สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ / อ.วิชาญ

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เกิดเริ่มแรกในนครรัฐเอเธนส์ สมัยกรีกโบราณ และหยุดชะงักไปพร้อมกับการล่มสลายของนครรัฐเอเธนส์ การค้นพบวิทยาการต่างๆที่ทำให้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร,การคมนาคมสะดวกขึ้น, ประชากรเพิ่มขึ้น, การติดต่อกันมากขึ้น โครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจเปลี่ยนไป ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด ระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยม

ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ประเทศต่างๆในยุโรปต่างมี “สภาผู้แทนชนชั้น” (พระ, เจ้าขุนมูลนาย, ชนชั้นกลาง) เหตุที่ชนชั้นกลางเข้าไปมีส่วนร่วมในสภามากขึ้นเนื่องจากความต้องการด้านภาษีที่จะนำมาบำรุงประเทศซึ่งได้จากชนชั้นกลางเป็นส่วนใหญ่ ใ

นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แกะเป็นสินค้าออกที่สำคัญของอังกฤษ บรรดาขุนนางเจ้าของที่ดินต่างอาศัยชนชั้นกลางในการหารายได้ ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมเป็นพันธมิตรกันมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มอำนาจบทบาทของรัฐสภาในอังกฤษ

 

ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 รัฐสภาเริ่มจัดให้มีองค์กรที่ใช้อำนาจแทนกษัตริย์ เรียกว่าคณะรัฐมนตรี เริ่มมีรูปแบบการปกครองแบบรัฐสภา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ประเทศต่างๆในภาคพื้นยุโรป เห็นว่าอังกฤษ มีความเป็นอิสระจากอำนาจปกครองของกษัตริย์และขุนนาง ประกอบกับงานเขียนนักคิดทางการเมืองแพร่หลายมากขึ้น จึงเริ่มละทิ้งอุดมการณ์ในทางการเมืองแบบเดิม เพราะเห็นว่า อุดมการณ์ในทางการเมืองแบบใหม่มีเหตุผลถูกต้องกว่า “ย่อมไม่มีผู้ใดมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาคนอื่น นอกเสียจากว่าเขาได้รับมอบหมายจากคนอื่นๆนั้นให้ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา” ซึ่งนำไปสู่การปกครองแบบสาธารณรัฐแทนแบบกษัตริย์ เกิดเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเสรีนิยม

ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม “ฟาสซิสม์”
องค์กรนิติบัญญัติ
วิวัฒนาการทางการปกครองของประเทศอังกฤษ
ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตยของไทย
ลักษณะของรัฐสภา
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
การเลือกตั้ง
องค์กรบริหาร
อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหาร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย