สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(Constitutionalism and Thai Constitutions)
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
โครงสร้างอำนาจและการปกครองในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
ในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสมีบทบัญญัติทั้งสิ้น 89 มาตรา โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 17 หมวด ได้มีการกล่าวถึงโครงสร้างการปกครองของประเทศฝรั่งเศสไว้ดังต่อไปนี้
1. รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครอง
ประเทศฝรั่งเศสปกครองในรูปแบบของสาธารณรัฐ มีลักษณะเป็นรัฐเดี่ยวไม่สามารถแบ่งแยกได้ มีภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาประจำชาติ มีเพลง ลา มาร์ซัยแยส เป็นเพลงประจำชาติ มีธงสามสี คือ สีน้ำเงิน สีขาวและสีแดงเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ คติของรัฐ คือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังมีหลักการของชาติ ซึ่งได้แก้ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ในส่วนของรูปแบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศสนั้น มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี กล่าวคือ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขหรือผู้นำของสาธารณรัฐและมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี โดยการปกครองของฝรั่งเศสนั้นเน้นตามคติของชาติ คือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ เป็นหลัก สาธารณรัฐรับรองความเสมอภาคของประชาชนตามกฎหมายโดยไม่แบ่งแยกแหล่งกำเนิด เชื้อชาติและศาสนาและเคารพในความเชื่อของทุกนิกาย โดยหลักการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ได้ยึดหลักที่ว่าด้วยอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจอธิปไตยของชาติเป็นของประชาชน ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของซีเอเยส ซึ่งกล่าวว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ และทฤษฎีของ ฌอง ฌาคส์ รุสโซ ที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
2. สถาบันการเมืองที่ใช้อำนาจอธิปไตย
สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 สถาบัน คือ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันตุลาการ ซึ่งรายละเอียดแต่ละสถาบันมีดังต่อไปนี้
1. สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภาของฝรั่งเศส ตามรัฐธรรมนูญของประเทศได้บัญญัติไว้ว่า
รัฐสภาของฝรั่งเศสเป็นแบบสภาคู่ ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา คือ
สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และวุฒิสภา
ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรปกครองท้องถิ่นในสาธารณรัฐได้มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม
ทั้งนี้ประชาชนชาวฝรั่งเศสที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องมีผู้แทนในวุฒิสภาด้วย
ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร นั้นประกอบด้วยสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 570
คนและดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ส่วนวุฒิสภามีสมาชิกทั้งสิ้น 304 คน
โดยดำรงตำแหน่งได้คราวละ 9 ปี
2. สถาบันบริหาร
สถาบันบริหารหรือรัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลเป็นการแบ่งกันระหว่างประธานาธิบดีในฐานะผู้นำประเทศของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล เรียกว่า ทวิภาคของฝ่ายบริหารซึ่งหมายถึงการที่ฝ่ายบริหารมีผู้มีอำนาจสั่งการ 2 คนด้วยกันและทั้ง 2 คนต้องบริหารประเทศด้วยกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
ประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีแห่งรัฐซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 7 ปี
หน้าที่ของประธานาธิบดี
1.
ดูแลให้มีการเคารพรัฐธรรมนูญและดูแลการดำเนินการสถาบันการเมืองให้เป็นไปโดยปกติและต่อเนื่อง
รวมถึงความเป็นอิสระของชาติ บูรณภาพแห่งแผ่นดิน และการเคารพสนธิสัญญาต่างๆ
2.เป็นประธานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
3.เป็นผู้ประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้วและสามารถขอให้รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายใหม่
โดยที่รัฐสภาจะไม่สามารถคำขอของประธานาธิบดีได้
4.เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวมถึงการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
นอกจากนี้ยังเป็นผู้แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ได้แก่สภาแห่งรัฐ
ผู้ที่ได้รับอิสริยาภรณ์ขั้นสูงสุด เอกอัครราชทูต ผู้แทนของรัฐ ผู้พิพากษาศาลสูงสุด
ผู้ว่าการจังหวัด นายทหารระดับนายพล ฯลฯ
5.เป็นผู้กำหนดให้มีการออกเสียงแสดงประชามติต่อร่างกฏหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบสถาบันการเมืองของรัฐ
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือบริการสาธารณต่างๆ
6.ประกาศให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรหลังจากปรึกษากับนายกรัฐมนตรีและสภาทั้ง 2 แล้ว
7.เป็นผู้ลงนามในรัฐกำหนดและรัฐกฤษฎีกาที่ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
8.เป็นผู้แต่งตั้งเอกอัครรัฐทูตและผู้แทนพิเศษ
และรับสารแต่งตั้งเอกอัครรัฐทูตและผู้แทนพิเศษของรัฐอื่นที่มาประจำที่สาธารณรัฐฝรั่งเศส
9.มีอำนาจในการดำเนินมาตรการฉุกเฉินในเรื่องเกี่ยวกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่คุกคามอย่างร้ายแรง
ขั้นตอนการเลือกตั้งประธานาธิบดี
1.ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อสาธารณชน
2.เลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรก
3.ประกาศผลการเลือกตั้งถ้าผู้สมัครได้รับคะแนนเสียงเด็ดขาด
สามารถเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีได้ทันที
ถ้าได้รับคะแนนเสียงไม่เด็ดขาดจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งรอบที่ 2( เฉพาะ 2
คนที่ได้รับคะแนนสูงสุดในรอบแรก)
โดยปกติแล้วการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคนเก่า 20-35 วัน
รัฐบาล
ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับปัจจุบัน
รัฐบาลซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีทรงไว้ซึ่งอำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐและกองทัพ
เป็นผู้กำหนดแนวทางการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของชาติ
รับผิดชอบในการป้องกันชาติ
การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายรวมถึงการใช้อำนาจในการตรากฎหมายของฝ่ายบริหารและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการทหาร
ในกรณีจำเป็น นายกรัฐมนตรีสามารถปฎิบัติหน้าที่บางอย่างแทนประธานาธิบดีได้เช่น
การเป็นประธานในที่ประชุมของสภากลาโหมและคณะกรรมการสูงสุดในการป้องกันประเทศ
หรือการเป็นประธานที่ระชุมคณะรัฐมนตรี
และรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสได้ระบุว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลและเป็นสมาชิกรัฐสภาด้วยจะต้องลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภา
3. สถาบันตุลาการ
สถาบันตุลาการนั้นเป็นอิสระจาก 2 องค์กรแรก
โดยรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสได้กำหนดไว้ว่า คณะกรรมการตุลาการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1) ส่วนที่มีอำนาจในเรื่องผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดี
โดยคณะกรรมการในส่วนนี้มีหน้าที่ เสนอการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา
ประธานศาลอุธรณ์และประธานศาลชั้นต้น
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดี
รวมถึงการเป็นคณะกรรมการพิจารณาความผิดทางวินัยของผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี
โดยให้ประธานศาลฎีกาเป็นคณะกรรมการ
2) ส่วนที่มีอำนาจในเรื่องผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พนักงานอัยการ มีหน้าที่
พิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พนักงานอัยการ
ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความผิดทางวินัยของผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พนักงานอัยการ
โดยให้ประธานผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พนักงานอัยการในศาลฎีกาทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ
คณะกรรมการตุลาการแต่ละชุดจะมี ประธานาธิบดีแห่งรัฐเป็นคณะกรรมการตุลาการ
และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธานคณะกรรมการตุลาการ
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการตุลาการอีก 12
3. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ดรที่ใช้อำนาจนั้นที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภากับฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลเนื่องจากในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินนั้นองค์กรทั้ง 2 ต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างใกล้ชิด ส่วนสถาบันตุลาการนั้นมีการบริงานค่อนข้างเป็นอิสระเพื่อความบริสุทธิ์ยุติธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสมีดังต่อไปนี้
1. ความสัมพันธ์ในด้านอำนาจหน้าที่
- รัฐสภาเป็นผู้ตรารัฐบัญญัติหรือกฎหมายต่างๆ
- รัฐสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
- การประกาศกฎอัยการศึกจะต้องกระทำโดยรัฐกฤษฎีกาที่ตราโดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและการขยายเวลาการใช้กฎอัยการศึกเกินกว่า 12 วันจะต้องได้รับการยินยอมจากรัฐสภา
- เรื่องใดที่ไม่อยู่ในขอบเขตของการตรารัฐบัญญัติ ให้ถือว่าอยู่ในอำนาจการตรากฎหมายของฝ่ายบริหาร
2. ความสัมพันธ์ในการดำเนินงาน
- รัฐบาลสามารถขออนุญาตรัฐสภาในการตรารัฐกำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดในเรื่องซึ่งโดยปกติแล้วเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจการตรารัฐบัญญัติของรัฐสภาได้
- นายกรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภามีสิทธิเสนอร่างรัฐบัญญัติ โดยผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายหลังจากที่ได้ส่งสภาแห่งรัฐตรวจพิจารณาแล้วจะต้องนำเสนอต่อสภาใดสภาหนึ่ง เช่น ร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับงบประมาณจะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน
- ร่างกฎหมายที่เสนอใหม่หรือร่างแก้ไขกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอจะรับพิจารณาไม่ได้ หารผลของกฎหมายนั้นเป็นผลร้ายทำให้รายได้ของรัฐลดลงหรือมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายของรัฐเพิ่มขึ้น
- ในการพิจารณาร่างกฎหมาย ถ้าร่างกฎหมายนั้นไม่ได้อยู่ในขอบเขตอำนาจการตรารัฐบัญญัติ รัฐบาลอาจเสนอไม่ให้รัฐสภารับร่างดังกล่าวไว้พิจารณาได้
- กาพิจารณาร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอ ให้สภาที่รับร่างไว้ทำการพิจารณาจากร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอและให้สภาที่ได้รับร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากอีกสภาหนึ่งมาแล้วพิจารณาร่างกฎหมายตามร่างกฎหมายที่ได้รับมา
- เมื่อรัฐบาลหรือสภารับร่างกฎหมายนั้นไว้พิจารณาร้องขอ ให้ส่งร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเสนอไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาต่อไป หากไม่มีการร้องขอ ให้ส่งร่างกฎหมายที่เสนอนั้นไปยังคณะกรรมาธิการสามัญซึ่งมีจำนวนไม่เกินสภาละ 6 คน เป็นผู้พิจารณา
- สมาชิกรัฐสภาและรัฐบาลมีสิทธิเสนอขอแปรญัตติ ภายหลังการเปิดอภิปรายรัฐบาลมีสิทธิคัดค้านมิให้มีการพิจารณาคำขอแปรญัตติหากมิให้ได้มีการเสนอคำขอแปรญัตตินั้นให้คณะกรรมาธิการพิจารณาก่อน
- ร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเสนอจะต้องได้รับการพิจารณาจากทั้ง 2 สภาต่อเนื่องกันไปเพื่อให้มีการอนุมัติร่างกฎหมายที่มีเนื้อความอย่างเดียวกัน
- กรณีที่ร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือรัฐสภาเสนอ สภาทั้ง 2 มีความเห็นไม่ตรงกัน จนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายไม่ได้รับความเห็นชอบ แต่รัฐบาลแจ้งว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน นายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมที่มีสมาชิกแต่ละสภาจำนวนเท่ากัน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสนอบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ และเสนอไปยังสภาทั้ง 2 อีกครั้ง
- สภาที่ได้รับร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเสนอให้พิจารณา จะทำการพิจารณาและลงมติในร่างกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อพ้นระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่มีการเสนอร่างกฎหมายต่อสภาดังกล่าว ในกรณีที่สภาทั้ง 2 เห็นไม่ตรงกันจนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายไม่ได้รับความเห็นชอบ ให้นำบทบัญญัติในข้อที่แล้วมาบังคับใช้ ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะใช้อำนาจพิจารณายืนยันบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นองค์กรสุดท้าย มติยืนยันของสภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
- การพิจารณาเกี่ยวกับร่างกฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณ ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร ไม่เห็นชอบร่างกฎหมายในการพิจารณาครั้งแรกภายในกำหนดเวลา 40 วันนับจากวันที่ได้รับร่างกฎหมาย ให้รัฐบาลส่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้วุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลา 15 วัน ในกรณีที่รัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 70 วันรัฐบาลอาจประกาศใช้ร่างกฎหมายนั้น โดยการตราเป็นรัฐกำหนดได้
- การจัดระเบียบวาระการประชุมของสภาทั้งสองจะต้องจัดลำดับโดยให้ความสำคัญต่อการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐบาลตามลำดับที่รัฐบาลกำหนดก่อน และจากนั้นจึงเป็นการพิจารณาร่างกฎหมายที่สมาชิกรัฐสภาเสนอและได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล
- ภายหลังการที่แผนงานหรือนโยบายทางการเมืองในเรื่องหนึ่งเรื่องใดของรัฐบาลได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีอาจแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอผูกพันความรับผิดชอบได้
- กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบในญัตติไม่ไว้วางใจหรือกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบด้วยกับแผนงานหรือนโยบายทางการเมืองทั่วไปของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจะต้องยื่นใบลาออกของคณะรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดี
4. องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
1. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
- คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการจำนวน 9 คน
มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี และไม่อาจแต่งตั้งใหม่ได้
มีการเปลี่ยนแปลงตุลาการจำนวนหนึ่งในสามทุกๆ 3 ปี
ประธานาธิบดีแห่งรัฐเป็นผู้แต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ 3
คนและประธานวุฒิสภาแต่งตั้ง 3 คน นอกเหนือจากนี้แล้ว
ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งรัฐทุกคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญตลอดชีพโดยตำแหน่งประธานคณะกรรมการได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญไม่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐสภาได้
อำนาจหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญ - คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้ดูแลตรวจสอบความถูกต้องของการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐและวิธีการออกเสียวประชามติ เป็นผู้ตรวจสอบข้อร้องเรียนรวมถึงประกาศผลการเลือกตั้งและประกาศผลการออกเสียวแสดงประชามติ ในกรณีที่มีการคัดค้านผลการเลือกตั้ง ให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาชี้ขาดเกี่ยวกับความถูกต้องของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
- เป็นผู้วินิจฉัยว่าร่างกฎหมายและร่างข้อบังคับดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการรัฐธรรมนูญย่อมเป็นที่สุด มีผลผูกพันสถาบันทางการเมืองแห่งรัฐตลอดจนองค์กร เจ้าหน้าที่ทางบริหารและในทางตุลาการ บทบัญญัติที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญย่อมไม่อาจประกาศใช้เป็นกฎหมายและไม่อาจมีผลได้
2. สภาเศรษฐกิจและสังคม
อำนาจหน้าที่ของสภาเศรษฐกิจและสังคม
- ให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐบัญญัติ ร่างรัฐกำหนดหรือร่างกฤษฏีกา รวมทั้งร่างกฎหมายของสมาชิกรัฐสภา ในกรณีที่รัฐบาลร้องขอ
- ให้ความคิดเห็นกับรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม แผนงานทุกแผนงานหรือร่างกฎหมายทุกฉบับที่มีลักษณะเกี่ยวกับการวางแผนทางเศรษฐกิจและสังคมจะต้องนำเสนอสภาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขอความเห็น
3 ศาลอาญาชั้นสูง
ศาลอาญาชั้นสูงประกอบด้วยผู้พิพากษาที่เกิดจากสภาทั้งสองในที่ประชุมของแต่ละสภาจำนวนเท่าๆกัน โดยให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเลือกจากสมาชิกวุฒิสภา เพื่อประกอบเป็นศาลอาญาชั้นสูง และให้ผู้พิพากษาศาลอาญาชั้นสูงเอกประธานศาลอาญาชั้นสูงจากผู้พิพากษาด้วยกัน
อำนาจหน้าที่ของศาลอาญาชั้นสูง
- ศาลอาญาชั้นสูงมีหนาที่วินิจฉัยชี้ขาดการกระทำของประธานาธิบดีแห่งรัฐในกรณีทรยศต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง ประธานาธิบดีจะถูกกล่าวหาว่ากระทำการดังกล่าวได้ก็แต่โดยมติของสภาทั้งสองที่ได้ออกเสียงลงคะแนนอย่างเปิดเผยและได้รับความเห็นชอบในมติดังกล่าว โดยเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของแต่ละสภา
5. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองท้องถิ่นของสาธารณรัฐ ได้แก่ เทศบาล จังหวัด และดินแดนโพ้นทะเล ในจังหวัดและดินแดนต่างๆให้มีผู้แทนของรัฐบาลทำหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ กำกับดูแลการบริหารงานและดูแลให้มีการเคารพต่อกฎหมาย
ลักษณะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจที่จะบริหารงานของตนเองได้อย่างอิสระ
2.
การวางระบบกฎหมายและการจัดระเบียบการปกครองจังหวัดโพ้นทะเลอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความจำเป็นเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแห่งท้องถิ่น
3.
ดินแดนโพ้นทะเลของสาธารณรัฐจะมีการจัดองค์กรบริหารเป็นพิเศษโดยคำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะของดินแดนโดยสอดคล้องกับผลประโยชน์ทั่วไปของสาธารณรัฐ
6. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
สมาชิกในคณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดทางอาญาสำหรับการกระทำความผิดที่กระทำในตำแหน่งหน้าที่และปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอุกฤษหรือมัชฌิมโทษในเวลาที่กระทำการ ในกรณีดังกล่าวสมาชิกในคณะรัฐมนตรีจุถูกพิจารณาโดยศาลอาญาแห่งสาธารณรัฐ หรือเรียกว่า ความรับผิดทางอาญาของสมาชิกในคณะรัฐมนตรี
โดยศาลอาญาแห่งสาธารณรัฐประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 15 คน โดยที่ผู้พิพากษา 12 คนเลือกมาจากสมาชิกของสภาทั้งสองในที่ประชุมของแต่ละสภาจำนวนเท่าๆกัน ส่วนผู้พิพากษาอีก 3 คนมาจากผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีในศาลฎีกา และให้ผู้พิพากษาจากศาลฎีกาคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานศาลอาญาแห่งรัฐ
ขั้นตอนการฟ้องร้องสมาชิกในคณะรัฐมนตรี
1.
ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำที่เป็นอุกฤษโทษหรือมัชฌิมโทษของสมาชิกในคณะรัฐมนตรีที่กระทำในตำแหน่งหน้าที่
เข้ายื่นเรื่องต่อคณะกรรมการพิจารณาคำฟ้อง
2. คณะกรรมการพิจารณาคำฟ้องทำการพิจารณาคำฟ้องซึ่งอาจมีมติยกฟ้องหรือส่งฟ้อง
3.
กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาคำฟ้องมีมติสั่งฟ้องนั้นคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะส่งคำฟ้องต่อไปยังประธานผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานอัยการในศาลฎีกาเพื่อฟ้องคดีต่อศาลอาญาแห่งรัฐต่อไป
7. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ลักษณะการทำสนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ
1. ประธานาธิบดีแห่งรัฐเป็นผู้เจรจาและให้สัตยาบันสนธิสัญญาทั้งหลายและจะต้องได้รับรายงานถึงผลการเจรจาเพื่อทำความตกลงระหว่างประเทศที่ไม่ต้องการมีการให้สัตยาบัน
2. สนธิสัญญาสงบศึก สนธิสัญญาทางการค้าหรือความตกลงเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ สนธิสัญญาหรือข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางด้านการเงินต่อรัฐ สนธิสัญญาหรือข้อตกลงที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย สนธิสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคล สนธิสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการยกให้ การแลกเปลี่ยน หรือการผนวกดินแดน จะต้องได้รับความเห็นชอบหรือสัตยาบันในรูปของรัฐบัญญัติ สนธิสัญญาเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้บังคับก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบหรือสัตยาบันแล้ว
3. สาธารณรัฐอาจทำความตกลงกับรัฐยุโรปอื่นๆซึ่งเคารพต่อความผูกพันต่างๆในลักษณะเดียวกันกับสาธารณรัฐในเรื่องการลี้ภัยและการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดทั้งเรื่องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เพื่อที่ได้ จะกำหนดขอบเขตอำนาจของแต่ละรัฐในการตรวจสอบให้ความเห็นชอบในการขอลี้ภัย
4. ในกรณีที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยตามคำร้องของประธานาธิบดีสาธารณรัฐหรือนายกรัฐมนตรีหรือประธานสภาใดสภาหนึ่งหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 60 คน และได้มีมติว่าความผูกพันระหว่างประเทศใดมีข้อความขัดต่อรัฐธรรมนูญ การอนุญาตให้มีการให้สัตยาบัน หรือให้ความเห็นชอบต่อความผูกพันระหว่างประเทศดังกล่าวจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว
5. สนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศที่ได้ให้สัตยาบันหรือให้ความเห็นชอบและได้ประกาศใช้บังคับโดยชอบแล้ว ย่อมมีฐานะในทางกฎหมายสูงกว่ารัฐบัญญัติ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่คู่สัญญาฝ่ายอื่นๆจะต้องบังคับใช้สนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศนั้นเช่นเดียวกัน
8. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
สิทธิที่จะขอเสนอแก้ไขและเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นของประธานาธิบดีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี
และของสมาชิกรัฐสภา
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาจะต้องได้รับความเห็นอบจากสภาทั้งสองในเนื้อความอย่างเดียวกัน
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้ได้ภายหลังจากได้รับความเห็นชอบจากประชาชน
ด้วยวิธีการออกเสียงลงประชามติแล้ว
อย่างไรก็ตามร่างรัฐธรรมนูญแก้ไชเพิ่มเติมที่เสนอโดยประธานาธิบดีอาจไม่ต้องนำมาให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติก็ได้
หากประธานาธิบดีตัดสินใจที่จะเสนอให้ที่ประชุมร่วมกันของสิงสภาเป็นผู้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น
ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะได้รับความเห็นชอบให้ใช้บังคับ
ได้ก็ต่อเมื่อได้คะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่า
สามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภาที่ออกเสียงลงคะแนน
ในกรณีที่มีการประชุมร่วมกันนี้
ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่สำนักงานของที่ประชุมร่วม
บทสรุปรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
จากการที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสในข้างตนสามารถสรุปภาพรวมโดยสังเขปเกี่ยวกับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้
- ประเทศฝรั่งเศสปกครองในระบบรัฐเดี่ยวในรูปแบบของสาธารณรัฐ
- ประเทศฝรั่งเศสใช้ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ
- สถาบันทางการเมืองของฝรั่งเศสสามารถแบ่งแยกได้ออกเป็น 3 ส่วน คือ
1) สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีหน้าที่หลักในการตรารัฐบัญญัติและกฎหมาย โดยรัฐสภาฝรั่งเศสเป็นระบบสภาคู่ คือมี 2 สภา ได้แก่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
2) สถาบันบริหาร (รัฐบาล) มีหน้าที่หลักในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยระบบบริหารเป็นระบบบริหารที่มีลักษณะเป็นทวิภาค ซึ่งหมายถึง มีผู้มีอำนาจสั่งการสองคน คือ ประธานาธิบดีแห่งรัฐและนายกรัฐมนตรี ซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงโดยประชาชน ส่วนนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินนั้นได้แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
3) สถาบันตุลาการ (ศาล) เป็นหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระ มีหน้าที่หลักในการพิจารณาพิพากษาคดีความต่างๆ สถาบันที่ควบคุมดูแลการทำหน้าที่ของสถาบันตุลาการคือ คณะกรรมการตุลาการ โดยคณะกรรมการตุลาการ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาและผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่เป็นอัยการโดยคณะกรรมการตุลาการแต่ละชุดมีประธานาธิบดีเป็นประธานคณะกรรมการตุลาการทั้ง 2 ส่วน - ตามรัฐธรรมนูญยังจัดให้มีองค์กรต่างๆนอกเหนือจาก 3 สถาบันหลัก เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( เทศบาล จังหวัด ดินแดนโพ้นทะเล) หรือองค์กรอื่นๆตามรัฐธรรมนูญ ( คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ สภาเศรษฐกิจและสังคม ศาลอาญาชั้นสูง)
- รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของฝรั่งเศสมุ่งเน้นตามหลัก ให้เป็นไปตามคติของสาธารณรัฐ คือ เสรีภาพ เสมอภาพและภราดรภาพ โดยมุ่งเน้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
โครงสร้างอำนาจและการปกครองในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
รัฐธรรมนูญประเทศสหรัฐอเมริกา
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญประเทศเยอรมัน