วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
แต่เป็นพิษร้ายแรงต่อมนุษย์ แหล่งกำเนิดคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่สำคัญ คือ
จากไอเสียของเครื่องยนต์เบนซิน
โดยเกิดจากอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ได้สัดส่วน เช่น
ถ้าอัตราส่วนผสมบาง (อากาศมาก) ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จะน้อย
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าอัตราส่วนผสมหนา (อากาศน้อย) ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกำซด์
ก็จะเพิ่มขึ้น โดยปกติอัตรส่วนผสมของก๊าซกับน้ำมันเชื้อเพลิงเหมาะสม จะอยู่ที่
14.7:1 ซึ่งเป็นจุดที่เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ และได้กำลังงานสูง
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์เมื่อสูดหายใจ
จะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจนถึง 200-250 เท่า
เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน
ทำให้ความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและสมองลดลง
ผู้ได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จะมีอาการปวดศรีษะ อ่อนเพลีย อาเจียน
ตาพร่ามัว ที่รุนแรงอาจมีอาการถึงขั้นโคม่า ชีพจรเต้นอ่อน
ระบบหายใจล้มเหลวและถึงแก่ความตายได้ การรักษาพยาบาลเมื่อเกิดอาการ
ต้องแก้ที่การหายใจ ที่สำคัญคือให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์ทันที
ถ้ามีอาการมากต้องให้ออกซิเจน
การแก้ไขปัญหาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536
โดยมีการบังคับใช้อุปกรณ์ขจัดมลพิษในระบบไอเสียรถยนต์เบนซินใหม่ที่ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว
หรือที่เรียกว่า Catalytic Converter เพื่อลดการระบายก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์
ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในบรรยากาศ และท้องถนนเริ่มลดปริมาณลง
อย่างไรก็ดีรถยนต์ที่ยังใช้น้ำมันมีสารตะกั่วไม่สามารถใช้อุปกรณ์นี้ได้
เพราะสารตะกั่วจะทำให้เกิดการอุดตัน
ดังนั้นภาพรวมของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จึงยังสูงขึ้น จนกระทั้งหลังปี
2539 ที่ได้มีประกาศยกเลิกการใช้น้ำมันที่มีสารตะกั่ว ทำให้การรณรงค์เพื่อใช้
Catalytic Converter นี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประกอบกับการออกมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษที่ออกกฎไม่ให้มีคาร์บอนมอนนอกไซด์ของรถยนต์เกิน
1.5% สำหรับรถที่จดทะเบียนหลังวันที่ 1 พ.ย. 2536 และ 4.5% สำหรับมอเตอร์ไซด์
และรถยนต์ที่จดทะเบียนก่อนวันดังกล่าว
ทำให้การแก้ไขปัญหาของก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ในบรรยากาศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันปัญหาก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์มีแนวโน้มลดลง สังเกตุได้จากรูปที่ 9
ที่ปัจจุบันมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐาน 9 ส่วนในล้านส่วน (part per million,
ppm)ในการวัดค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ซึ่งในปี 2545 มีค่าเฉลี่ย 0.9 ppm
องค์ประกอบบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศ
มลพิษทางอากาศ (Air Pollutions)
ฝุ่นละออง เขม่า ควัน
สารตะกั่ว (Pb)
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ไฮโดรคาร์บอน (HC)
สารกรดในบรรยากาศ (ฝนกรด หรือ acid rain)