สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
3 อธิปไตย
3.1.ความหมายของอธิปไตย
3.2.ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
3.3.ลำดับชั้นในการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาล
3.4.ประเภทของอธิปไตย
3.5.องค์กร
3.6.ปัญหาความขัดแย้งทางอธิปไตย
3.2.ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
คำว่าอำนาจอธิปไตยนั้น โดยที่จริงแล้วมีลักษณะที่สำคัญ ๆ อยู่ 4 ประการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ก.มีความเด็ดขาดสมบูรณ์ (Absoluteness) ตามกรอบของพระธรรมวินัย กล่าวคือ
ไม่มีอำนาจใด ๆ มาตัดรอนหรือยับยั้งอำนาจนั้น ๆ ได้
ซึ่งในระบอบสังฆาธิปไตยนั้นสงฆ์เป็นใหญ่ ดังนั้นสงฆ์จึงมีอำนาจที่สมบูรณ์
ไม่มีอำนาจอื่นใดที่เป็นรูปลักษณะองค์กรจะอยู่เหนืออำนาจของสงฆ์ได้เมื่อสงฆ์ได้กระทำลงไปแล้ว
แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพในมติสงฆ์
- ข.ใช้ได้ทั่วไป (Comprehensiveness) เป็นอำนาจอธิปไตยที่ใช้ได้กับทุกหมู่เหล่าไม่ว่าภิกษุนั้นจะอยู่ป่าที่เรียกว่าอรัญวาสี หรือ อยู่ชุมชนที่เรียกว่าคามวาสี พระธรรมวินัยซึ่งเป็นเสมือนกฎหมายรัฐธรรมนูญมีรัศมีเข้าถึงทุกซอกมุมของหลีบซอกเขาในป่าหรือในถ้ำก็ใช้ได้ สงฆ์เองก็มีมาตรฐานของความเป็นสังฆาธิปไตยในทีทุกสถานไม่มีข้อยกเว้น
- ค.มีความถาวร (Permanence)
แม้สงฆ์บางกลุ่มจะมีปัจจัยทางกายภายที่แตกต่างกัน เช่น สงฆ์
กรณี...................อาบน้ำฯ เป็นต้น แต่ก็มีกรอบของสังฆาธิปไตย
หรืออำนาจสงฆ์ที่มีความคงทนถาวร แม้ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 2550 ปีหลังพุทธกาล
ความคงทนถาวรของอำนาจก็ยังมีอยู่
- ง.แบ่งแยกเป็นหลายหน่วยมิได้ (Indivisibility) แม้สงฆ์จะมีการแยกทำสังฆกรรมในกลุ่มของตัวเอง แต่อำนาจอธิปไตยก็ยังคงอยู่มิได้แยกออกเป็นหลายหน่วยแม้ในสมัยพุทธกาลจะมีสงฆ์อย่างกลุ่มของพระเทวทัตที่แยกออกไปทำสังฆกรรมต่างหาก แต่เมื่อดูพื้นฐานความรู้ ความเป็นจริงแล้วก็เกิดจากความเข้าใจผิดหรือหลงผิด และเมื่อรู้ว่าอะไรควรไม่ควรก็กลับมาเข้ากับหมู่สงฆ์เดิมซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก