วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ระบบประสาทโซมาติก
(Somatic nervous system หรือ SNS)
ระบบประสาทโซมาติก เป็นการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายโดยเริ่มจากหน่วยรับความรู้สึก รับกระแสประสาทเข้าสู่เส้นประสาทไขสันหลังแล้วส่งต่อไปยังสมอง หรือกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกส่งเข้าสมองโดยตรง จากนั้นสมองจะส่งกระแสประสาทนำคำสั่งออกมาทางเส้นประสาทสมอง หรือเส้นประสาทไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลาย หรือกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูก ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในอำนาจจิตใจ (Voluntary) เช่น บังคับให้เดิน นั่ง ยืน คือเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวหรือทรงตัวซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของสมองส่วนเซรีบรัม หรืออาจเขียนแผนผังการทำงานได้ดังนี้
ดังนั้น ระบบประสาทโซมาติก
จึงนำกระแสประสาทจากสมองหรือไขสันหลังออกไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งได้แก่
กล้ามเนื้อลายเป็นส่วนใหญ่ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
การทำงานของระบบประสาทโซมาติกมักอยู่ในอำนาจจิตใจ
แต่ก็มีการตอบสนองของกล้ามเนื้อลายที่เป็นกิริยารีเฟลกซ์ (reflex)
คือการทำงานนั้นอยู่นอกอำนาจจิตใจ โดยไม่ต้องผ่านสมอง
เพียงแต่นำส่งกระแสประสาทจากอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ผ่านเข้าไขสันหลัง
และไขสันหลังส่งกระแสประสาทนำคำสั่งออกไปยังอวัยวะหรือกล้ามเนื้อ ตัวอย่างเช่น
เมื่อถูกเคาะที่หัวเข่าเบา ๆ แล้วขาจะกระตุก กิริยานี้เรียกว่า
กิริยารีเฟล็กซ์ที่หัวเข่า (knee jerk)
การกระตุกขาเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อขา ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลาย
เป็นการตอบสนองสิ่งเร้าในเวลาสั้นๆ โดยไม่ผ่านสมอง กิริยาดังกล่าวเรียกว่า
รีเฟล็กซ์แอกขัน (reflex action) ตัวอย่างของกิริยารีเฟล็กซ์มีอีกหลายประการ
กิริยารีเฟล็กซ์บางชนิดเป็นวงจรรีเฟล็กซ์ที่อาศัยเซลล์ประสาทเพียง
2 เซลล์ คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก และเซลล์ประสาทนำคำสั่ง
หรือสรุปเป็นแผนผังดังนี้
รูปแสดงรีเฟล็กซ์แอกชันที่หัวเข่า (knee jerk)
เป็นวงจรรีเฟล็กซ์ที่อาศัยเซลล์ประสาท เพียง 2 เซลล์ คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก
รับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึก เข้าสู่รากบนของไขสันหลัง
ซึ่งมีตัวเซลล์อยู่ที่นี่ และส่งความรู้สึกไปตามแอกซอนเข้าสู่ไข
สันหลังไปไซแนปส์กับตัวเซลล์ของเซลล์ประสาทนำคำสั่งในไขสันหลัง และส่งคำสั่ง
ออกมากับแอกซอนทางรากล่างไปยังหน่วยปฏิบัติงานคือกล้ามเนื้อลาย
รูป กิริยารีเฟล็กซ์ที่อาศัยเซลล์ประสาท 3 เซลล์
กิริยารีเฟล็กซ์ หรือรีเฟล็กซ์แอกชัน ที่อาศัยเซลล์ประสาท 3
เซลล์เพื่อให้เกิดวงจรีเฟล็กซ์อาร์ก (reflex are)
เริ่มต้นด้วยเซลล์ประสาทรับความรู้สึกนำกระแสประสาทเข้าสู่ไขสันหลังไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทประสานงาน
(interneuron) และส่งคำสั่งออกทางเซลล์ประสาทนำคำสั่ง มายังหน่วยปฏิบัติงาน
รีเฟล็กซ์แอกชัน เกิดจากการทำงานร่วมกันของเซลล์ประสาท 2 ชนิด ได้แก่
เซลล์ประสาทรับความรู้สึก และเซลล์ประสาทนำคำสั่ง
รีเฟล็กซ์แอกชันบางอันมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
เช่นกิริยารีเฟล็กซ์เมื่อเดินไปเหยียบก้นบุหรี่ หรือเตะก้อนหิน
กิริยารีเฟล็กซ์เมื่อเดินไปเตะก้อนหิน
โดยจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองสองประการ ประการแรกมีการชักขากลับ
ประการที่สองดึงเท้าขึ้นมาแล้วเอามือคลำบริเวณที่เตะก้อนหินพร้อมกับรู้สึกเจ็บ
สามารถอธิบายกิริยาทั้งสองตอนได้ คือ กิริยาแรกเมื่อเดินไปเตะก้อนหิน
กระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกที่ปลายนิ้วเท้าส่งความรู้สึกไปยังไขสันหลัง
โดยผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึกผ่านเข้าเซลล์ประสาทประสานงานที่ไขสันหลังแล้ว
ไขสันหลังจะส่งกระแสประสาทนำคำสั่งไปตามใยประสาทนำคำสั่ง
ส่งมายังกล้ามเนื้อที่ขาให้หดตัวทำการชักขากลับ ซึ่งเป็นรีเฟล็กซ์แอกชัน
กระแสประสาทส่งความรู้สึกอีกส่วนหนึ่งจะส่งจากไขสันหลังไปยังสมอง
สมองจะแปลกระแสประสาทเป็นความรู้สึกเจ็บ
พร้อมกันนั้นสมองจะส่งกระแสประสาทนำคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อแขนและขา
ทำให้เกิดการยกขาขึ้น พร้อมกับใช้มือคลำ
ซึ่งกิริยาชุดหลังนี้ไม่เป็นกิริยารีเฟล็กซ์
รูป กิริยารีเฟล็กซ์ เมื่อเดินไปเตะก้อนหิน
รีเฟล็กซ์แอกชันเมื่อเดินไปเหยียบก้นบุหรี่
โดยหน่วยรับความรู้สึกที่เท้า
จะส่งกระแสประสาทเข้าเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและส่งเข้าไขสันหลังผ่านไปเซลล์ประสาทประสานงานที่ไขสันหลัง
และส่งออกยังเซลล์ประสาทนำคำสั่ง ทำให้กระตุกขาหนี
ขณะเดียวกันก็ส่งกระแสประสาทไปยังสมองทำให้รู้สึกร้อน
สมองส่งกระแสประสาทนำคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อ ให้ยกมือคลำเท้าที่รู้สึกร้อน
กิริยที่เกิดภายหลังนี้ไม่เป็นกิริยารีเฟล็กซ์
รูปแผนภาพแสดงรีเฟล็กซ์เมื่อเหยียบก้นบุหรี่
การทำงานของระบบประสาทชนิดกิริยารีเฟล็กซ์นี้
เป็นวงจรของระบบประสาทที่เรียกว่า รีเฟล็กซ์อาร์ก (reflex arc)
รีเฟล็กซ์อาร์กบางชนิดอาจมีเซลล์ประสาทเพียง 2 ชนิดทำงาน เช่น
การกระตุกของขาเมื่อถูกเคาะที่หัวเข่า
มีเพียงเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจากหัวเข่าส่งเข้าไปยังไขสันหลัง
และเซลล์ประสาทนำคำสั่งจากไขสันหลังส่งไปยังกล้ามเนื้อที่ขาเท่านั้น
กิริยารีเฟล็กซ์บางชนิดมีหน่วยปฏิบัติงานเป็นต่อมต่าง ๆ เช่น
ต่อมน้ำลาย หรือกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายใน เช่น เมื่อได้กลิ่นอาหารในขณะหิว
ต่อมน้ำลายจะหลั่งน้ำลายออกมา หรือการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร
การหลั่งน้ำนมของแม่ในขณะที่ถูกทารกดูดนม
นอกจากนั้นยังรวมทั้งการกระพริบตา การไอ การจาม
ล้วนเป็นกิริยารีเฟล็กซ์ทั้งสิ้น กิริยารีเฟล็กซ์นี้
ทำให้เราสามารถหลบพ้นอันตรายอย่างทันต่อเหตุการณ์ เช่น
เมื่อเดินผ่านงูไปเราจะกระโดดหนี
ระบบประสาทโซมาติก (Somatic nervous system หรือ SNS)
ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system)
การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ