วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ

 (Air Pollutions)

เมื่อคุณภาพของอากาศถูกเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติตามธรรมชาติ โดยองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งเพิ่มมากขึ้น หรือลดน้อยลง หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาปะปนอยู่ เช่น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มมากขึ้น หรือมีก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ฝุ่น ละออง ไอควันต่าง ๆ จนเกิดผลเสียหายต่อสุขภาพอนามัย และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งการตรวจวัดระดับมลพิษมักอาศัยการตรวจวัดเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

แหล่งกำเนิดของมลพิษทางอากาศมี 2 แหล่งใหญ่ คือ มลพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมลพิษที่เกิดจากการกระทำของของมนุษย์ มลพิษที่เกิดขึ้นตามะรรมชาติแลทำให้อากาศสกปรก เช่น ไฟไหม้ป่า พายุฝุ่น ก๊าซจากการเน่าของอินทรีย์วัตถุ รวมทั้งก๊าซจากการขับถ่ายและการหายใจของมนุษย์ และสัตว์ นอกจากนี้ยังมีมลพิษที่เกิดจากเถ้าถ่านที่มาจากภูเขาไฟระเบิด ซึ่งแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศนานนับปี แต่แหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญและเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องมีการศึกษาหามาตรการแก้ไขที่เหมาะสมและกว้างขวางที่สุดก็คือ มลพิษที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

กิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดมลพิษนั้นมีมากมายหลายอย่าง ตั้งแต่การผลิตใหญ่ ๆ ที่ใช้เครื่องจักร เครื่องยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงต่าง ๆ อุตสาหกรรมที่ผลิตหรือใช้สารเคมีที่มีพิษ การทำเหมื่องแร่ที่มีกระบวนการขุด เจาะ ระเบิด บดเป็นชิ้น แยกแร่ธาตุ และทำให้แห้งเป็นต้น นอกจากนี้จังมีมลพิษที่มาจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้แก่ การเดินทาง คมนาคมขนส่ง การใช้เชื้อเพลิงหุงต้มอาหาร การใช้สเปรย์ฉีด และใช้สำนักงาน และในครัวเรือนที่ต้องใช้สารเคมีชนิดที่ก่อให้เกิดผลต่อสภาพแวดล้อม เช่น สารฆ่าแมลงที่สะสมในร่างกายได้

สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยนั้น พบว่า “ในปี 2539 กรุงเทพมหานคร ถูกกล่าวหาว่าเป็นเมืองมหานครที่มีปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก” [3] ซึ่งเป็นภาพลบที่สะเทือนความรู้สึกของประชาชนทั้งประเทศ ปัญหามลพิษทางอากาศในขณะนั้นก็อยู่ในระดับรุนแรงและน่าวิตก ทั้งปริมาณสารตะกั่ว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ นอกเหนือไปจากวิกฤติการณ์ของมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในเขตเมืองแล้วยังมีพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบกับปัญหาภาวะมลพิษอากาศรุนแรง เช่น พื้นที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งมีปัญหาก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น อันเกิดจากการผลิตถ่านหินของเหมืองแม่เมาะ ปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าทำให้หน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบต่างเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อลบภาพสะท้อนที่เกิดขึ้น

องค์ประกอบบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศ
มลพิษทางอากาศ (Air Pollutions)
ฝุ่นละออง เขม่า ควัน
สารตะกั่ว (Pb)
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ไฮโดรคาร์บอน (HC)
สารกรดในบรรยากาศ (ฝนกรด หรือ acid rain)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย