เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ
พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก
โดยปกติแล้วอุณหภูมิภายใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก กล่าวคือ
ยิ่งลึกลงไปอุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้นและในบริเวณส่วนล่างของชั้นเปลือกโลก (Continental
Crust) หรือที่ความลึกประมาณ 25 30
กิโลเมตรอุณหภูมิจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 250 1,000 องศาเซลเซียส
ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิสูงถึง 3,500 4,500 องศาเซลเซียส
การนำความร้อนใต้พื้นโลกมาใช้ประโยชน์ทำได้ในช่วงความลึกไม่เกิน 10
กิโลเมตร น้ำใต้ดินมีอุณหภูมิและความดันสูง
เพราะนอกจากเมื่อได้รับความร้อนจากแมกมาแล้ว
น้ำจะขยายตัวเพราะความร้อนทำให้เกิดความดัน
ในบริเวณที่ไม่มีน้ำใต้ดินไหลผ่านชั้นหินร้อนใต้พื้นโลก
อาจเจาะหลุมอัดฉีดน้ำลงไปให้รับความร้อนที่ได้จากน้ำใต้ดินร้อนตามธรรมชาติ ดังนั้น
โดยอาศัยความแตกต่างในลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งความร้อนและเทคนิคการนำความร้อนนั้นมาใช้ประโยชน์
เราจึงอาจแบ่งการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพออกเป็น 4 ระบบ คือ
- ระบบไอน้ำ (Vapor dominate system)
เป็นระบบที่แหล่งพลังงานความร้อนอยู่ในรูปของไอน้ำที่ร้อนจัดมากกว่าร้อยละ 95
โดยน้ำหนักอุณหภูมิไอน้ำสูงประมาณ 200 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ระบบน้ำร้อน (Water dominate system)
เป็นระบบที่แหล่งพลังงานความร้อนอยู่ในรูปน้ำร้อน มีไอน้ำเป็นส่วนน้อย
ประมาณร้อยละ 20 โดยน้ำหนักอุณหภูมิของน้ำร้อนตั้งแต่ 100 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ระบบหินร้อนแห้ง (Hot dry rock system)
เป็นระบบที่แหล่งพลังงานความร้อนเป็นหินเนื้อแน่นใต้ผิวโลกที่มีอุณหภูมิสูง
ไม่มีน้ำใต้ดินไหลซึมผ่านบริเวณน้ำ
การนำมาใช้ประโยชน์โดยการเจาะบ่อให้ลึกถึงชั้นหินร้อนแล้วทำให้เกิดรอยแตกในหินเมื่ออัดน้ำจากผิวดินลงไปสัมผัสกับหินร้อนและมีความดันเพิ่มขึ้นได้
- ระบบความดันธรณี (Geopressure system) เป็นระบบที่แหล่งพลังงานความร้อนอยู่ในรูปของน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิสูงอันเนื่องมาจากการถูกบังคับให้อยู่ในที่อันจำกัดและถูกกดทับด้วยน้ำหนักของหินที่อยู่ข้างบน
ข้อดี
การผลิตพลังความร้อนใต้พิภพแทบไม่ก่อมลพิษหรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเลย
พลังงานนี้เงียบและน่าเชื่อถืออย่างที่สุด
โรงงานไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพผลิตพลังงานประมาณร้อยละ 90
ตลอดเวลาเมื่อเทียบกับร้อยละ 65-75 ของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล
ข้อเสีย
หากพิจารณาในแง่สิ่งแวดล้อมแล้วก็อาจจะมีผลกระทบได้เช่นเดียวกับการใช้พลังงานชนิดอื่น
ๆ เช่น ถ้าน้ำจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมีปริมาณแร่ธาตุอยู่ในระดับสูง
เมื่อนำน้ำมาใช้แล้วระบายลงในแหล่งน้ำธรรมชาติตามผิวดินอาจเกิดผลกระทบต่อน้ำผิวดินที่ใช้ประโยชน์ในด้านอุปโภค
บริโภค และน้ำในระบบบาดาลได้
ความหมายของพลังงาน
ประเภทของพลังงาน
ความสำคัญของพลังงานต่อสิ่งมีชีวิต
พลังงานจากซากดึกดำบรรพ์ (Fossil Fuel)
ปิโตรเลียม (Petroleum)
ก๊าซธรรมชาติ
ถ่านหิน
หินน้ำมัน (Oil Shale)
แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)
พลังงานหมุนเวียน
พลังงานน้ำ
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานแสงอาทิตย์
มวลชีวภาพหรือชีวมวล (Biomass)
พลังงานลม
พลังงานไฟฟ้า
พลังงานนิวเคลียร์
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
เครื่องใช้ไฟฟ้า
การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงจากการใช้จักรยานยนต์
การอนุรักษ์พลังงาน
นโยบายพลังงาน