วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

มลพิษทางอากาศ

สารตะกั่ว (Pb)

ตะกั่ว เป็นโลหะหนัก สีเงิน ทนต่อการสึกกร่อนและมีความอ่อนตัวสามารถทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์มาตั้งแต่โบราณ เช่น ชาวโรมันใช้ตะกั่วทำท่อประปา และภาชนะใส่น้ำดื่ม แต่ตะกั่วก็มีพิษร้ายแรง นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่า สาเหตุหนึ่งของการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันใหญ่โตเกิดจากประชาชนดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารตะกั่วเข้าไปสะสมในปริมาณที่มากจนเป็นพิษต่อระบบประสาท

ปัจจุบันนยังมีการใช้ตะกั่วในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวางและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น เป็นส่วนผสมของสี เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ในคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การบิน และมากที่สุดในการทำแบตเตอรี

สัดส่วนการใช้ตะกั่วในโลกปัจจุบัน ยังคงทยอยเพิ่มขึ้น โดยปริมาณสัดส่วนการใช้ตะกั่วของโลกปัจจุบันมีมากว่า 6 ล้านตันต่อปี เป็นการใช้จากทวีปเอเชียประมาณ 2 ล้านตันต่อปี

 

ถึงแม้ว่าครั้งนึงตะกั่วเคยเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มออกเทนของน้ำมันเบนซิน แต่ได้ถูกยกเลิกในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2539 ทำให้แนวโน้มปริมาณสารตะกั่วริมถนนมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีค่าต่ำกว่าระดับมาตรฐาน

อย่างไรก็ดีการเพิ่มขึ้นของการใช้ตะกั่วในโลกปัจจุบันกลับไปส่งผลกระทบต่อมลพิษสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ เช่น ปัญหาการปนเปื้อนของตะกั่วในที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองตอนบน ที่เกิดจากการรั่วไหลของสายแร่เป็นต้น ดังนั้นการตรวจสอบติดตามมลภาวะที่เกิดจากตะกั่วจึงยังคงต้องมีต่อไป ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการพัฒนาประเทศที่ยังมีต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

องค์ประกอบบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศ
มลพิษทางอากาศ (Air Pollutions)
ฝุ่นละออง เขม่า ควัน
สารตะกั่ว (Pb)
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ไฮโดรคาร์บอน (HC)
สารกรดในบรรยากาศ (ฝนกรด หรือ acid rain)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย