ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ
(Empowerment Theories)
ความสอดคล้องกับปัจเจก กลุ่ม ครอบครัว องค์กร สถาบันและชุมชน
เราจะเห็นได้ว่า ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจพยายามที่จะเชื่อมโยงระบบสังคมทั้งสามระดับคือ ระดับจุลภาค ระดับมัชฌิมภาค และระดับมหภาคเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อนักสังคมสงเคราะห์ ทำงานกับปัจเจกบุคคล ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจย้ำเน้นให้เห็นว่าปัญหาส่วนบุคคลและทางออกที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องอยู่ในบริบทของพลังอำนาจทางสังคมการเมืองที่มีพลวัต การตระหนักในความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างปัญหาส่วนบุคคลและอุปสรรคเชิงโครงสร้างนั้นเป็นสาระสำคัญของทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจก็ว่าได้ ถึงแม้ว่า ความสนใจเบื้องแรกจะเป็นกลุ่มคนที่ถูกกดขี่ สาเหตุของการกดขี่ ผลกระทบจากการกดขี่ และทางออกของการกดขี่ ตลอดจนความไม่เสมอภาคเท่าเทียมนั้นล้วนสอดคล้องกับปัจเจก ครอบครัว องค์กร สถาบัน และชุมชนด้วยเช่นกัน การกระทำรวมหมู่อันจำเป็นที่จะต้องส่งผลสะเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถที่จะบังเกิดขึ้นได้ในทุกระดับที่กล่าวมา ดังนั้น การสร้างพลังอำนาจให้ปัจเจกก็มีความหมายและความสำคัญต่อการสร้างพลังอำนาจให้กับกลุ่มชนรวมหมู่เช่นกัน
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจเสนอความท้าทายให้กับบริบททางการเมืองและสังคมของการบริการทางสังคม โดยปกติองค์กรในระบบราชการ (bureaucracy) นั้นมีธรรมชาติการดำเนินงานที่เน้นการให้บริการที่เป็นมาตรฐานและกระบวนการดำเนินงานที่เป็นทางการ อันสะท้อนทรรศนะครอบงำทางการเมืองอย่างชัดเจน และยากที่จะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของกลุ่มคนที่กดขี่ มีการศึกษาวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า องค์กรบริการสังคมนั้นมีอุปสรรคข้อจำกัดในการสร้างพลังอำนาจให้ทั้งกับผู้ใช้บริการและคนทำงานขององค์กร ยิ่งไปกว่านั้น ระบบอุปถัมภ์ (Paternalistic System) ยังเป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้เกิดการไร้พลังอำนาจและการพึ่งพิง
ในระดับมหภาค ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับมหภาคจำเป็นต้องเชื่อมโยงระดับบุคคลและระดับระหว่างบุคคลไปสู่ระดับการเมืองให้ได้ ความเข้าใจในชุมชนองค์กร และสถาบันสังคมมีความจำเป็นต่อการสร้างภาคีความร่วมมือ ชุมชนองค์กรและผลสะเทือนต่อนโยบายสังคม การสร้างพลังอำนาจจะสั่งสมและพัฒนาไปเป็นพลังรวมหมู่เมื่อประชาชนเข้ามาร่วมดำเนินการเอาชนะอุปสรรคและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ประวัติความเป็นมา
หลักสำคัญของแนวคิด
การจำแนกแยกชั้นชน
การกดขี่เอารัดเอาเปรียบ
ทฤษฎีสตรีนิยม
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจในเกย์และเลสเบี้ยน
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
ประเด็นร่วมสมัย
การให้นิยามความหมายของการให้ความช่วยเหลือ
ประเด็นวิจารณ์
พลังทางสังคม
วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
ความสอดคล้องกับปัจเจก กลุ่ม ครอบครัว
องค์กร สถาบันและชุมชน
ความสอดคล้องกับค่านิยมและจรรยาบรรณของการสังคมสงเคราะห์
ปรัชญาที่ใช้ค้ำยันทฤษฎี
ประเด็นวิธีวิทยาและข้อมูลประจักษ์
บทสรุป