เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปราบวัชพืชข้าวโพด
การปราบวัชพืชในแปลงข้าวโพดทำได้หลายวิธี ได้แก่
1. การใช้แรงงานควรจะทำการดายหญ้าเมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 20 วัน หลังงอก
ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดถ้าจะมีการดายหญ้าเพียงครั้งเดียว
การปราบวัชพืชในไร่ข้าวโพดของกสิกรส่วนมาก กระทำโดยการใช้แรงคนและสัตว์
2.
การใช้สารเคมีนั้นมีสารเคมีหลายชนิดด้วยกันที่สามารถใช้ปราบวัชพืชในแปลงข้าวโพดได้
แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้ คุณสมบัติในการปราบวัชพืชและผลตกค้างแตกต่างกัน
ดังนั้นก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำให้ละเอียด
การเลือกใช้สารเคมีชนิดใดขึ้นอยู่กับชนิดของวัชพืชที่ขึ้นในไร่ข้าวโพดและชนิดของพืชที่จะปลูกในฤดูถัดไป
รวมทั้งราคาของสารเคมี
ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในแปลงข้าวโพดได้ เช่น
แอทราซีนชนิดผง 80 เปอร์เซ็นต์ ควรใช้ในอัตรา 200-600 กรัมต่อไร่
ส่วนอะลาคลอร์ชนิดน้ำ 4 ปอนด์ต่อแกลลอน ควรใช้ในอัตรา 500-1,000 ซี.ซี. ต่อไร่
ซิมาซินชนิดผง 80 เปอร์เซ็นต์ ใช้ในอัตรา 200-300 กรัมต่อไร่
แอทราซีน นับว่าคุมวัชพืชได้ดีทั้งพวกใบกว้างและใบแคบ
แต่มีข้อเสียคือ จะเป็นพิษต่อพืชใบกว้างทั่ว ๆ ไป เช่น ผัก พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
ดังนั้นถ้าปลูกถั่วตามข้าวโพดในฤดูถัดไป ไม่ควรฉีดสารเคมีแปลงข้าวโพดด้วยแอทราซีน
อะลาคลอร์ ก็นับว่าเป็นสารเคมีที่ดี
แต่จะปราบได้ดีเฉพาะวัชพืชใบแคบเท่านั้น
ปราบวัชพืชใบกว้างไม่ค่อยได้ผลและยังมีข้อจำกัดในการใช้มากกว่าแอทราซีน
กล่าวคือถ้าฉีดสารเคมีนี้ในขณะที่หญ้ามีใบเพียง 1 ใบ
สารเคมีชนิดนี้ก็ไม่สามารถจะฆ่าหญ้าได้ นอกจากนั้นอะลาาคลอร์ยังเป็นพิษต่อข้าวฟ่าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัตราสูง ดังนั้นถ้าจะปลูกข้าวฟ่างตามข้าวโพดไม่ควรใช้อะลาคลอร์
การใช้สารเคมีปราบวัชพืชนับว่าใช้ได้ผลดีถ้าปฏิบัติให้ถูก
และนอกจากนั้นต้นทุนยังต่ำกว่าการใช้แรงงาน
แต่การใช้ยามีข้อควรระวังคือต้องผสมน้ำฉีดขณะที่ดินชื้น
ถ้าฉีดขณะดินแห้งและไม่มีฝนตกหลังจากฉีดเป็นเวลานานพอควร จะทำให้ไม่ได้ผล คือ
ฤทธิ์ของสารเคมีเสื่อม
3. การใช้เครื่องมือไถพรวนระหว่างแถวข้าวโพดเมื่อต้นข้าวโพดโตแล้ว
ก็เป็นวิธีการปราบวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่สิ่งแวดล้อม
ระยะการเจริญเติบโตและการพัฒนา
พันธุ์ข้าวโพด
ฤดูปลูก
การเตรียมดิน
วิธีการปลูก
การปราบวัชพืช
การใส่ปุ๋ย
โรค
การเก็บเกี่ยว