทบัญญัติ บอกวิธีแก้ไขไว้ จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม อย่างไร และโดยวิธีใดนั้น จะต้องพิจารณา ถึงกำเนิดของรัฐธรรมนูญ ดังนี้คือ
1. รัฐธรรมนูญ ที่ประชุมแห่งรัฐให้เอง ถ้าจะตีความ อย่างกลับกัน ถือว่า ผู้ใด เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญ ผู้นั้น ก็เป็นผู้แก้ไข รัฐธรรมนูญได้ ดังนี้ ถ้าพระมหากษัตริย์ เป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ พระองค์ ก็มีพระราชอำนาจ ที่จะทรงแก้ไขได้ แต่วิธีการนี้ มักจะใช้ราษฎร หรือรัฐสภา ยินยอมด้วย เช่น รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1814
2. รัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติขึ้น โดยความตกลง ระหว่างประมุขแห่งรัฐ กับราษฎร การแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ประเภทนี้ ประมุขแห่งรัฐ กับราษฎร อาจตกลงเห็นชอบร่วมกัน ในการแก้ไขได้ ราษฎรในที่นี้ ได้แก่ รัฐสภานั่นเอง
3. รัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติขึ้น โดยวิถีทางประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญประเภทนี้ โดยทั่วไปแล้ว มักจะมีบทบัญญัติ วิธีแก้ไขเพิ่มเติม ไว้เสมอ
ฐานะของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข
ร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการแก้ไขแล้ว มีการประกาศและบังคับใช้เป็นกฎหมาย จะก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย 2 กรณี คือ
1. เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่า เพราะถ้าไม่ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่า
เท่ากับว่าในขณะเวลานั้น ประเทศมีการใช้รัฐธรรมนูญพร้อมกัน 2 ฉบับ
อันจะทำให้เกิดปัญหาในระบบการเมืองการปกครอง
2. เป็นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนั้น ร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการแก้ไขแล้ว
มีการประกาศให้ใช้เป็นกฎหมาย ก็มีฐานะเป็นรัฐธรรมนูญ
เจตนารมณ์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
หลักการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ