สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ / อ.วิชาญ

ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

หมายถึงระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ และหลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย ผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน

รัฐสภา(ตัวแทนประชาชน)มีอำนาจถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร การแบ่งแยกอำนาจช่วยให้ควบคุมซึ่งกันและกัน ประชาชนจึงมีเสรีภาพมากขึ้นไม่ถูกบังคับความถูกต้องแห่งกฎหมาย ทำให้ประชาชนสามารถโต้แย้งคัดค้านการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐได้ การปกครองแบบประชาธิปไตย มีหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ 3 ประการคือ

- ผู้ปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใต้ปกครอง
- ผู้ใต้ปกครองจะต้องมีสิทธิเปลี่ยนตัวผู้ปกครองได้เป็นครั้งคราว
- สิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานของประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง

องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เลือกตั้ง , หลักการแบ่งแยกอำนาจ , หลักความถูกต้องแห่งกฎหมาย การเลือกตั้งคือพื้นฐานสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งทำทำให้เกิดสถาบันการเมือง คือ พรรคการเมืองขึ้น

รุสโซ กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน(จาก สัญญาประชาคม) แต่ด้วยประชาชนมีจำนวนมากไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง จึงเกิดวิธีการ มอบอำนาจ ขึ้นซึ่งก็คือการเลือกผู้แทนของตน เข้าไปทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ตามที่ตนต้องการ การเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • อิสระแห่งการเลือกตั้ง = โดยเสรี ไม่มีการบังคับ จ้างวาน / เลือกตั้งตามกำหนดเวลา = กำหนดสมัยแน่นอน ไม่ห่างเกินไป / ประชาชนควบคุมดูแลผู้แทนของตนได้ / เลือกตั้งอย่างแท้จริง = ไม่โกง ให้ราษฎรมีส่วนร่วมการจัดการ คัดค้านการทุจริตได้ /
  • ออกเสียงโดยทั่วไป = ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิอย่างทั่วถึง / เลือกตั้งอย่างเสมอภาค = ทุกเสียงมีค่าเท่ากัน
  • ลงคะแนนลับ = มิให้ผู้อื่นได้รู้ว่าลงคะแนนอย่างไร เพื่อป้องกันการบังคับ

รูปแบบการเลือกตั้ง เลือกตั้งโดยตรง(ผู้เลือกตั้งเลือกผู้แทนของตนโดยตรง)เลือกตั้งโดยอ้อม(เลือกบุคคลไปเลือกผู้แทน)

  • ข้อดี เลือกตั้งโดยตรง : ได้ผู้แทนตามเจตจำนง, ผู้แทนใกล้ชิดประชาชน, ยากแก่การใช้อิทธิพล, ผู้แทนปฏิบัติงานอย่างมั่นใจ
  • ข้อเสีย เลือกตั้งโดยตรง : เขตเลือกตั้งใหญ่, ประชาชนรู้จักผู้สมัครไม่ทั่วถึง

ข้อดี เลือกตั้งโดยอ้อม : เลือกตั้งได้ง่าย, เลือกผู้มีความสามารถก่อนที่จะไปเลือกผู้แทนอีกครั้ง, เหมาะกับที่ที่ไม่มีการศึกษา ข้อเสีย เลือกตั้งโดยอ้อม : ทุจริตได้ง่าย, คนกลางมีอำนาจ, ดูถูกว่าราษฎรโง่ทำให้ไม่สนใจการเลือกตั้ง, ต้องเลือกตั้ง 2 ครั้ง เลือกตั้งแบบรวมเขต(ถือเอาจังหวัดหนึ่งเป็น1เขต)เลือกตั้งแบบแบ่งเขต(ในจังหวัดหนึ่งแบ่งเป็นเขตๆ)

  • หลักการแบ่งแยกอำนาจ มองเตสกิเออ อธิบายใน “เจตนารมณ์ของกฎหมาย” ว่าอำนาจอธิปไตยประกอบด้วยอำนาจ 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หากอำนาจทั้ง 3 รวมอยู่ที่องค์กรเดียวเสรีภาพของประชาชนจะไม่เกิด
  • หลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย หมายถึง ผู้มีอำนาจปกครองจะใช้อำนาจปกครองจามอำเภอใจไม่ได้ การใช้อำนาจปกครองจะต้องสอดคล้องถูกต้องกับกฎหมายทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่

รูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มี 2 แบบ คือ แบบรัฐสภา ,แบบประธานาธิบดี(มีการเพิ่มแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีเข้ามาในช่วงหลัง)

แบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารแยกเป็น 2 องค์กร คือ องค์กรประมุขของรัฐ ,องค์กรคณะรัฐมนตรีองค์กรประมุขของรัฐ อาจเป็นกษัตริย์ (ส่วนใหญ่เป็นสังคมอนุรักษ์นิยม)หรือประธานาธิบดีก็ได้(สังคมเสรีนิยม) องค์กรคณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาล มีความรับผิดชอบทางการเมืองต่อรัฐสภา หากรัฐสภาไม่ไว้วางใจก็ต้องลาออก วิธีการที่รัฐสภาไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาล เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ , การไม่ผ่านร่างงบประมาณประจำปี , ไม่ผ่าน ก.ม สำคัญ ส่วนฝ่ายคณะรัฐมนตรีก็สามารถยุบสภาได้ ทำให้เกิดดุลแห่งอำนาจขึ้น (ในที่สุดประชาชนก็จะเลือกตั้งใหม่)

แบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดี จะเป็นทั้งประมุขของรัฐ ,หัวหน้าคณะรัฐมนตรี องค์กรคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงที่ปรึกษาให้คำแนะนำ สิทธิขาดอยู่ที่ประธานาธิบดี (คัดค้าน 7 เสียง เห็นด้วย 1 เสียง 1 เสียงชนะ)

ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม “ฟาสซิสม์”
องค์กรนิติบัญญัติ
วิวัฒนาการทางการปกครองของประเทศอังกฤษ
ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตยของไทย
ลักษณะของรัฐสภา
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
การเลือกตั้ง
องค์กรบริหาร
อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหาร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย