ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ทฤษฎีวิวัฒนการโลกตามหลักพุทธศาสนา

เปรียบเทียบระหว่างศาสนา

พุทธศาสนากล่าวถึงกำเนิดของสรรพสิ่งว่า สิ่งทั้งหลาย “สภาวธรรม” คือ สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นไปเอง เป็นอยู่เองโดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดมาทำให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่มันเป็นไปเองอย่างนั้น โดยอาศัยอำนาจของเหตุปัจจัยในตัวมันเอง ว่าโดยสภาวธรรมแล้วมี 2 ประการ คือ

1.ธรรมชาติ คือตัววัตถุที่มีอยู่เอง อันเป็นส่วนประกอบที่เกิดจากลักษณะ 4 อย่าง เป็นอย่างน้อย เรียกว่า ธาตุ ได้แก่

ธาตุดิน คือ สิ่งที่มีลักษณะแค่นแข็ง
ธาตุน้ำ คือ สิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบ
ธาตุลม คือ สิ่งที่มีลักษณะพัดไปมา
ธาตุไฟ คือ สิ่งที่มีลักษณะร้อน
ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธรรมธาตุ” เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในโลกเป็นภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมชาติ

2.ธรรมนิยาม เป็นกฏธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ตามหลักเหตุผลของปัจจัยทั้งหลายอันเป็นส่วนประกอบของสังขาร กฏธรรมชาติมีหลักว่า เมื่อธาตุหรือธรรมธาตุเหล่านี้ผสมหรือสงเคราะห์เข้ากัน ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก็จะเกิดปรากฏการ คือแสดงตัวออกมาให้เห็นแตกต่างไปจากธาตุเดิมของมัน ที่เราเรียกโดยสมมติว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ เช่น ธาตุดินผสมธาตุน้ำ ก็จะมีลักษณะเป็นโคลนตม ธาตุไฟผสมกับธาตุน้ำในอัตราส่วนที่ไฟมากกว่าน้ำ น้ำก็จะกลายเป็นไอระเหยไปในอากาศ แล้วเย็นลงอีก จึงจับตัวเป็นก้อนเมฆ ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า ธรรมนิยามหรือกฏธรรมชาติหรือกำหนดแห่งธรรมดาไม่เกี่ยวักบผู้สร้างผู้บันดาลเลย พุทธศาสนาเป็น (อเทวนิยม) ไม่เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้บันดาลในทุก ๆ สรรพสิ่งตามหลักความเชื่อทางศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม.(เทวนิยม).

พุทธศาสนานั้นได้กล่าวถึงมนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ รูปธรรม(กาย) นามธรรม (จิต) ซึ้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสเรื่องขันธ์ 5 อันเกี่ยวกับมนุษย์โดยตรง คือ

1. รูปธรรม คือ กายนั้นได้มาจากพ่อและแม่ ในอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวว่า วิญญาณเข้ามาปฏิสนธิในครรภ์มรรดาโดยมีวิวัฒนาการมาเป็นขั้น ๆ ดังนี้ เมื่อเชื้อของพ่อแม่ผสมกันติดแล้ว ก็เริ่มก่อตัวเป็นต่อมเล็ก ๆ ใส ๆ ดังน้ำมันงาที่ติดอยู่ที่ขนเนื้อทราย (ปฐํม กลํล ) หลังจากนั้นก็ขยายตัวเปลี่ยนสภาพเข้มข้นขึ้นเป็นระยะ ๆ หลังจากนั้นประมาณ 5 สัปดาห์ก็จะงอกเป็นปุ่ม 5 ปุ่ม ซึ่งเติบโตขึ้นเป็นแขนขาและศีรษะ จนมีอวัยวะครบทุกอย่าง จึงคลอดออกมาเป็นทารก เริ่มรับรู้อารมณ์ภายนอกโดยผ่านทางอินทรีย์ทั้ง 6 นี่คือกระบวนการเกิดขึ้นเป๋นโครงสร้างทางกาย.



2. นามธรรม คือ จิตมีปรากฏการณ์ 4 อย่าง ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เมื่อกายรับรู้โลกภายนอก โดยผ่านอายตนะ 6 เรียกว่า วิญญาณ จึงเกิดความรู้สึกอารมณ์ขึ้นแล้ว เกิดการจำได้หมายรู้อารมณ์และปรุงแต่งให้คิดเพื่อจะแสดงพฤติกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง กระบวนการทางจิตนี้ เป็นการทำหน้าที่ของเนื้อเยื่อสมอง (มุทธา) โดยการอ้างหลักฐานตามที่พระอัสสชิเถระกล่าวตอบอุปติสปริพาชกว่า…

“ เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํฺ ตถาคโต (อาห) เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ.”

แปลว่า “สิ่งใดเกิดจากเหตุ พระตถาคตตรัสถึงเหตุของสิ่งเหล่านั้น และตรัสถึงความสิ้นสุดลงแห่งสิ่งเหล่านั้นด้วย ”นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังทรงตรัสถึง กฏแห่งความจริงไว้หลายประการ ในที่นี้จะขอยกขึ้นแสดงไว้พอเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจพอสังเขป คือ

พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึง สิ่งที่เป็นความจริง และประกอบด้วยเหตุผลอย่างแท้จริง เช่น อริยสัจ 4 หลักปฏิจจสมุปบาท กฏแห่งกรรม กฏแห่งไตรลักษณ์ แม้จะมีอยู่หลายประการ แต่ก็เป็นหลักความจริงตามกฏของธรรมชาติ อันมีความเกี่ยวเนื่องกับสัตว์โลกอย่างใกล้ชิดทีเดียว.

ทุกข์เป็นความจริงเพียงประการเดียวของชีวิต โดยทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ตามพุทธพจน์นี้ ชีวิตมีแต่ความทุกข์เท่านั้น ฉะนั้น ตัวมนุษย์เองเป็นผู้สร้างโลกแห่งความทุกข์ให้แก่ตนเอง ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า แต่ละคนจะทุกข์มากน้อยก็แล้วแต่ตัวเองเป็นผู้กระทำ (กรรม) และเป็นไปตามกฏแห่งกรรมเท่านั้น ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เป็นไป

คำสอนทางพุทธศาสนา ได้กล่าวว่า ความทุกข์จะสิ้นสุดลงได้ ต้องดำเนินตามคำแนะนำไว้คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เท่านั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยการบันดาล ตามความพอใจของพระผู้เป็นเจ้า.แม้ในพุทธศาสนา ยังกล่าวต่อไปอีกว่า บุคคลใด ๆ เมื่อสร้างกรรมดี ได้รับความสุขเป็นเครื่องตอบแทน ย่อมไปสวรรค์ และถ้าสร้างกรรมชั่ว ย่อมได้รับความทุกข์ความลำบากแสนสาหัส เป็นเครื่องตอบแทน ย่อมไปสู่นรก พระเจ้าไม่ใช่เป็นผู้กำหนดให้เป็นไป

เปรียบเทียบระหว่างศาสนา
คริสต์ศาสนาสอนอย่างไร
การถูกพระเจ้าลงโทษ
สาระสำคัญของอัคคัญญสูตร
วิวัฒนาการคืออะไร
อัคคัญญสูตร
กำเนิดมนุษย์
เหตุแห่งการดูหมิ่น
ข้าวสารีเกิดขึ้น
เกิดเพศหญิงและเพศชาย
เกิดผู้นำในการปกครอง
เบื้องหน้าแห่งความตาย
กำเนิดโลกและความเสื่อม
อายุของโลก
สรุปเนื้อหาในอัคคัญญสูตร
การไปอุบัติในนรกและสวรรค์
ทฤษฎีวิวัฒนาการ
จักรวัตติสูตร
สาเหตุแห่งความเสื่อมของโลก
เหตุแห่งความเจริญของโลก
ความเจริญของอายุมนุษย์
ภิกษุควรมีธรรมเป็นที่พึ่งอย่างไร
ความเสื่อมของอายุสัตว์
สาระสำคัญ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย