ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
พระราชพงศาวดารเหนือ
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
ศิลาจารึก
พงศาวดารเขมร
พงศาวดารมอญพม่า
พงศาวดารล้านช้าง
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า
หน้า 7 >>>
- จ.ศ.948 (พ.ศ.2129) วันจันทร์ แรมแปดค่ำ เดือนสิบสอง พระเจ้าหงษางาจีสยาง ยกพลลงมาเถิง กรุงพระนคร ฯ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้นสองค่ำ เดือนยี่ เข้าล้อมพระนคร ตั้งทัพ ตำบลขนอนปากคู แลทัพมหาอุปราชตั้ง ขนอนบางตนาว ทัพทั้งปวงตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่ ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ พระเจ้าหงษาเลิกทัพคืนไปใน วัน จ.ศ.949 (พ.ศ.2130) วันจันทร์ แรมสิบสี่ค่ำ เดือนห้า เสด็จโดยทางชลมารค ไปตีทัพมหาอุปราชแตกพ่ายไปตั้งอยู่ ณ บางกระดาน วันศุกร์ แรมสิบเอ็ดค่ำ เดือนหก เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพมหาอุปราช แตกพ่ายไป วันพฤหัสบดี ขึ้นค่ำ เดือนเจ็ด เสด็จพระราชดำเนินพยุหบาตรา ออกตั้งทัพไชย ณ วัดเดชะ ตั้งค่ายขุดคูเป็นสามารถ วันพฤหัสบดี ขึ้นแปดค่ำ เดือนเจ็ด เอาปืนใหญ่ลงสำเภาขึ้นไปยิงเอาค่ายพระเจ้าหงษา ๆ ต้านมิได้ก็เลิกทัพไปตั้ง ณ ป่าโมกใหญ่ วันจันทร์ ขึ้นสิบค่ำ เดือนสี่ เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพข้าเศิก ๆ นั้นแตกพ่าย และไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนค่ายพระเจ้าหงษานั้น วันอังคาร แรมสิบค่ำ เดือนสี่ เสด็จพระราชดำเนินออกตั้งเป็นทัพซุ่ม ณ ทุ่งหล่มพลี ออกตีทัพข้าเศึก ได้รบพุ่งตลุมบอนกันกับม้าพระที่นั่ง ทรงพระแสงทวนแทงเหล่าทหารตาย ข้าเศึกแตกพ่ายเข้าค่าย แลไล่แทงฟันข้าเศึกเข้าไปจนถึงน่าค่าย วันจันทร์ แรมสิบค่ำ เดือนสาม เพลานาฬิกาหนึ่งจะรุ่ง เสด็จยกทัพเรือออกไปตีทัพพระยานคร ซึ่งตั้งอยู่ ณ ปากน้ำมุทเลา เข้าตีทัพเถิงในค่าย ข้าเศิกพ่ายหนีจากค่าย แลเผาค่ายข้าเศิกเสียสิ้น พระเจ้าหงษาก็เลิกทัพคืนไป พระญาลแวกมาตั้ง ณ บางซาย ครั้งนั้นเสด็จออกไปชุมพลทั้งปวง ณ บางกระดาน วันพฤหัสบดี ขึ้นค่ำ เดือนสาม เพลาอุษาโยค เสด็จพยุหบาตรา จากบางกระดานไปตั้งทัพไชย ณ ซายเดือง แล้วเสด็จไปละแวก ครั้งนั้นได้ช้างม้าผู้คนมาก
- จ.ศ.950 (พ.ศ.2131) วันจันทร์ แรมแปดค่ำ เดือนสิบสอง แผ่นดินไหว
- จ.ศ.951 (พ.ศ.2132) ข้าวแพงเป็นเกียนละสิบตำลึง ปิดตราพญานารายณ์กำชับ วันศุกร์ แรมเจ็ดค่ำ เดือนยี่ แผ่นดินไหว
- จ.ศ.952 (พ.ศ.2133) วันอาทิตย์ แรมสิบสามค่ำ เดือนแปด สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระพฤฒาราชนฤพาน วันอังคาร แรมสองค่ำ เดือนสิบสอง มหาอุปราชา ยกทัพมาโดยทางกาญจนบุรี ครั้งนั้นได้ตัวพญาพสิม ตำบลจรเข้สามพัน
- จ.ศ.954 (พ.ศ.2135) วันศุกร์ แรมสองค่ำ เดือนสิบสอง
อุปราชายกมาแต่เมืองหงษา ณ วันเสาร์ แรมค่ำ เดือนอ้าย..... ครั้งเถิงเดือนยี่
มหาอุปราชายกมาเถิง แดนเมืองสุพรรณบุรี ตั้งทัพตำบลพังตรุ
วันอาทิตย์ขึ้นเก้าค่ำ เดือนยี่ เพลารุ่งแล้ว สี่นาฬิกาสองบาด เสด็จพยุหบาตรา
โดยทางชลมารค ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพชัยตำบลมะม่วงหวาน
วันพุธขึ้นสิบสองค่ำ เดือนยี่ เพลารุ่งแล้ว สองนาฬิกาเก้าบาด
เสด็จพยุหบาตราโดยทางชลมารค เมื่อใกล้รุ่ง เห็นพระสารีริกธาตุ
ปาฏิหารไปโดยทางที่จะเสด็จนั้น วันจันทร์แรมสองค่ำ เดือนยี่ เพลารุ่งแล้ว
ห้านาฬิกา สามบาด เสด็จทรงช้างต้นพระยาไชยนุภาพ เสด็จออกรบมหาอุปราชา
ตำบลหนองสาหร่าย
.....เมื่อได้ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น สมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้าต้องปืน ณ พระหัตถ์ข้างขวาหน่อยหนึ่ง อนึ่งเมื่อมหาอุปราชาขี่ช้างออกมายืนอยู่นั้น หมวกมหาอุปราชาใส่นั้นตกลงเถิงดิน แลเอาขึ้นใส่เล่า ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอช้างตายในที่นั้น แลช้างต้น พระยาไชยนุภาพ..... พระราชทานชื่อเจ้าพระยาปราบหงษา - จ.ศ.955 (พ.ศ.2136) วันจันทร์ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสิบ เสด็จเถิงพระมหาปราสาท ทรงพระโกรธแก่มอญ ให้เอามอญเผาเสียประมาณร้อย วันศุกร์ขึ้นสิบค่ำ เดือนยี่ เพลารุ่งแล้ว สามนาฬิกา หกบาด เสด็จพยุหบาตราไปเอาเมืองละแวก ตั้งทัพไชยตำบลบางขวด เสด็จครั้งนั้นได้ตัวพญาศรีสุพรรณ ในวันพุธ แรมค่ำ เดือนสี่
- จ.ศ.956 (พ.ศ.2137) ยกทัพไปเมืองสโตง
- จ.ศ.957 (พ.ศ.2138) วันอาทิตย์ ขึ้นสามค่ำ เดือนอ้าย เพลารุ่งแล้ว สามนาฬิกา เก้าบาด เสด็พยุหบาตราไปเมืองหงษา ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพไชยตำบลมะม่วงหวาน เถิงวันจันทร์ แรมสิบสามค่ำ เดือนสี่ เพลาเที่ยงคืนแล้ว เข้าปล้นเมืองหงษามิได้ ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา