ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พระพุทธไตรรัตนนายก
พระพุทธไตรรัตนายก เรียกกันเป็นสามัญว่า หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง
ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพนัญเชิง ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก
ตรงข้ามกับมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา อำเภอเมือง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตามพระศาวดารกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867
ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี 26 ปี
ตอนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ใน สภาพดีมาโดยตลอด
กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฎมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่อัศจรรย์
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
ได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์และถวายพระนามว่า พระพุทธไตรรัตนายก
ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ทรงสร้างขึ้น ณ
บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก ส่วนที่มาของคำว่าพนัญเชิงนั้น
ตามตำนานมูลศาสนากล่าวว่าเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า พะแนงเชิง ซึ่งแปลว่า
การนั่งพับเพียบ
ซึ่งเป็นอาการที่พระเจ้าสายน้ำผึ้งและพระนางสร้อยดอกหมากใช้ในวาระสุดท้ายของเรื่อง
นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์ศัพท์ที่ใกล้เคียงพบว่า คำว่าพะแนงเชิง
ทางภาษาปักษ์ใต้หมายถึงอาการนั่งแบบขัดสมาธิ
หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย
หน้าตักกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 19 เมตร
เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน
ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโต องค์นี้ว่าซำปอกง
พระแก้วมรกต
พระพุทธชินราช
พระพุทธสิหิงค์
พระพุทธเทวปฏิมากร
พระศรีสากยมุนี
พระพุทธชินสีห์
พระศาสดา
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร
พระสิทธารถ
หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์
พระพุทธไตรรัตนนายก
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร
พระไสยา
พระนอนจักรสีห์
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก
พระนอนวัดขุนอินทประมูล
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์
พระนอนวัดคูหาภิมุข (วัดหน้าถ้ำ)
พระพุทธโสธร
หลวงพ่อเพชร
หลวงพ่อบ้านแหลม
หลวงพ่อโตวัดอินทร์