ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ทฤษฎีโครงสร้าง หน้าที่ (Structural Functional Theory)
ทฤษฎีการขัดแย้ง (Conflict Theory)
ทฤษฎีปริวรรตนิยม (Exchange Theory)
ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology)
สังคมวิทยากับการศึกษา (Sociology of Education)
ทฤษฎีโครงสร้าง หน้าที่
(Structural Functional Theory)
แนวความคิดโครงสร้าง-หน้าที่นิยม ของพาร์สัน
แนวคิดของพาร์สันประกอบด้วย คตินิยมด้านปรัชญา 3 ด้าน คือ
1. อรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) คือ
เป้าหมายของการกระทำทั้งหลายอยู่ที่ความสุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมาก
2. ปฎิฐานนิยม (Positivism) อยู่ที่ว่า อะไรที่ทดสอบได้จึงจะเป็นจริง
3.
จิตนิยม (Realism) หรืออุดมการณ์นิยม คือ ความเป็นจริงเป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัว
อาจเป็นมโนคติหรือเป็นจิตก็ได้
ความคิดของพาร์สันกว้างขวางมาก โดยสรุปได้ดังนี้
1.
กลวิธีการสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาของพาร์สัน
พาร์สันยึดกรอบความคิดที่เรียกว่า Analytical Realism
เป็นแนวในการสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา เขาได้ใช้กรอบนี้ในการสร้างทฤษฎี
โครงสร้างของการกระทำทางสังคม (The Structure of Social Action) พาร์สันเน้นว่า
ทฤษฎีต่างๆในสังคมวิทยานั้นจะต้องพยายามใช้สังกัปที่จำกัดจำนวนหนึ่งที่เป็นตัวแทนด้านต่างๆของสภาพวัตถุวิสัยของสังคม
สังกัปเหล่านี้จะต้องไม่สอดคล้องกับปรากฏการณ์แต่ละอย่าง
แต่จะต้อสอดคล้องกับแก่นของปรากฏการณ์เหล่านั้น แยกปรากฏการณ์เหล่านั้นออกจากกันได้
และเมื่อนำมารวมกันจะเป็นตัวแทนของความเป็นจริงทางสังคม
ลักษณะเด่นของกรอบความคิดของพาร์สัน
อยู่ที่วิธีการใช้สังกัปนามธรรมเหล่านี้ในการวิเคราะห์ทางสังคมวิทยา
ซึ่งเป็นโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งที่คาดหวังคือ
กลุ่มสังกัปที่จัดเป็นระบบสำหรับวิเคราะห์
ซึ่งแสดงลักษณะสำคัญและเป็นระบบของจักรวาล โดยไม่ต้องมีข้อมูลประจักษ์มากมาย
ทฤษฎีจะทำหน้าที่เบื้องต้นในการจัดชั้นแบ่ง
ประเภทปรากฏการณ์ทางสังคมที่สะท้อนลักษณะสำคัญของการจัดระเบียบปรากฏการณ์เหล่านี้
ยิ่งกว่านั้นพาร์สันยังเน้นด้วยว่า
ประพจน์เกี่ยวกับการมีอยู่หรือสภาพการณ์ข้อความสัมพันธ์และข้อความเชิงเหตุ
(Associational and Causal Statements) อาจไม่เป็นตัวแทนความจริงของโลกทางสังคม
จนกว่าจะได้มีการจัดชั้นในเชิงสังกัปของจักรวาลให้ได้เสียก่อน
2. แนวความคิดเรื่ององค์การสังคมพาร์สัน
พาร์สันเชื่อว่า
ทฤษฎีการกระทำอาสานิยม (Voluntaristic Theory of Action)
เป็นศูนย์รวมของสังกัปและฐานคติจากอรรถประโยชน์นิยม ปฏิฐานนิยมและจิตนิยม
(Utilitarianism, Positivism and Idealism)
ซึ่งนำมาสร้างทฤษฎีองค์การสังคมเชิงหน้าที่ขึ้น (Functional Theory of Social
Organization) โดยในขั้นแรกอาศัยคติอาสานิยมมามองการตัดสินใจของผู้กระทำทางสังคม
(Normative Constraints) และสถานการณ์ (Situational Constraints Action) ดังนั้น
การกระทำโดยเสรีหรือเชิงอาสา (Voluntaristic) จึงประกอบด้วยธาตุมูล ดังนี้
- ผู้กระทำ หมายถึง ปัจเจกชน
- เป้าหมาย ที่ผู้กระทำมุ่งประสงค์
- วิธีต่างๆที่ผู้กระทำจะเลือกใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย
- สถานการณ์ อันเป็นฉากซึ่งผู้กระทำจะต้องนำเข้ามาพิจารณา ในการที่จะเลือกวิธีหนึ่ง วิธีใดในการบรรลุเป้าหมาย
- ตัวกำหนดเชิงบรรทัดฐาน อันได้แก่ ค่านิยมบรรทัดฐานทางสังคมและความคิดต่างๆ ซึ่งผู้กระทำจะต้องนำมาพิจารณาประกอบในการเลือกวิธีการบรรลุเป้าหมาย
- การตัดสินใจโดจยเสรี ภายใต้เงื่อนไขข้อบังคับหรือบรรทัดฐานและสถานการณ์
3. ความคิดเรื่องระบบการกระทำยุคต้น
ระบบการกระทำ (System of Action) เกิดในบริบททางสังคม
ซึ่งเป็นบริบทที่ผู้กระทำมีสภานภาพและแสดงพฤิตกรรมตามที่สถานภาพกำหนดไว้
สถานภาพและบทบาทต่างๆ
ในสังคมประสานสัมพันธ์กันในรูปของระบบต่างๆหน่วยการกระทำจึงมีฐานะเป็นระบบการกระทำระหว่างกัน
(System of Interaction) ซึ่งการกระทำในที่นี้ คือ
แสดงบทบาทของผู้กระทำประกอบไปด้วยผู้กระทำจำนวนมาก
ซึ่งก็มีสถานภาพและแสดงบทบาทที่รวมกันเข้าเรียกว่า ระบบสังคม
พาร์สันสร้างระบบต่างๆขึ้น ระบบแรก คือ ระบบบุคคล คือ
ระบบการกระทำระหว่างกัน หรือการการทำระหว่างมนุษย์หลายคนที่มีลักษณะเป็นระบบ
ระบบวัฒนธรรม ซึ่งได้แก่เกณฑ์การปฏิบัติของสังคม ต่อมาเป็นระบบดินทรีย์ ได้แก่
พันธุ์และกระบวนการกระทำชีวภาพต่างๆ
ในขั้นแรกระบบต่างๆตามความคิดของพาร์สันก็มีเพียงสามระบบเท่านั้น
ต่อมาพาร์สันได้สร้างระบบที่สี่ขึ้น เรียกว่า ระบบสังคม
ซึ่งเป็นระบบที่เขาในฐานะนักสังคมวิทยาจะต้องวิเคราะห์ระบบหลังนี้
แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างระบบสังคม ระบบบุคคลและระบบวัฒนธรรม
และเขาได้พัฒนาความคิดของเขา โดยนำรายละเอียดในหนังสือชื่อ The Social System
ที่เขียนขึ้นมาพิจารณารายละเอียด
หน้าที่นิยมและประเพณีความคิดทางมานุษยวิทยา
แนวความคิดโครงสร้าง-หน้าที่นิยม ของพาร์สัน
ความคิดระบบสังคมของพาร์สัน
แนวคิดโครงสร้าง-หน้าที่นิยมของเมอร์ตัน