ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

จังหวัดชายแดนภาคใต้สมัยอยุธยา

         ปัตตานีกับสยามมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน โดยเฉพาะชาวสยามนั้นได้ตั้งถิ่นฐาน แถบปัตตานีมาก่อนที่อาณาจักรสยามจะเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ต่อมาในปี พ.ศ. 1885 กษัตริย์ละโว้ อโยธยาได้ส่งพระพนมวัง-นางสะเดียงทองลงมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช พระพนมวังได้สร้างเมืองนครดอนพระ (แถบอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ขึ้นเป็นศูนย์กลางการปกครอง ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 1887 พระพนมวังได้แต่งตั้งให่พระฤทธิเทวา (เจสุตตรา) ออกไปปกครองเมืองปัตตานี ซึ่งในสมัยนั้นยังเรียกว่าเมืองโกตามหลิฆัยของอาณาจักร ลังกาสุกะ

ในระหว่างปี พ.ศ. 1890 – 1893 พระฤทธิเทวาได้นำชาวเมืองโกตามหลิฆัยไปช่วย พระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1) สร้างพระนคศรีอยุธยาด้วย นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐาน ในเวลาต่อมาว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1913-1931 ทรงมีพระสนม คนหนึ่งเป็นธิดาของมุขมนตรีปัตตานี นอกจากนั้นกรงศรีอยุธยาและปัตตานียังได้ร่วมกันต่อต้าน การขยายอำนาจของมะละกาในคาบสมุทรมลายู ในครึ่งหลังช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 พ่อค้าต่างประเทศ หลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านช่องแคบมะละกา เนื่องจากหวั่นกลัวโจรสลัดจึงหันมาใช้เส้นทาง การค้าผ่านปัตตานี ปัตตานีจึงเจริญขึ้นเป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าต่างประเทศแหล่งสำคัญ ในเวลาเดียวกันกรุงศรีอยุธยาก็เป็นศูนย์กลางการค้าต่างประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย

 

พระฤทธิเทวาครองเมืองโกตามหลิฆัยอยู่จนถึงปีพ.ศ. 1927 ก็สิ้นพระชนม์ กษัตริย์องค์ต่อมา ไม่ปรากฏพระนามชัดเจน แต่ระบุว่าเป็นสมเด็จพระอัยกาของพญาอินทิรา ครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1927-1967 เป็นเวลา 40 ปี พระโอรสของพระองค์มีพระนามว่าพญากูรุปมหาจันทราได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1967 ถึงปี พ.ศ. 2012 รวมเป็นเวลา 45 ปี หลังจากนั้นพญาอินทิรา โอรสของพระองค์ได้เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองโกตามหลิฆัยเป็นองค์สุดท้าย ระหว่างปีพ.ศ.2012-2057 รวมเป็นเวลา 45 ปี (อนันต์ วัฒนานิกร, 2531 : 35) ระหว่างนั้นพระองค์ได้สร้างราชธานีแห่งใหม่ มีภูมิประเทศเหมาะสมกว่า และเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยนั้น เมืองดังกล่าวมีชื่อว่า “ปตานี” (Patani) ซึ่งฝ่ายไทยเรียกว่า “เมืองตานี” หรือ “ปัตตานี” ในเวลาต่อมา

สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สยามถือว่าปัตตานีเป็นเมืองประเทศราช หรือประเทศรัฐ บรรณาการของสยาม ปัตตานีได้ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง (บุหงามัส) 3 ปีต่อครั้ง แต่ในช่วงที่ อาณาจักรมะละกาขยายอำนาจขึ้นมาตอนบนของคาบสมุทรมลายูในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ปัตตานีได้ตกเป็นเมืองขึ้นของมะละกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2003 เป็นต้น มาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2054 โปรตุเกสได้เข้าปกครองเมืองมะละกาทำให้ปัตตานีกลับมาเป็นอิสระ แต่ในที่สุดปัตตานีก็ตกอยู่ใน อำนาจของสยามอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในระยะนั้นตรงกับสมัยอยุธยา

 || อ่านต่อหน้า 2 >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย