ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
อภิปรัชญา
อภิปรัชญาของเชนมีลักษณะเป็น พหุสัจนิยม หรือสัมพุทธสัจนิยม
ซึ่งมีทฤษฎีที่สำคัญเรียกว่า “อเนกันตวาท” ตามหลักอภิปรัชญา เชน เรียกวัตถุว่า
ปุทคละ และวิญาณว่า ชีวะ เชนกล่าวว่า
สิ่งแท้จริงทั้งที่เป็นวัตถุและชีวะมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน
แต่ละสิ่งของสิ่งแท้จริงนี้มีคุณลักษณะเป็นของตนเอง
สิ่งทั้งหลายต่างเป็นจริงโดยสภาพของมันเอง วัตถุ
ประกอบขึ้นด้วยปรมมาณูจำนวนมากนับไม่ถ้วน วิญาณหรือชีวะก็มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน
ชีวะได้แก่ วิญาณ มิได้รวมถึงร่างกาย
แม้ว่าร่างกายเป็นที่สิงสถิตย์อยู่ของวิญาณก็ตาม ชีวะมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน
มีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วสากลจักรวาล
มีทั้งสิงสถิตย์อยู่ในร่างกายและล่องลอยอยู่โดยปราศจากร่างกาย
ปรัชญาเชน กล่าวว่า คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของชีวะทั้งหมดนี้คือ สัมปชัญญะ
ชีวะทุกชนิดทุกระดับมีสัมปชัญญะ
แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอนูกรรมที่ห่อหุ้มชีวะอยู่ ถ้าอนูกรรมห่อหุ่มชีวะมาก
ชีวะก็แสดงสัมปชัญญะออกมาได้น้อย เพราะมีสิ่งขัดขวางมาก
และถ้าอนูกรรมห่อหุ่มชีวะน้อย ชีวะก็แสดงสัมปชัญญะออกมามาก เพราะมีสิ่งขัดขวางมาก
โดยดั่งเดิมชีวะมีคุณสมบัติหรือมีคุณลักษณะเหมือนกันหมด มรศรัทธา ความรู้ ความสุข
ความเพียรเป็นอนันต์ แต่สิ่งที่ทำให้ชีวะแตกต่งกันก็เพราะ พัทธชีวะ
ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฎสงสาร เชน ถือว่าชีวะเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้
ไม่แตกดับไม่เปลี่ยนแปลง
แต่การที่ชีวะต้องมาติดข้องเวียนว่ายตายเกิดในสภาพของชีวิตที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง
เพราะผลของกรรมเก่าที่ทำไว้ จุดมุ่งหมายของเชนคือทำลายกรรมเก่าให้หมดสิ้นไป
และไม่ทำกรรมใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อทำได้สำเร็จ ชีวะก็ได้ชื่อว่า
“เปลื่องตนพ้นจากพันธนาการทั้งปวง”
อชีวะ ในความหมายของเชน ได้แก่สิ่งที่ไม่มีชีวิตและปราศจากสัมปชัญญะ
ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. วัตถุ (ปุทคละ) หมายถึงสิ่งที่มีรูปร่าง มองเห็นได้ และสัมผัสจับต้องได้
วัตถุ (ปุทคละ) มีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ประการคือ สัมผัสได้ มีสี มีกสิ่น และมีรส
2. ที่ว่าง (อากาศะ) อากาศหรือที่ว่างนี้เป็นสสารชนิดหนึ่ง
ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ และไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- โลกากาศ คือ ที่ว่างที่มีอยู่ใในโลก
- อโลกากาศ คือ ที่ว่างที่อยู่นอกโลกออกไปไม่มีที่สิ้นสุด
3. เวลา (กาละ) เป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
4. การเคลื่อนไหว (ธรรมะ)
5. การหยุดนิ่ง (อธรรมะ)
โมกษะ เชนกล่าวว่า กิเลส
ตัณหาเกิดขึ้นมาได้เพราะอวิชชา
คือความไม่รู้แจ้งในธรรมมชาติอันแท้จริงของงชีวะและธรรมชาติของสิ่งอื่น ๆ
บุคคลผู้ที่จะทำลายอวิชชาและบรรลุโมกษะได้นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ
คือ
- สัมมาทัสสนะ คือมีศรัทธาที่ถูกต้องเชื่อมั่นในคำสอนของตีรัตถังกร ซึ่งเป็นศาสดาผู้เข้าถึงความหลุดพ้นแล้ว
- สัมมาญญาญะ คือมีความรู้เกี่ยวกับความจริงตามหลลักคำสอนของศาสดา ของศาสนาเชน
- สัมมาจริตะ คือ มีความประพฤติชอบ ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาเชน
การแบ่งยุคของปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาอินเดียสายอาสติก
ปรัชญาอินเดียยุคพระเวท
ปรัชญาอุปนิษัท
ปรัชญาภควัทคีตา
ปรัชญาอินเดียยุคระบบทั้ง 6
ปรัชญานยายะ
ปรัชญาไวเศษิกะ
ปรัชญาสางขยะ
ปรัชญาโยคะ
ปรัชญามีมามสา
ปรัชญาเวทานยะ
อทไวตะ เวทานตะ
ปรัชญาวิศิษทไวตะ เวทานตะ
พระเจ้าหรือพรหมัน
โมกษะ
ปรัชญาทไวตะ เวทานตะ
ปรัชญาอินเดียสายนาสติกะ
ปรัชญาเชน
ญาณวิทยา
อภิปรัชญา
จริยศาสตร์
ปฏิจจสมุปบาท
โมกษะหรือนิพพาน
นิกายทางพุทธศาสนา