สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ประเภทของลัทธิเผด็จการ
ลัทธิเผด็จการมีอยู่คู่กับสังคมโลกมาช้านาน
นับตั้งแต่มนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมยุคแรก ๆ
สังคมเผ่าส่วนใหญ่จะมีหัวหน้าเผ่าที่เป็นเผด็จการ ปัจจุบันสังคมได้วิวัฒนาการไปมาก
รูปแบบหรือประเภทของลัทธิเผด็จการก็เริ่มหลากหลายยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เนื่องมากจากผู้นำของประเทศนั้น ๆ
ได้พยายามที่จะนำเอาลัทธินี้มาเสริมแต่งเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม
และการเมืองของตน ทั้งนี้ผู้นำเหล่านี้มีจุดประสงค์หลักประการหนึ่งร่วมกัน
นั่นก็คือ เพื่อให้ตนอยู่ในอำนาจได้นานที่สุด
อย่างไรก็ตาม เราอาจที่จะแบ่งประเภทของลัทธิเผด็จการได้เป็น 2
ประการ โดยอาศัยหลักการในเรื่องขอบเขตของการใช้อำนาจเป็นเกณฑ์
เผด็จการอำนาจนิยม
ลักษณะสำคัญของเผด็จการประเภทนี้ คือ
รัฐบาลจะเข้าควบคุมสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน มักจะไม่
ยอมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
มีการตรวจสอบหรือใช้อำนาจรัฐสั่งปิดหนังสือพิมพ์มักจะอ้างลัทธิชาตินิยมมาสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจของผู้ปกครอง
แต่รัฐจะยังคงให้เสรีภาพในทางเศรษฐกิจและสังคม
กล่าวคือประชาชนสามารถที่จะเลือกนับถือศาสนา
ดำเนินชีวิตส่วนตัวและธุรกิจได้อย่างเป็นอิสระพอสมควร
รัฐเผด็จการอำนาจนิยมจะมีการลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของบ้านเมืองอย่างรุ่นแรง
ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ผู้นำอำนาจนิยมนั้นจะพยายามแสวงหาอำนาจ
และเมื่อได้อำนาจแล้วจะใช้อำนาจบีบบังคับและกำจัดฝ่ายตรงข้ามหรือศัตรูทางการเมือง
หรือแม้แต่กลุ่มการเมืองอื่น ๆ
ที่ผู้นำเห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสถานภาพของผู้นำเอง อย่างไรก็ตาม
กลุ่มทางเศรษฐกิจ สังคมอื่น ๆ เช่น สมาคม สมาพันธ์ หรือสหกรณ์ใด ๆ
ที่ดำเนินกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองนั้นจะไม่ได้รับผลกระทบหรืออาจได้รับผลกระทบ
แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เผด็จการเบ็ดเสร็จ
หมายถึง การปกครองโดยมีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดและ
ใช้อำนาจเด็ดขาดคนเดียว พยายามที่จะสร้างอุดมการณ์ขึ้นมา
สร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจ มีกาจัดตั้งพรรคการเมือง
หรืออาจอยู่ในรูปขององค์กรผู้นำพรรคเดียวเข้าควบคุมอำนาจทั้งทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมนั้นคือ บุคคลรวมทั้งกิจกรรมของบุคคลในสังคมทกคน
ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเศรษฐกิจ หรือสังคม
จะตกอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลและควบคุมกำกับโดยอำนาจรัฐ
มีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างรุนแรง พยายามสร้าง ความสำนึกให้ประชาชนเคารพ เชื่อฟัง
และปฏิบัติตามอำนาจรัฐ หรือคำสั่งของผู้นำโดยเคร่งครัดโดยถือเป็นหน้าที
เผด็จการประเภทนี้จะไม่ยอมให้มีฝ่ายตรงข้าม
สังคมที่ปกครองโดยลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จ จึงมีสภาพเป็นอาณาจักรแห่งความกลัว
ประชาชนไม่แน่ใจในสถานภาพของตนเอง พวกเขานอกจากจะถูกกีดกันออกจากการเมืองแล้ว
ยังถูกสกัดกั้นความคิดการกระทำทางของตนเอง
พวกเขานอกจากจะถูกกีดกันออกจากการเมืองแล้ว ยังถูกสกัดกั้นความคิดและการกระทำทาง
เศรษฐกิจ สังคมอีกด้วย รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จจะควบคุมเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
และจะใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อปลูกฝังความเชื่อ
ความศรัทธาให้เยาวชน หรือคนรุ่นใหม่ยึดมั่นในอุดมการณ์ของผู้นำ
ผู้นำของลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จมักจะอ้างว่าตนเองเป็นผู้ล่วงรู้หรือเข้าถึงเจตนารมณ์หรือความต้องการของคนทั้งหมด
เจตนารมณ์ของผู้นำจึงเป็นตัวแทนของเจตนารมณ์ของประชาชน
ผู้นำของลัทธินี้จึงอ้างว่าเป็นผู้ที่ถูกต้องเสมอ
ดังนั้นประชาชนจึงไม่มีสิทธิที่วิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้าน
ผู้ที่กล้าหาญวิพากษ์วิจารณ์
หรือคัดค้านคำสั่งของผู้นำนั้นจะถือว่าเป็นอาชญากรที่ต่อต้านรัฐ
และจะต้องถูกกำจัดไปด้วย
- ความหมายของเผด็จการ
- ลักษณะสำคัญของลัทธิเผด็จการ
- ประเภทของลัทธิเผด็จการ
- เผด็จการอำนาจนิยมกับเผด็จการเบ็ดเสร็จในเชิงเปรียบเทียบ
ที่มา
- วัชระ คลายนาทรและคณะ : สังคมศึกษาสมบูรณ์แบบ
- สุขุม นวลสกุลและคณะ : สังคมศึกษา