ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ (Structural – Functional Theory)
ทฤษฎีการขัดแย้ง (Conflict Theory)
ทฤษฎีปริวรรตนิยม (Exchange Theory)
ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology)
สังคมวิทยากับการศึกษา (Sociology of Education)
ทฤษฎีการขัดแย้ง
(Conflict Theory)
เป็นทฤษฎีแม่บทที่สำคัญอีกทฤษฎีหนึ่งของสังคมวิทยา
เนื้อหาสาระของทฤษฎีสมัยใหม่ของทฤษฎีนี้ สืบเนื่องมาจากแนวคิดของนักสังคมวิทยา
ชาวเยอรมัน 2 คน คือ Karl Marx และ Georg Simmel ทฤษฎีการขัดแย้ง
แม้จะถือกำเนิดในยุโรป ในเวลาไล่เลี่ยกับทฤษฎีการหน้าที่
แต่เพิ่งจะได้รับความสนใจในอเมริกา เมื่อ ทศวรรษที่ 1950
วิจารณ์ทฤษฎีการหน้าที่ของ Parsons ว่า
“เน้นเรื่องระเบียบสังคมความสมดุลและกลไกในการรักษาดุลยภาพและความเป็นระเบียบมากเกินไป
จนมองเห็นความไม่มั่นคง การเสียระเบียบและการขัดแย้งว่า
เป็นพฤติกรรมเสียระเบียบไปเสียหมด
ความจริงสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตสังคมมนุษย์เท่าๆกับความเป็นระเบียบ
ความสมดุลในสังคมนั่นเองเพียงแต่เป็นคนละด้านเท่านั้น
Lockwood
ยืนยันว่ามีกลไกบางอย่างในสังคมที่ทำให้การขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
1. การที่บุคคลมีอำนาจไม่เท่ากัน
2. การที่สังคมมักมีของหายากอยู่อย่างจำกัด
3. ในสังคมมักมีกลุ่มต่างๆที่มีเป้าหมายไม่เหมือนกัน
จึงมีการช่วงชิงให้ได้บรรลุเป้าหมายนั้น
สาระสำคัญของทฤษฎีการขัดแย้ง
1. ทุกหน่วยของสังคมอาจเปลี่ยนแปลงได้
2. ทุกหน่วยของสังคมเป็นบ่อเกิดของการขัดแย้ง
3. ทุกหน่วยของสังคมมีส่วนส่งเสริมความไม่เป็นปึกแผ่นและการเปลี่ยนแปลง
4. ทุกสังคมจะมีคนกลุ่มหนึ่งควบคุมบังคับคนอีกกลุ่มหนึ่ง
ให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม
นักทฤษฎีที่สำคัญ
- Karl Marx
- George Simmel
- Ralf Dahrendorf
- Lewis
Coser
Karl Marx
การขัดแย้งของทฤษฎีสังคมวิทยาปัจจุบันฐานคติที่สำคัญมี 3 ประการ คือ
- องค์การทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
เป็นผู้กำหนดรูปแบบขององค์กรอื่นๆในสังคม
- องค์การเศรษฐกิจของสังคมใดๆ
ย่อมเป็นต้นกำเนิดการขัดแย้งเชิงปฏิวัติระหว่างชนชั้นในสังคมนั้น
อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเสมอ เป็นกระบวนการวิภาษวิธี (Dialectics)
และจะเกิดเป็นยุคสมัยเป็นสมัยแบ่งสังคมออกเป็นกลุ่มเป็นพวก
- การขัดแย้งจะมีลักษณะเป็น 2 หลัก (Dipolar) ได้แก่
- ชนชั้นที่ถูกเอารักเอาเปรียบ
- ชนชั้นที่มีอำนาจและเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
George Simmel
สาระความคิดเกี่ยวกับองค์การสังคมของ Simmel
- ความสัมพันธ์ทางสังคมจะเกิดขึ้นในภาวะสังคมเป็นระบบ ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคมอาจสืบเนื่องมาจาก กระบวนการทางอินทรียภาพสองกระบวนการ คือ กระบวนการก่อสัมพันธ์และกระบวนการแตกสัมพันธ์
- กระบวนการดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากทั้งแรงขับสัญชาตญาณและความจำเป็นอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ทางสังคมประเภทต่างๆ
- กระบวนการขัดแย้งเป็นสิ่งเก่าแก่แต่โบราณของสังคม แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสิ่งทำลายระบบสังคมหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเสมอ
- ตามความเป็นจริงแล้ว การขัดแย้งเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไปเพื่อดำรงรักษาสังคม หรือส่วนประกอบบางอย่างของสังคม
เปรียบเทียบสาระความคิดที่เกี่ยวกับองค์การสังคม
Karl Marx |
Georg Simmel | |
1.
เห็นด้วยในเรื่องความดาษดื่นและหลีกเลี่ยงไปพ้นของการขัดแย้งในระบบสังคม - ลักษณะทางสังคม |
1. เช่นเดียวกัน | |
1.
เน้นผลการแบ่งแยกของการขัดแย้ง 2. มุ่งแสดงเงื่อนไขที่ขัดแย้งอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้น |
1.
เน้นผลบูรณาการของการขัดแย้ง 2. มุ่งหาเงื่อนไขที่จะทำให้การขัดแย้งที่กว้างขวาง อาจเปลี่ยนแปลงไป | |
3.
มุ่งหาสาเหตุของการขัดแย้งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางสังคม - สาเหตุของการขัดแย้ง |
3. มุ่งความสนใจในรูปที่รูปแบบและ ผลกระทบของการขัดแย้งที่เกิดขึ้น | |
1. มาจากการแบ่งปันทรัพย์สินไม่เสมอภาคกัน | 1. เกิดจากสัญชาตญาณการต่อสู้ในกัน เรื่องความเข้มข้น | |
2.
ขึ้นอยู่กับความสมัครสมานภายในของแต่ละกลุ่มคู่กรณี
- ผลกระทบของความขัดแย้ง |
2. เช่นเดียวกัน | |
1.
จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม - ประพจน์ที่มีข้อความขัดกัน |
1. ผลการของขัดแย้งจะทำให้มีความต่อเนื่องของระบบสังคม | |
1.
หากชนชั้นได้ที่มีอำนาจได้ตระหนักในประโยชน์แท้จริงของตนแล้วการขัดแย้งอย่างรุน -ฐานคติทางความคิด |
1. เป้าหมายของกลุ่มคู่กรณีมีความขัดแย้ง กลุ่มขัดแย้งจะพยายามประนีประนอมกันมากกว่าจะต่อสู้กัน | |
1. ความเข้มข้นของการขัดแย้งเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงเสียไม่ได้จะต้องเกิดขึ้นในระบบสังคม สังคม การเปลี่ยนแปลงก็จะต้องเกิดขึ้นในโครงสร้าง | 1. การขัดแย้งเป็นกระบวนการทาง สังคมอย่างหนึ่งเท่านั้น |
สังคมนายทุนในสมัยปัจจุบันปฏิบัติตามแนวทางนี้คือ
สังคมการประนีประนอมกันมากกว่าล้มล้างกัน
แนวความคิดหรือฐานคติที่เกี่ยวกับองค์การสังคมของ Mark
- ความสัมพันธ์ทางสังคมแสดงลักษณะเป็นระบบ ความสัมพันธ์เต็มไปด้วยความสนใจที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว
- ระบบสังคมต่างเป็นตัวจ่ายการขัดแย้งอย่างมีระบบ
- การขัดแย้งจึงเป็นลักษณะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีอยู่มากมายในระบบสังคม
- การขัดแย้ง มักแสดงออกมาเป็นความสนใจที่ตรงกันข้ามกันของคนสองพวก
- การขัดแย้ง มักเกิดจากการแบ่งปันสิ่งของที่หายาก ที่เห็นได้ชัด คือ อำนาจ
- การขัดแย้งเป็นแหล่งสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ในระบบสังคม
ประพจน์เกี่ยวกับความเครียดของการขัดแย้ง
- ยิ่งทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันมีอารมณ์ผู้พันมาก การขัดแย้งก็จะมีความเครียดมากขึ้น
- ยิ่งระดับความเป็นคนกลุ่มเดียวกันของผู้ขัดแย้งมีเพียงใด ความเครียดในการขัดแย้งก็ยิ่งมีมากขึ้น
- ยิ่งการขัดแย้งเกี่ยวข้องกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มที่เกี่ยวข้องมาก การขัดแย้งก็จะมีความเครียดมากขึ้น
- ยิ่งคู่กรณีมีความปรองดองกันมาก่อนมาก ความขัดแย้งก็จะมีความเครียดมากขึ้น
- ยิ่งโครงสร้างทางสังคมทั่วไป ปล่อยให้คู่กรณีอยู่แยกต่างหากจากกันได้น้อยเท่าใด ความเครียดของการขัดแย้งก็จะยิ่งมีมากเท่านั้น
- ยิ่งการขัดแย้งเป็นเป้าหมายอยู่ในตัว แทนที่จะเป็นอุปกรณ์ไปสู่สิ่งอื่นมากเพียงใด ความเครียดของการขัดแย้งก็จะยิ่งมีมากเท่านั้น
- ยิ่งคู่กรณีมองเห็นว่าการขัดแย้งเป็นเรื่องเป้าหมาย และผลประโยชน์ส่วนตัวมาก การขัดแย้งก็จะยิ่งมีความเครียดมากขึ้นเท่านั้น
หน้าที่ของการขัดแย้งทางสังคมต่อคู่กรณี
- ยิ่งการเป็นปรปักษ์ระหว่างกลุ่มความเครียดมากและยิ่งมีการขัดแย้งระหว่างกลุ่มมาก ขอบเขตของกลุ่มต่างๆก็จะจางหายไปน้อยลง
- ยิ่งการขัดแย้งมีความเครียดมากเท่าใด และกลุ่มมีบูรณาการน้อยเพียงใด กลุ่มขัดแย้งก็จะยิ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางมากขึ้นเท่านั้น
- ยิ่งการขัดแย้งมีความเครียดมากเท่าใด ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในกลุ่มคู่กรณี ก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
หน้าที่ของการขัดแย้งต่อสังคมเป็นส่วนรวม
- ยิ่งการขัดแย้งมีความมีความเครียดน้อยเพียงใด
สังคมส่วนรวมขึ้นอยู่กับการพึ่งพาอาศัยกัน
ก็จะยิ่งเป็นไปได้มากขึ้นกว่าการขัดแย้ง จะส่งผลให้เกิดบูรณาการในสังคมมากขึ้น
- ยิ่งการขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อย การขัดแย้งมีความเครียดน้อยลง
สมาชิกของกลุ่มที่อยู่ภายใต้อำนาจก็จะยิ่งระบายความเป็นปฏิปักษ์มากขึ้น
รวมทั้งจะเกิดความเชื่อมั่นในการควบคุม
และจะเป็นการส่งผลให้เกิดบูรณาการในสังคม
- ยิ่งการขัดแย้งมีความเครียดน้อยและเกิดบ่อยมาด
ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการสร้างบรรทัดฐานขึ้นมาควบคุมการขัดแย้งมากขึ้น
- ยิ่งความสัมพันธ์เชิงปฏิปักษ์ ระหว่างคู่กรณีในสายบังคับบัญชาทางสังคม
(Socail Hierarchy) มาก แต่การขัดแย้งโดยเปิดเผยมีน้อยแล้ว
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างสมาชิกของแต่ละกลุ่มคู่กรณีตจะมีมากขึ้น
จึงเป็นการส่งผลให้การรักษาสายการบังคับบัญชาทางสังคมขณะนั้นให้ดำรงยืนยาวต่อไป
- ยิ่งการขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่มีอำนาจต่างกันมาก ความเครียดมีน้อย
โอกาสที่จะทำให้ความสัมพันธ์แห่งอำนาจกลายเป็นเรื่องปกติก็มีมากขึ้น
- ยิ่งการขัดแย้งมีความเครียดน้อย
โอกาสในการที่จะสร้างกลุ่มผสมระหว่างสมาชิกของกลุ่มที่ไม่เคยมีความสัมพันธ์กันมาก่อน
ก็ย่อมจะมีมากขึ้น
- ยิ่งการคุกคามของการขัดแย้งที่มีความเครียดมากระหว่างกลุ่มมีเวลายาวนาน กลุ่มผสมระหว่างกลุ่มขัดแย้งก็จะยิ่งมีความคงทนถาวรมากขึ้น
ประพจน์ของดาร์เรนดอรฟ Dahredorf ดำเนินตามแนวคิดของ Marx
-
องค์การสังคมหรือไปซีเอ
เป็นเรื่องของความสัมพันธ์อำนาจและอำนาจในองค์การถือได้ว่าเป็นสิทธิอำนาจ เพราะ
บทบาทเหล่านี้เป็นของตำแหน่งที่ยอมรับกันในองค์การ ดังนั้น
ความเป็นระเบียบทางสังคมจะดำรงอยู่ได้ก็โดย การพยายามซ่อมบำรุง
กระบวนการสร้างความสัมพันธ์แห่งสิทธิอำนาจเอาไว้
เปรียบเทียบความคิดของ Dahrendof กับของ Mark มีความเห็นเหมือนกันว่า
- ระบบสังคม คือสังคมมนุษย์มีสภาพการขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง
- การขัดแย้ง เกิดจากการขัดกันในผลประโยชน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสังคม
- ผลประโยชน์ที่ขัดกัน สืบเนื่องมาจากการได้รับส่วนแบ่งอำนาจไม่เท่ากันระหว่างกลุ่มเหนือ (Dominant) กับกลุ่มใต้ (Subjugated)
- ผลประโยชน์ต่างๆมีแนวโน้มที่แยกออกเป็นสองฝ่ายที่ขัดกัน
- การขัดแย้งเป็นแบบวิภาษวิธี จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ตรงข้ามกันขึ้น จะส่งผลให้มีการขัดแย้งครั้งต่อไปอีกภายใต้เงื่อนไขเฉพาะอย่างหนึ่ง
- การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นลักษณะที่ต่อเนื่องมาแต่โบราณของระบบสังคม และจะทำให้เกิดการขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในองค์การสังคมทุกระดับ
ประพจน์หลักของ Dahrendof
- การขัดแย้งมีโอกาสเกิดได้ ถ้าสมาชิกของกลุ่มขัดแย้งว่าผลประโยชน์ของตนคืออะไร และสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อมุ่งผลประโยชน์นั้น
- ความขัดแย้งจะเข้มข้น หากมีเงื่อนไขทางเทคนิค เงื่อนไขทางการเมือง และเงื่อนไขทางสังคม
- ความขัดแย้งจะมีความเข้มข้น หากการสับเปลี่ยนโยกย้ายบุคคลไปมาระหว่างกลุ่มที่มีอำนาจกับกลุ่มผู้ไม่มีอำนาจเป็นไปได้โดยยาก
- ความขัดแย้งจะมีความเข้มข้น หากการกระจายสิทธิอำนาจและรางวัลเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
- ความขัดแย้งจะรุนแรง หากเงื่อนไขการรวมกลุ่มคนด้านเทคนิคด้านการเมือง และด้านสังคมไม่อำนวยหรือให้ทำได้น้อย
- ความขัดแย้งรุนแรง หากมีการเสียผลประโยชน์ในการแบ่งรางวัล เนื่องจากเปลี่ยนเกณฑ์จากเกณฑ์ตายตัวไปเป็นเกณฑ์เชิงเปรียบเทียบ
- ความขัดแย้งจะรุนแรง ถ้ากลุ่มขัดแย้งไม่สามารถสร้างข้อตกลงควบคุมการขัดแย้งระหว่างกันได้
- ความขัดแย้งที่เข้มข้น จะทำให้เกิดกาเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและการจัดการองค์กรสังคมแห่งการขัดแย้ง
- ความคิดขัดแย้งที่รุนแรง จะก่อให้เกิดอัตราการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและการจัดระเบียบใหม่ในองค์กการสังคมที่เกิดการขัดแย้งนั้นอย่างสูง
ประพจน์ของโคเชอร์ ดำเนินตามแนวคิดของ Simmel
-
การขัดแย้งนั้นไม่ได้มีแต่ผลเสียหายอย่างเดียว
แต่มีผลในทางสร้างสรรค์มีผลในทางดีด้วย
ประพจน์ของ Coser
- โลกทางสังคมเป็นระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยหน่วยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
- ระบบสังคมทั้งหมดต่างก็ไร้สมดุลยภาพ มีความตรึงเครียดและการขัดแย้งในผลประโยชน์ ระหว่างหน่วยงานต่างๆที่สัมพันธ์กัน
- กระบวนการต่างๆ ภายในหน่วยหรือระหว่างหน่อยของระบบ ดำเนินภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เพื่อที่จะซ่อมบำรุงเปลี่ยนแปลง เพิ่มลดบูรณาการและความสามารถปรับตัวของระบบ
- กระบวนการ เช่น ความรุนแรง ความเห็นคัดค้าน ความเบี่ยงเบน และการขัดแย้ง ถือเป็นการทำลายระบบ
สาเหตุของการขัดแย้ง
- การขัดแย้งเกิดจากการที่กลุ่มไม่ได้ประโยชน์ เกิดความสงสัยข้องใจความถูกต้องของการแบ่งปันทรัพยากร
- การขัดแย้งเกิดจากการไม่ได้ประโยชน์ สืบเนื่องมาจากลักษณะเชิงเปรียบเทียบมากกว่าลักษณะเด็ดขาด
ความเข้มแข็งของการขัดแย้ง
- ความเข้มข้นของการขัดแย้งจากความชัดแจ้งของสาเหตุขัดแย้ง
- ความเข้มข้นของการขัดแย้งจากขนาดของอารมณ์ผูกพันธ์ของสมาชิกกลุ่มขัดแย้ง
- ความเข้มข้นของการขัดแย้งจากการที่โครงสร้างสังคมมีความเข้มงวด และมีวิธีการดูดกลืนความเครียดและการขัดแย้งน้อย
- ความขัดแย้งจะไม่เข้มข้นถ้ากลุ่มขัดแย้ง ขัดแย้งกันด้วยผลประโยชน์แท้จริง
- ความเข้มข้นของการขัดแย้งเกิดจากการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ไม่แท้จริง
- ความเข้มข้นของการขัดแย้งเกิดจากผลประโยชน์ส่วนรวมเหนือผลประโยชน์ส่วนตัว
- ความเข้มข้นของการขัดแย้งเกิดจากการขัดแย้ง เนื่องมาจากค่านิยมและประเด็นสำคัญทางสังคม
ความยาวของการขัดแย้ง
- ความขัดแย้งจะยืดยาวหากคู่ขัดแย้งไม่จำกัดเป้าหมายลง
- ความขัดแย้งจะยืดยาวหากคู่ขัดแย้งไม่สามารถเห็นพ้องกันเรื่องเป้าหมายได้
- ความขัดแย้งจะยืดยาวหากคู่ขัดแย้งไม่รู้ความแตกต่างของตน สัญลักษณ์แห่งชัยชนะและพ่ายแพ้ของตน
- ความขัดแย้งจะสั้นหากผู้นำกลุ่มขัดแย้งทั้งสองฝ่ายต่างรู้สึกว่าการบรรลุเป้าหมายมีราคาแพงกว่าการได้ชัยชนะระหว่างกัน
- ความขัดแย้งจะสั้นหากผู้นำกลุ่มขัดแย้ง ต่างมีความสามารถชักชวนสมาชิกกลุ่มขัดแย้งให้ยุติขัดแย้งได้
ประโยชน์ของการขัดแย้ง
- การขัดแย้งที่มีความเข้มข้นจะทำให้ขอบข่ายของกลุ่มขัดแย้งแต่ละกลุ่มมีความชัดเจน
- การขัดแย้งที่มีความเข้มข้นและการแบ่งงานอย่างชัดเจนระหว่างสมาชิกของกลุ่มขัดแย้งแต่ละกลุ่ม จะทำให้เกิดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของโครงสร้างอำนาจการตัดสินใจ
- การขัดแย้งที่มีความเข้มข้นและเชื่อว่าจะมีผลกระทบไปทุกส่วนของแต่ละกลุ่มจะทำให้เกิดความมั่นคงขึ้นในแต่ละกลุ่มขัดแย้ง
- ความสัมพันธ์ขั้นปฐมภูมิระหว่างสมาชิกกลุ่มขัดแย้งและความขัดแย้งมีความเข้มข้น สามารถบังคับให้ยอมรับบรรทัดฐานและค่านิยมของกลุ่มได้
- โครงสร้างสังคมของกลุ่มขัดแย้งที่เข้มงวดน้อยและการขัดแย้งระหว่างกันมากไม่ จะเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มสามารถเปลี่ยนแปลงระบบไปในแนวทางส่งเสริมการปรับตัวและความมั่นคง
- ความขัดแย้งที่เกิดบ่อยๆ จะทำให้สามารถเป็นเครื่องแสดงการไม่ลงรอยกันในค่านิยมสำคัญ และจะสามารถรักษาดุลยภาพได้มากขึ้น
- ความขัดแย้งที่เกิดบ่อยและไม่เข้มข้นมาก จะทำให้แต่ละกลุ่มขัดแย้ง สามารถสร้างระเบียบบรรทัดฐานกำกับการขัดแย้งขึ้นมาได้
- ระบบสังคมที่ไม่เข้มงวดมาก จะทำให้การขัดแย้งสามารถสร้างสมดุลและระดับสูงต่ำของอำนาจในระบบขึ้นมาได้
- ระบบสังคมที่ไม่เข้มงวดมาก จะทำให้การขัดแย้งเป็นสาเหตุให้เกิดความสัมพันธ์แบบผสม มีการยึดเหนี่ยวกันและบูรณาการของระบบเพิ่มขึ้น