ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
แนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางคุณธรรมจริยธรรม
ธรรมชาติของมนุษย์ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม
ทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม
เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม
จริยธรรมของคนไทย
ค่านิยมและจรรยาบรรณ
ทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์
(Psychoanalytic Theory)
ผู้นำทฤษฏีนี้ คือ ฟรอยด์ (Freud)
จิตแพทย์ออสเตรีย (สมพร สุทัศนีย์ 2541 ,185-186)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาตั้งแต่เกิด
พฤติกรรมต่างๆเกิดจากสัญชาตญาณซึ่งเป็นแรงกระตุ้นที่เกิดจากภายใน
สัญชาตญาณดังกล่าวมี 2 ชนิด คือ สัญชาตญาณทางเพศ
ซึ่งผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด
และสัญชาตญาณความก้าวร้าว
เป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะก้าวร้าวทำลาย ซึ่งแสดงออก 2
ลักษณะคือ ก้าวร้าวตนเอง และก้าวร้าวผู้อื่น
นอกจากพฤติกรรมจะเกิดจากสัญชาตญาณดังกล่าว ซึ่งแอบแฝงอยู่ในจิต ที่เรียกว่า
จิตไร้สำนึกแล้ว พฤติกรรมจะเกิดจากระบบของจิต 3 ระบบ คือ คิด (id) อีโก้ (ego)
และซุปเปอร์อีโก้ (super ego)
พฤติกรรมส่วนใหญ่เกิดจาก (id)
คือพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อสนองความพอใจของตนเองฝ่ายเดียว
โดยมิได้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
เมื่อบุคคลต้องการกระทำสิ่งใดก็ลงมือทำทันทีโดยไม่ใคร่ครวญ
การกระทำจึงไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
แต่หากทำไม่ได้ก็จะเกิดความเครียดทางออกที่ดีที่สุดคือใช้กลไกการป้องกันตนเองที่เรียกว่า
การทดเทิด (Sublimation) คือ แสดงพฤติกรรมที่ดีแทนพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น
ฝึกเป็นนักมวยที่มีชื่อเสียงแทนพฤติกรรมก้าวร้าวเกเร หรือ ทดแทนความกดดันทางเพศ
ทางศาสนาเรียกอิดว่า (id) นี้ว่า สัญชาตญาณดิบ ซึ่งมีราคะ โลภะ โทสะ
เป็นพื้นฐานอยู่และอาจแฝงด้วยโมหะ กล่าวโดยรวมสิ่งที่ฟรอยด์เรียกว่า (id)
นั่นก็คืออกุศลจิตในพระพุทธศาสนานั่นเอง (วศิน อินทสระ ,2541 : 82)
พฤติกรรมที่เกิดจากอีโก้ (ego) คือ พฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักเหตุผล
และความเป็นจริง เช่น นายแดงอยากฟังเพลงเสียงดัง
เขาจะไม่เปิดให้เสียงดังเพราะจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน
แต่เขาจะคิดหาเหตุผลว่าทำอย่างไรจึงจะสนองความต้องการได้
แสดงว่าพฤติกรรมแบบอีโก้ (ego)
แม้จะเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักเหตุผลก็จริง
แต่ยังมีความต้องการสนองความพอใจของตนเอง เรียกว่า ยังมี อัสมิมานะ ได้แก่
ความรู้สึกว่า ตัวฉัน ตัวเรา คืออหังการ หรือความรู้สึกของจิตที่ยังมีอหังการอยู่
ยังมีอัสมิมานะอยู่นั่นเอง
พฤติกรรมที่เกิดจากซุปเปอร์อีโก้ (super ego) ซุปเปอร์อีโก้
เป็นส่วนของคุณธรรม คนที่มีซุปเปอร์อีโก้จะเป็นคนที่มีคุณธรรม
และมีความรับผิดชอบสูง
แสดงว่ามนุษย์ยังมีคุณธรรม จริยธรรม หรือทางพระเรียกว่ามี กุศลเจตสิก
คอยยับยั้งเอาไว้ ไม่ให้กระทำตามใจอยากเสียทุกอย่าง
คนที่มีซุปเปอร์อีโก้สูงจึงเป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรับผิดชอบสูง
ซุปเปอร์อีโก้ เป็นส่วนที่เกิดจากการอบรมสั่งสอน
การถูกควบคุมโดยขนบธรรมเนียมประเพณี การกลัวโทษทัณฑ์เมื่อทำผิด เมื่ออิด (id) กับ
ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) เกิดขึ้นในจิตพร้อมกัน อีโก้ (ego)
จะต้องทำหน้าที่ตัดสินว่าจะเอาอย่างไรดี ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในตน (self
conflict) ทำให้มนุษย์ยุ่งยากใจในการตัดสินใจ แม้ธรรมจะชนะอธรรมในบางคราว
ก็ไม่ได้แปลว่า อิด (id) จะหายไป มันเพียงแต่ถูกกดข่มไว้เท่านั้น
เมื่อใดจริยธรรมหรือซุปเปอร์อีโก้อ่อนแอลง เมื่อนั้นอิด (id) จะแผลงฤทธิ์ขึ้นมาอีก
และอาจรุนแรงกว่าเดิม เพราะถูกเก็บกดไว้มาก
ในสังคมมนุษย์มีขนบประเพณีเข้มงวดกวดขัน
มนุษย์ต้องอยู่ในกรอบทั้งที่ไม่สมัครใจนั้น ดูอาการภายนอกเหมือนว่าเรียบร้อยดี
เพราะอิด (id) ถูกกดข่มไว้ด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม
แต่ภายในใจของเขาจะรุ่มร้อน วุ่นวาย สับสน ไม่เหมือนผู้ที่อยู่อย่างสมัครใจ
และเห็นคุณค่า จิตของใครมีแต่ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) ไม่มีอิด (id)
จิตนั้นจะสงบร่มเย็น ไม่มีความขัดแย้งสดชื่นอยู่ภายในเสมอ



