ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ปรัชญาพื้นฐานทางตะวันตกที่สำคัญ
ปรัชญาโทมัสนิยมใหม่กับการศึกษา
ปรัชญาโทมัสนิยมใหม่ มีแนวคิดเกี่ยวกับโลกและจักรวาล ว่าเป็น โลกแห่งเหตุผล
และการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า (The World of Reason, Being/God)
และมีแนวคิดว่าความรู้ที่แท้จริง คือ ความรู้ที่เป็นไปตามหลักเหตุผล
และเป็นการหยั่งรู้ (Truth as reason and intuition) แนวคิดเกี่ยวกับความดี
หรือจริยธรรมของนักปรัชญากลุ่มโทมัสนิยมใหม่ คือ
จริยธรรมเป็นการกระทำอย่างมีเหตุผล แนวคิดเกี่ยวกับความงาม หรือสุนทรียภาพ คือ
สุนทรียะ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการหยั่งรู้เชิงสร้างสรรค์ โดยอาศัยพุทธิปัญญา
นักปรัชญาคนสำคัญ คือ Saint Thomas Aquinas
แนวคิดของนักปรัชญากลุ่มโทมัสนิยมใหม่ ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา
1. แนวคิดเกี่ยวกับโรงเรียน คือ โรงเรียน
เป็นสถานที่ที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า (Being)
เป็นแหล่งที่ให้การฝึกฝนสติปัญญาของผู้เรียนให้เฉียบแหลมอยู่เสมอ
บรรยากาศของโรงเรียนจึงต้องมีลักษณะที่ทำให้ผู้เรียนตื่นตัว รักสัจจะ
และฝึกฝนให้มีสัจจะเพื่อตัวของตัวเอง
2. แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตร แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- โทมัสนิยมฝ่ายสงฆ์ (Ecclesiastical Group) เน้นวิชาที่เกี่ยวข้องกับคริสตศาสนา และบทสวดมนต์ เนื้อหาจากพระคัมภีร์ (Holy Scriptures) บทปุจฉา วิสัชชนา (Catechism) และบทอธิบายคำสอนของศาสนาคริสต์ รวมทั้งห้ามหนังสือทางโลก บางประเภท
- โทมัสนิยมฝ่ายฆราวาส (Lay Group) ไม่จำกัดเสรีภาพทางวิชาการ แต่หลักสูตรก็ยังกำหนดเนื้อหาวิชาที่บังคับให้ต้องเรียนไว้ด้วย เพื่อสร้างความมีระเบียบแบบแผน และความมีระเบียบวินัย เพื่อให้เข้าถึงสัจจะสูงสุด (The Absolute Truths) วิชาที่เน้น ได้แก่ คณิตศาสตร์แขนงต่างๆ ซึ่งนักปรัชญาการศึกษากลุ่มนี้ถือว่าเป็นวิชาที่ช่วยให้มนุษย์เข้าถึงความมีเหตุผลอย่างบริสุทธิ์ (pure reason) และสามารถคิดอย่างมีเหตุผล (rationality) นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับวิชาภาษา โดยให้ภาษาละตินและกรีก มีความสำคัญสูงสุด ส่วนภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาปัจจุบัน มีความสำคัญอันดับรอง เนื่องจากภาษาละตินและกรีกมีหลักเกณฑ์และไวยากรณ์ที่ดีและแน่ชัด วิชาที่สำคัญรองจากภาษา คือ วิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) รองลงมา คือ สังคมศึกษา ส่วนวิชาที่สำคัญน้อยที่สุด คือ วิชาต่างๆ ในสาขามานุษยวิทยา
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่
- เน้นการเสริมสร้างจิตใจและพุทธิปัญญา
- สอนโดยการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด และใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อให้รู้จักใช้เสรีภาพอย่างฉลาด
4. แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษากับการพัฒนาคุณธรรม
- เน้นการใช้เหตุผล
- เน้นหน้าที่ทางศีลธรรม 3 ประการ คือ หน้าที่ต่อตนเอง หน้าที่ต่อเพื่อนมนุษย์ และหน้าที่ต่อพระเจ้า
- จัดลำดับคุณค่าแห่งความดีเป็น 3 ขั้น
(1) ขั้นสูงสุด คือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเจ้า (union with God)
(2) ขั้นกลาง คือ ชีวิตที่มีเหตุผล (The life of reason)
(3) ขั้นธรรมดา คือ ความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนมนุษย์ เพื่อชีวิตที่เป็นสุขตาม หลักของอาริสโตเติลที่ว่า ความสุขเป็นคุณค่าสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตมนุษย์
- ความงามที่มีค่าสูงสุด คือ ความงามอย่างสร้างสรรค์ หรือ ความงามด้วยปัญญา
ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ คือ
(1) ความสมบูรณ์แบบสูงสุด (Integrity)
(2) ความกลมกลืนแห่งสัดส่วน (Proportion of consonance)
(3) ความกระจ่าง สว่างไสว (Radiance)
ปรัชญาจิตนิยมกับการศึกษา
แนวคิดของนักปรัชญากลุ่มจิตนิยมที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา
ปรัชญาสัจนิยมกับการศึกษา
แนวคิดของนักปรัชญากลุ่มสัจนิยมที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา
ปรัชญาโทมัสนิยมใหม่กับการศึกษา
ปรัชญาประสบการณ์นิยมกับการศึกษา
แนวคิดของนักปรัชญากลุ่มประสบการณ์นิยม
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมกับการศึกษา
แนวคิดของนักปรัชญากลุ่มอัตถิภาวนิยม