ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
แนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่
Postmodern theory
Foucault and the Critique of
Modernity
ฟูโกและการวิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่
"มันมีความจำเป็นไหมที่จะลากเส้นขึ้นมาเส้นหนึ่งระหว่าง คนเหล่านั้นที่เชื่อว่า
เราสามารถที่จะวางความไม่ต่อเนื่องต่างๆ(discontinuities)ในปัจจุบันของเราต่อไปในขนบจารีตประวัติศาสตร์
และขนบจารีตที่เหนือธรรมดาของคริสตศตวรรษที่สิบเก้า กับ
คนเหล่านั้นที่กำลังสร้างความพยายามที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่งเพื่อปลดปล่อยตัวของพวกเขาเองให้เป็นอิสระ,
และในท้ายสุด จากกรอบโครงสร้างแนวคิดอันนี้ มันจำเป็นไหม ?"(Foucault 1977: p.120)
"อะไรที่กำลังเป็นไปในช่วงนี้ ? อะไรที่กำลังเกิดขึ้นกับพวกเรา ?
อะไรคือโลกนี้, ยุคนี้, ช่วงขณะที่แท้จริงตอนนี้ซึ่งเรากำลังมีชีวิตอยู่
?"(Foucault 1982a p.216)
"ความประทับใจเกี่ยวกับความสำเร็จและเกี่ยวกับขั้นตอนสุดท้าย
ความรู้สึกที่ถูกห่อหุ้มไว้ ซึ่งนำพาและขับเคลื่อนความคิดของเรา
และบางทีกล่อมให้เราหลับไหลด้วยพลังความสามารถของคำมั่นสัญญาของมัน...
และทำให้เราเชื่อว่าบางสิ่งบางอย่างใหม่ๆจวนเจียนจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว
บางสิ่งที่เราเหลือบแลเห็นซึ่งเป็นเพียงเส้นบางๆของแสงสว่างที่ปลายขอบฟ้า -
ความรู้สึกและความประทับใจอันนั้น บางที
จะถูกสร้างขึ้นมาด้วยความไม่ยากเย็นเกินไปนัก" (Foucault 1973b: p.384)
การวิจารณ์ของฟูโกเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่และลัทธิมนุษยนิยม
พร้อมกับคำประกาศของเขาเกี่ยวกับความตายของมนุษย์และการพัฒนามุมมองหรือทัศนียภาพใหม่ๆในทางสังคม,
ความรู้, วาทกรรม, และอำนาจ
ได้ทำให้เขากลายเป็นทรัพยากรหลักของความคิดโพสท์โมเดิร์นคนหนึ่ง
ฟูโกแสดงการต่อต้านต่อขนบจารีตของยุคสว่าง(anti-Enlightenment)
โดยปฏิเสธเรื่องของเหตุผล, การปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระ, และความก้าวหน้า,
โดยถกถึงการเผชิญหน้ากันระหว่างรูปแบบสมัยใหม่ต่างๆของอำนาจและความรู้
ที่ได้มารับใช้ ตกแต่ง และสรรค์สร้างรูปแบบใหม่ๆของการครอบงำขึ้นมา.
ในชุดของการศึกษาที่เรียกว่า historico-philosophical studies
(การศึกษาทางด้านปรัชญาประวัติศาสตร์)
เขาได้พยายามที่จะพัฒนาและพิสูจน์ถึงแนวเรื่องอันนี้จากหลายหลากมุมมอง:
ทั้งจากจิตเวชศาสตร์, การแพทย์, การลงโทษ, และอาชญวิทยา,
การปรากฎตัวขึ้นมาของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มนุษย์ต่างๆ(human sciences),
การก่อตัวขึ้นมาของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รักษาระเบียบวินัย(disciplinary)อย่างหลากหลาย,
และการสร้างตัวขึ้นมาของอัตบุคคล(subject).
โครงการของฟูโกต้องการที่จะเขียนงานวิจารณ์เกี่ยวกับยุคประวัติศาสตร์ของเรา(1984:
p.42) ซึ่งพิจารณาในฐานะที่เป็นปัญหารูปแบบสมัยใหม่ของความรู้, ความมีเหตุมีผล,
สถาบันต่างๆทางสังคม, และความเป็นอัตบุคคล ที่ดูเหมือนจะได้มาและเป็นธรรมชาติ.
แต่ในข้อเท็จจริง
สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งสร้างทางสังคมประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้คาดหมายมาก่อนของอำนาจและการครอบงำ(contingent
sociohistorical constructs of power and domination)
ในขณะที่ฟูโกมีอิทธิพลต่อทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นอย่างเข้มแข็ง
แต่เขาก็ไม่สามารถที่จะย่อยซึมเรื่องราวทั้งหมดสู่กฎเกณฑ์นั้นได้
เขาเป็นนักคิดที่สลับซับซ้อนและกว้างขวางทางด้านข้อมูล
ซึ่งได้ดึงความรู้จากทรัพยากรหลายๆแหล่งมาใช้และยากต่อการทำความเข้าใจ ขณะเดียวกัน
ตัวเขาเองก็ไม่สามารถที่จะทำให้มันมาอยู่บนระนาบของเส้นแนวเดียวกันได้
ถ้าหากว่านั่นเป็นภาพที่พิเศษในงานของเขา, คนเหล่านั้นที่เขาอ้างถึง
อย่างเช่น Nietzsche และ Bataille
ก็เป็นนักวิจารณ์เกี่ยวกับเหตุผลและความคิดตะวันตกเช่นกัน. Nietzsche
ได้ตระเตรียมให้ Foucault
และเกือบจะเหมือนๆกันกับบรรดานักคิดหลังโครงสร้างนิยมฝรั่งเศสทั้งหลาย(French
poststructuralists) ด้วยการผลักดันและให้ไอเดียต่างๆของคนเหล่านี้
หลุดพ้นไปจากปรัชญา Hegelian และ Marxist.
นอกจากนี้ยังได้น้อมนำไปสู่แบบหรือวิธีคิดของ
postmetaphysical(หลังอภิปรัชญา) และ poshumanist(หลังมนุษยนิยม), Nietzsche สอน
Foucault ว่า เราสามารถที่จะเขียนประวัติศาสตร์วงศ์วานวิทยา(genealogical' history)
เกี่ยวกับหัวข้อต่างๆที่ไม่ได้เป็นไปตามขนบประเพณีได้ อย่างเช่น เรื่องของ"เหตุผล",
"ความบ้า" และ"อัตบุคคล"
ซึ่งค้นหาสมุฏฐานการปรากฏตัวขึ้นมาของสิงเหล่านี้ได้ภายในที่ต่างๆที่มีการครอบงำ
Nietzsche แสดงให้เห็นว่า
เจตจำนงต่อความจริงและความรู้เป็นสิ่งที่ไม่อาจตัดความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากเจตจำนงต่ออำนาจได้(the
will to truth and knowledge is indissociable from the will to power),
และฟูโกได้พัฒนาข้ออ้างเหล่านี้ในงานวิจารณ์ของเขาต่อลัทธิมนุษยนิยมแบบ liberal
humanism, วิทยาศาสตร์มนุษย์(human sciences),
และในงานชิ้นหลังของเขาทางด้านจริยศาสตร์. ขณะเดียวกัน Foucault
ไม่เคยเขียนงานของตนในลักษณะคติพจน์ในสไตล์เดียวกันกับ Nietzsche เลย
เขายอมรับคำอ้างต่างๆของ Nietzsche
ว่าระเบียบวิธีที่ทำให้เป็นระบบได้ทำให้งานวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์และสังคมลดทอนลงไป
และความรู้นั้นมีลักษณะเป็นมุมมองหรือทัศนียภาพในธรรมชาติแบบภาพกว้าง
ซึ่งต้องการแง่คิดหรือข้อสังเกตที่หลายหลากเพื่อตีความ"ความจริงที่ไม่ลงรอยเป็นเนื้อเดียวกัน"(heterogeneous
reality)เหล่านี้
Foucault ยังได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจาก Bataille ด้วย
ซึ่งได้โจมตีเหตุผลของยุคสว่าง(Enlightenment reason)อย่างรุนแรง
และหลักการเกี่ยวกับความจริงของวัฒนธรรมตะวันตก. Bataille (1985, 1988,
1989)ให้การสนับสนุนขอบเขตปริมณฑลของความแตกต่างไม่เป็นเนื้อเดียวกัน(heterogeneity),
พลังอำนาจที่ปะทุขึ้นและความปลื้มปิติอย่างเหลือล้นของความร้อนรนทางศาสนา,
ความเป็นเรื่องของทางโลก(secularity), และประสบการณ์มึนเมา(intoxicated
experience)ที่ล้มล้างและละเมิดต่อเครื่องมือของเหตุผล
และความเป็นปกติวิสัยของวัฒนธรรมชนชั้นกลาง
การต่อต้านทัศนะของนักเหตุผลนิยมทางด้านเศรษฐกิจการเมืองและปรัชญา,
Bataille
แสวงหาสิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไปจากการผลิตและความต้องการที่ถือเรื่องประโยชน์เป็นสำคัญ,
ขณะเดียวกันก็ให้การยกย่องเศรษฐกิจทั่วไปอันหนึ่งเกี่ยวกับการบริโภค,
ความสิ้นเปลือง-เปล่าประโยชน์, และการใช้จ่ายในฐานะที่เป็นนักปลดปล่อย(liberator).
ลักษณะอันเร่าร้อนของ Bataille ผูกติดอยู่กับปรัชญาอัตบุคคลที่มีอำนาจปกครองตนเอง
และการอ้าแขนของเขาไปโอบรัดประสบการณ์ต่างๆที่มีลักษณะฝ่าฝืนหรือละเมิด
อันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ Foucault และบรรดานักทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นคนอื่นๆ
โดยตลอดงานเขียนต่างๆของเขา, Foucault
ได้ให้เหตุผลหรือแสดงให้เห็นคุณค่าในคนต่างๆ อย่างเช่น Holderlin, Artaud,
และคนอื่นๆสำหรับการล้มล้างการครอบงำหรือความเป็นผู้นำของเหตุผลสมัยใหม่และบรรทัดฐานตางๆของมัน
บ่อยครั้ง เขายังร่วมรู้สึกและเอาใจใส่ในเรื่องของความบ้า, อาชญากรรม, สุนทรียภาพ,
และลักษณะชายขอบทุกๆชนิด
การทำความรู้จักกับปัญหาต่างๆกับป้ายฉลากที่ติดมากับผลงานของ Foucault,
เราปรารถนาที่จะสำรวจถึงขอบเขตที่เขาได้พัฒนาฐานะสภาพที่แท้จริงของโพสท์โมเดิร์น.
พวกเราจะไม่อ่านงานของ Foucault ในฐานะโพสท์โมเดิร์นนิสท์ที่ง่ายๆสั้นๆ,
แต่อ่านงานของเขาในฐานะที่เป็นนักทฤษฎีคนหนึ่ง
ผู้ซึ่งได้รวบรวมเอามุมมองและทัศนียภาพของ premodern, modern, และ postmodern
มาไว้ด้วยกัน.
เรามองว่า Foucault เป็นนักคิดที่ขัดแย้งคนหนึ่งอย่างลึกซึ้ง
ความคิดของเขาได้ถูกฉีกทึ้งระหว่างความตรงข้ามกัน อย่างเช่น แรงกระตุ้นในลักษณะ
totalizing / detotalizing และความตึงเครียดระหว่าง การทำให้เป็นทฤษฎีขึ้นมาของ
discursive / extra-discursive, macro / microperspective, และ หลักวิภาษวิธีของ
domination / resistance
Foucault
and the Critique of Modernity
ฟูโกและการวิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่
Deleuze and Guattari:
Schizos, Nomads, Rhizomes
Baudrillard
en route to Postmodernity
Baudrillard
ในเส้นทางสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่
Lyotard
and Postmodern Gaming
Lyotard
และการเล่นเกมโพสท์โมเดิร์น