สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

(Constitutionalism and Thai Constitutions)

ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม

เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540

ศาลปกครอง

เป็นศาลที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่เอกชนที่มีข้อพิพาทกับหน่วยราชการหรือหน่วยงานให้รัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 276 ให้จัดตั้งขึ้นและให้มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เนื่องจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำ หรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย

ศาลปกครองซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีการปกคอรงของตนเองแตกต่างจากศาลยุติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ศาลปกครองใช้กระบวนการพิจารณาคดีแบบไต่สวน มิใช่แบบกล่าวหาที่ใช้ในศาลยุติธรรม ซึ่งจะทำให้ตุลาการศาลปกครองมีอำนาจหาข้อเท็จจริงในคดีได้ด้วยตนเอง แทนการรอหลักฐานจากผู้กล่าวหาหรือโจทก์ อันจะทำให้ศาลปกครองสามารถอำนาจความยุติธรรมให้แก่ประชาชนที่มีข้อพิพาทกับหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้อย่างรวดเร็ว และช่วยพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ถูกหน่วยราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเมิดได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมากกว่าศาลยุติธรรม

ด้วยเหตุนี้ การคัดเลือกตุลาการศาลปกครองจึงมีวิธีการแตกต่างไปจากการคัดเลือกผู้พิพากษาศาลยุติธรรม กล่าวคือ ในขณะที่ศาลยุติธรรมจะคัดเลือกผู้พิพากษาจากผู้ที่ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายเท่านั้น แต่ศาลปกครองอาจคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการผ่านเดินมาเป็นตุลาการในศาลปกครองได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญมาตรา 277 ยังบังคับไว้ด้วยว่า ให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานิติศาสตร์ และในการบริหาารราชการแผ่นดินเป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของตุลาการศาลปกครองสูงสุดทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพราะในการพิจารณาพิพากษาคดีทางปกครองนั้นจะพิจารณาจากแง่นิติศาสตร์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องพิจารณาจากแง่ของการบริหารราชการแผ่นดินด้วย

ในทำนองเดียวกับศาลยุติธรรม ศาลปกครองมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระและตุลาการศาลปกครองมีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีเหมือนผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมทุกประการ และด้วยเหตุผลเดียวกันกับศาลยุติธรรม รัฐธรรมนูญมาตรา 279 ได้สร้างความเกี่ยวพันระหว่างศาลปกครองกับสถาบันที่เป็นตัวแทนของปวงชน โดยบัญญัติให้คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองซึ่งมีจำนวน 13 คนนั้น มาจากตุลาการในศาลปกครอง ที่เลือกจากตุลาการด้วยกันเอง 10 คนและผู้ทรงคุณวุฒิที่รับเลือกจากการวุฒิสภา 2 คน และจากคณะรัฐมนตรี 1 คน

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” (ฉบับชั่วคราว)
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 มีชื่อว่า “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2516
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 มีชื่อว่า “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 มีชื่อว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย