ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม

ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ (Structural – Functional Theory)
ทฤษฎีการขัดแย้ง (Conflict Theory)
ทฤษฎีปริวรรตนิยม (Exchange Theory)
ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology)
สังคมวิทยากับการศึกษา (Sociology of Education)

ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่

(Structural – Functional Theory)

ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ นิยมนับเป็นทฤษฎีแม่บทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทฤษฎีหนึ่งในบรรดาทฤษฎีแม่บททั้งหลาย ทั้งในแง่ของความเก่าแก่ มีชีวิตยาวนานจากอดีตและในแง่ของความนิยมของสังคมวิทยา ในสหรัฐอเมริกาทฤษฎีนี้ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปี 1940 – 1965 และเสื่อมถอยลงบ้างแต่ยังมีอิทธิพลไม่น้อยจนถึงปัจจุบัน

ตัวแบบสังคม (Model of Society) ทฤษฎีนี้ถือว่าสังคมเหมือนกับสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง (Biological Organism) Herbert Spencer เป็นบิดาทฤษฎีนี้ เขาระมัดระวังในการใช้ตัวแทนแบบนี้ คือ เพียวบอกว่าสังคมมนุษย์เสมือนอินทรีย์อย่างหนึ่ง แต่ศิษย์ของเขา เช่น Paul Von Lilienfield และ Bene Worms เน้นชัดว่าสังคม คือ อินทรีย์อย่างหนึ่ง (an actual living organism) ในปัจจุบันนักสังคมวิทยาเข้าใจว่า ตัวแบบ เป็นเพียงอุปมาเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สังคมเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง (Reality) ซึ่งข้อเปรียบเทียบดังกล่าวทำให้ตั้งเป็นสมมติฐานเกี่ยวกับสังคมได้ 3 ประการ

1. สังคมเป็นระบบๆหนึ่ง
2. ระบบนั้นประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
3. ระบบมีขอบเขตแน่นอน พร้อมทั้งมีกระบวนการรักษาบูรณาการของอาณาเขตนั้นไว้เสมอ

 

ต่อจากนั้นก็ได้มีการขยายต่อเติมความคิดนี้ให้ครอบคลุมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามแต่ความคิดของนักสังคมวิทยาที่นิยมอินทรีย์อุปมานี้ แบบที่สุดโด่งกว่าแบบอื่นในหมู่นักโครงสร้าง – หน้าที่นิยมมองเห็นสังคมมีลักษณะดังนี้

  1. สังคมในฐานะที่เป็นระบบ ที่มีอาณาเขตแน่นอนเป็นสังคมที่วางระเบียบตนเอง ควบคุมตนเอง (Self-regulating) โดยมีแนวโน้มที่ส่วนประกอบต่างๆ พึ่งพาอาศัยกันและรักษาดุลยภาพไว้ได้
  2. ในฐานะที่เป็นระบบที่บำรุงรักษาตนเอง ทำนองเดียวกับอินทรีย์ทั้งหลาย สังคมมีความต้องการจำเป็นจำนวนหนึ่ง (needs or requisites) ซึ่งเมื่อสนองได้แล้ว จะทำให้สังคมดำรงชีวิตอยู่ ส่วนต่างๆสามารถพึ่งพากันได้ (homeostasis) และสามารถรักษาสมดุลยภาพไว้ได้
  3. เมื่อเป็นดังนั้น การวิเคราะห์ระบบที่บำรุงรักษาตนเอง (สังคม) เชิงสังคมวิทยาจึงควร ต้องมุ่งสนองความต้องการ จำเป็นของส่วนประกอบต่างๆของสังคม ซึ่งการทำเช่นนี้จะส่งผลให้เป็นการรักษาความพึ่งพากันและดุลยภาพด้วย
  4. ในระบบที่มีความต้องการ จำเป็นสังคมจึงต้องมีโครงสร้างแบบใดแบบหนึ่งขึ้นมาเป็นหลักประการให้มีการพึ่งพา (homeostasis) ดุลยภาพ (equilibium) และการมีชีวิต (survival) อาจกล่าวได้ว่า โครงสร้างหลายโครงสร้างสามารถสนองความต้องการจำเป็นอันเดียวก็ได้ แต่โครงสร้างจำนวนจำกัดเท่านั้น ที่สามารถสนองความต้องการจำเป็นใดๆหรือความต้องการจำเป็นหลายอย่างในขณะเดียวกัน

ผู้นำความคิด ดังได้กล่าวมาแล้ว August Comte และ Herbert Spencer ทั้งสองท่านเป็นผู้ให้รากฐานความคิดกว้างๆเกี่ยวกับสังคม และคำอธิบายเกี่ยวกับสังคม จะเห็นได้ว่าท่านทั้งสองใช้ความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างหน้าที่นิยมเป็นหลักในการแนะนำวิชาสังคมวิทยาเข้าสู่วงวิชากการของยุโรปสมัยของท่าน ท่านทั้งสองจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาของสังคมวิทยา เนื่องจาก August Comte เป็นผู้ตั้งชื่อวิชานี้ว่าสังคมวิทยา ท่านจึงมักได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาคนแรกของสังคมวิทยามากกว่า Herbert Spencer อย่างไรก็ดีต้องนับท่านทั้งสองมีคุณอนันต์ต่อวิชานี้ และผู้ที่วางรากฐานสำคัญของทฤษฎีหน้าที่นิยม (Funcyiopnalism) ได้แก่

1. Emile Durkheim
2. Bronislaw Malinowski
3. A.R. Radcliffe-Brown

ท่านทั้งสามให้คำตอบว่า เป็นความจริงที่ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายแสดงให้เห็นว่าการที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้จะต้องสามารถสนองความต้องการจำเป็นจำนวนหนึ่งเสียก่อน แต่สังคมมนุษย์ต้องมีความต้องการจำเป็นนั้นด้วยหรือเป็นความจริงที่ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตต้องมีองค์ประกอบ หรือส่วนต่างๆหลายส่วน แต่ละสังคมมนุษย์จำเป็นต้องมีส่วนประกอบต่างๆเหล่านั้นหรือไม่ การได้ทราบความคิดของท่านเหล่านี้ เป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการเข้าใจเนื้อหาทฤษฎีโครงสร้างนิยม Durkheim และหน้าที่นิยม

เดิกไฮม์เป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ยึดถือแนวความคิดทั่วไปของนักวิชาการฝรั่งเศสสมัยของเขา โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องอินทรีย์อุปมาของ August Comte ในหนังสื่อเรื่องการแบ่งงานในสังคม (The Division of Labour in Society) เดิกไฮม์โจมตี Spencer ที่ใช้แนวคิดอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) สเปนเซอร์ใช้ดินทรีย์อุปมาเหมือนกับเดิกไฮม์เกี่ยวกับเรื่องสังคมามนุษย์นั้น ความคิดของเดิกไฮม์เจือปนด้วยความรู้ทางชีววิทยาอย่างมาก ซึ่งเป็นอิทธิพลทางความคิดทั่วไปในยุคของเดิกไฮม์ โดเฉพาพเจือปนอินทรีย์อุปมาอย่างเด่นชัด ฐานคติสำคัญเกี่ยวกับสังคมของเดิกไฮม์ มีดังนี้

  1. สังคมมนุษย์เป็นองค์ภาวะ (Entity) โดยตัวของมันเอง สังคมไม่ใช่เป็นส่วนรวมขององค์ประกอบต่างๆที่รวมกันขึ้นเป็นสังคมแต่เป็นสิ่งที่มากกว่านั้น สังคมเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากส่วนผสมต่างๆที่มารวมกัน (Society is Suireneris an Entity in Itself snd not its Constituent Parts) เดิกไฮม์เน้นว่าสังคมเป็นองค์ภาวะทางสังคม (Social Whole) มีเอกลักษณ์ มีความต้องการ มีโครงสร้าง มีชื่อต่างหากไปจากส่วนผสมที่ประกอบขึ้นเป็นสังคม
  2. เขาเห็นว่าส่วนประกอบต่างๆของระบบ หมายถึง สังคมปฏิบัติหน้าที่สนองความต้องการจำเป็นทั้งมวลที่ระบบพึงมีในฐานะที่เป็นระบบอินทรีย์ระบบหนึ่ง
  3. เดิกไฮม์อุปมาโดยกล่าวถึง สภาพ “ปกติ” และ “ไม่ปกติ” ของสังคม คือ ถ้าระบบ คือ สังคมสามารถสนองความต้องการจำเป็นของระบบได้แล้ว สังคมหรือระบบก็จะอยู่ในภาวะปกติ แต่ถ้าไม่สามารถสนองความต้องการก็ไม่ปกติ คำกล่าวนี้จึงเป็นการยอมรับว่า สังคมต้องมีความต้องการจำเป็นเชิงหน้าที่จำนวนหนึ่ง สังคมใดมีชีวิตอยู่ได้ส่วนต่างๆจะต้องทำหน้าที่เพื่อขจัดความต้องการเหล่านี้ให้หมดไป
  4. ในการอ้างอิงระบบที่ปกติ ไม่ปกติและหน้าที่ของระบบ เดิกไฮม์ได้กล่าวถึง ความสมดุลของระบบด้วยจดสมดุล (Equilibrium Points) คือจุดต่างๆที่สังคมมีความเป็นปกติอันเกิดจากการที่ความต้องการได้รับการตอบสนอง ระดับของการตอบสนองกับระดับของความต้องการเท่ากับความสมดุลก็เกิดขึ้น

จะเห็นว่าความคิดของเดิกไฮม์ที่เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง การแบ่งงานในสังคม ช่วยวางรากฐานให้กับแนวความคิดหรือทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม

หน้าที่นิยมและประเพณีความคิดทางมานุษยวิทยา
แนวความคิดโครงสร้าง-หน้าที่นิยม ของพาร์สัน
ความคิดระบบสังคมของพาร์สัน
แนวคิดโครงสร้าง-หน้าที่นิยมของเมอร์ตัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย