ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

สวนสุนันทา

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯกลับจากการประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450 ทรงตั้งพระทัยที่จะสวนป่า เนื่องจากทรงเห็นว่า พระราชวังของเจ้านายราชวงศ์ในยุโรปมีสวนเที่ยวเล่น โดยโปรดเกล้าฯให้ขยายเขตพระราชวังสวนดุสิตไปทางด้านหลัง จัดทำเป็นสวนประจำพระราชวังเพื่อประทับพักผ่อน และพระราชทานนามว่า สวนสุนันทา ใน พ.ศ. 2451 หลังจากเสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ก็ได้ทรงจัดวางแบบการสร้างสวนสุนันทา ที่ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นสวนป่าทันที ทรงให้ทำประตูจากถนนบ๋วยในพระราชวังดุสิตไปสู่สวนสุนันทา เรียกว่าประตูสี่แซ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า ประตูสุนันทาทวาร

เขตพระราชฐานสวนสุนันทานี้ ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นที่สงบเหมาะสำหรับออกไปประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ นอกจากนี้ ทรงสร้างไว้เพื่อในวันหนึ่งข้างหน้า ถ้าสิ้นรัชสมัยของพระองค์แล้ว บรรดาเจ้าจอมที่มีพระราชธิดาและบรรดาเจ้าจอมจะลำบาก นับว่าเป็นการเสียพระเกียรติยศด้วย



การดำเนินงานจัดสร้างสวนสุนันทาในครั้งนั้น คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงนครบาลเป็นผู้รับพระราชกระแสดำเนินการ

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่อีก 2 ปีต่อมา คือ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต การก่อสร้างต่างๆจึงยังไม่เสร็จสมบูรณ์ตามที่ทรงมีพระราชประสงค์ กิจการต่างๆ จึงถูกระงับไว้ชั่วคราว พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงรับเป็นพระราชธุระให้มีการดำเนินการก่อสร้างต่อมา โดยมีเจ้าพระยายมราชเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างตำหนัก ในพ.ศ. 2454 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างสวนสุนันทาและพระตำหนักต่างๆในสวนสุนันทา รวม 32 ตำหนัก สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้กระทำการสำเร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2462 และในปี 2465 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างท้องพระโรงขึ้นในบริเวณสวนสุนันทา และได้กระทำการเสร็จใน พ.ศ. 2466

ที่มาของชื่อ สวนสุนันทา
การเสด็จเข้ามาประทับของเจ้านายฝ่ายใน
ลักษณะของสวนสุนันทา
พัฒนาการสู่สถานศึกษา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย