ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
แนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่
Postmodern theory
Lyotard and Postmodern Gaming
Lyotard และการเล่นเกมโพสท์โมเดิร์น
ในหลายวงการ Lyotard
ได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นนักทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นในระดับสุดยอด(par excellence)
ในหนังสือของเขาเรื่อง The Postmodern Condition (1984; orig. 1979)
ได้แนะนำถึงศัพท์คำนี้ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง
และได้ถูกนำไปสนทนากันทั่วไปในการถกกันเกี่ยวกับหัวข้อโพสท์โมเดิร์นในช่วงทศวรรษหลังมานี้.
ระหว่างวันเวลาดังกล่าว Lyotard ได้ตีพิมพ์งานหนังสือขึ้นมาชุดหนึ่ง
ซึ่งให้การส่งเสริมฐานะสภาพต่างๆของโพสท์โมเดิร์นในทางทฤษฎี, จริยศาสตร์,
รัฐศาสตร์, และสุนทรียศาสตร์.
เกือบยิ่งไปกว่าทุกๆคน Lyotard
ได้สนับสนุนการแตกหักจากทฤษฎีและวิธีการของสมัยใหม่,
ขณะเดียวกันก็เป็นทางเลือกโพสท์โมเดิร์นที่ได้รับความนิยมชมชอบและแพร่หลายมาก.
ผลลัพธ์ที่ตามมา
ผลงานของเขาได้จุดประกายให้เกิดการโต้เถียงกันอย่างเข้มข้นขึ้นมาชุดหนึ่ง
ซึ่งผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ในหนังสือ Postmodern Theory ที่มีการพูดถึงอย่างละเอียด
พ้นไปจากข้อพิจารณาอื่นๆทั้งหมด Lyotard
ได้ปรากฎตัวขึ้นมาในฐานะผู้ให้การสนับสนุนเด่นสุดเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างและความเป็นพหุนิยมในอาณาจักรและวาทกรรมต่างๆทางทฤษฎี
ขณะเดียวกันก็โจมตีทฤษฎีรวบยอดแบบเบ็ดเสร็จทั้งหมดและทฤษฎีต่างๆของความเป็นสากลอย่างมีพลัง
ในหนังสือเรื่อง The Postmodern Condition, Just Gaming (1985; orig.
1979), The Difference (1988; orig. 1983)
และหนังสือในชุดอื่นๆและบทความต่างๆซึ่งได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่
1980s เขาได้เรียกร้องความสนใจในความแตกต่าง
ท่ามกลางพหุนิยมของกฎเกณฑ์อันเคร่งครัดเกี่ยวกับถ้อยคำหรือวลีทั้งหลาย
ซึ่งมีกฎระเบียบ, บรรทัดฐาน และวิธีการต่างๆของตัวมันเอง
การเน้นเรื่องเกี่ยวกับความไม่เป็นเนื้อเดียวกัน(ความแตกต่าง)ของวาทกรรมทั้งหลาย,
Lyotard ได้ดำเนินรอยตาม Kant โดยให้เหตุผลว่า
อาณาจักรต่างๆเหล่านั้นในฐานะที่เป็นการวินิจฉัยทางทฤษฎี, ภาคปฏิบัติ,
และการตัดสินทางด้านสุนทรียภาพ มันมีความเป็นอิสระในตัวของพวกมันเอง มีกฎเกณฑ์ต่างๆ
และบรรทัดฐานของมัน. ในหนทางนี้ เขาปฏิเสธความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสากลนิยม
และรากฐานนิยม เช่นเดียวกับข้ออ้างต่างๆที่ว่าวิธีการอันหนึ่ง
หรือแนวความคิดชุดหนึ่งมีสถานภาพที่พิเศษในปริมณฑลต่างๆที่แตกต่างกันไป เช่น
ปรัชญา, ทฤษฎีสังคม, หรือสุนทรียศาสตร์.
ในการถกเถียงกับสิ่งที่เขาเรียกว่าทฤษฎีก่อการร้ายและทฤษฎีรวบอำนาจ, Lyotard
สนับสนุนลักษณะพหุนิยมของวาทกรรมและฐานะสภาพต่างๆที่ค้านต่อทฤษฎีหนึ่งเดียวอย่างเด็ดเดี่ยว
ฐานะตำแหน่งอันมากมายของ Lyotard
คือสิ่งที่สำคัญเบื้องต้นสำหรับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นร่วมสมัย
และการศึกษาเกี่ยวกับไอเดียหรือความคิดเหล่านั้นของเขา
จะพบว่ามันเป็นแกนหลักที่สำคัญที่สุดต่อการโต้เถียงกันในปัจจุบัน.
นับแต่อาชีพการงานของเขาได้ดำเนินไปเป็นเวลายาวนานเกือบสี่ทศวรรษเกี่ยวกับกิจกรรมในทางทฤษฎีที่หลากหลาย
จำเป็นอย่างยิ่งที่การโฟกัสของเราจะต้องเลือกสรร
และต้องละเลยทฤษฎียุ่งยากบางอย่างแต่น่าสนใจของเขาจำนวนมากไป
รวมถึงเรื่องของสุนทรียศาสตร์ และรัฐศาสตร์.
ขณะเดียวกันเราจะชี้ประเด็นไปที่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในงานต่างๆของ
Lyotard จากจุดยืนเกี่ยวกับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น
ซึ่งเป็นความต่อเนื่องอันหนึ่งด้วยเกี่ยวกับพัฒนาการของเขา. สำหรับทุกๆช่วงตอน,
Lyotard ได้โจมตีวาทกรรมและทฤษฎีต่างๆของสมัยใหม่อย่างแหลมคม
ขณะเดียวกันก็พยายามที่จะพัฒนาวาทกรรมใหม่ๆ ยุทธวิธีการเขียน การเมืองชนิดต่างๆ
และทัศนียภาพแบบภาพกว้างทั้งหลายขึ้นมา
Foucault
and the Critique of Modernity
ฟูโกและการวิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่
Deleuze and Guattari:
Schizos, Nomads, Rhizomes
Baudrillard
en route to Postmodernity
Baudrillard
ในเส้นทางสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่
Lyotard and Postmodern
Gaming
Lyotard และการเล่นเกมโพสท์โมเดิร์น