สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
3 อธิปไตย
3.1.ความหมายของอธิปไตย
3.2.ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
3.3.ลำดับชั้นในการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาล
3.4.ประเภทของอธิปไตย
3.5.องค์กร
3.6.ปัญหาความขัดแย้งทางอธิปไตย
3.3.ลำดับชั้นในการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาล
ในการจัดลำดับชั้นทางการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าทรงกำหนด หลัก อาวุโส-ภันเต ในการรับเข้ามาในองค์กร ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้เป็นแนวคิดที่ปฏิเสธหรืออยู่ตรงข้ามกับแนวคิดของพวกพราหมณ์ในสมัยนั้นที่ยึดมั่นในเรื่องของวรรณะ เป็นยิ่งกว่าชีวิตและคุณธรรม ซึ่งการยึดหลักอาวุโส-ภันเตนี้เอง ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่จะเข้ามาบวชจะเปิดโอกาสให้ผู้มีอายุมากกว่าบวชก่อน ดังกรณีเจ้าศากยะที่ให้นายฉันนะบวชก่อนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่แม้มีอายุอ่อนกว่าแต่เมื่อมีโอกาสได้ออกบวชก่อนก็ถือพรรษาคือการนับปีที่เข้ามาเป็นหลัก ซึ่งมีการเรียงลำดับก่อนหลัง ดังนี้
- ก.ในกรณีบวชพร้อมกันหลายคนผู้ที่มีอายุมากกว่าทั้งวัน-เดือน-ปี
จะเป็นผู้ที่ได้รับการบวช ให้ก่อนตามลำดับ ยกตัวอย่าง
เจ้าศากยะทั้งหลายประกอบไปด้วย พระเจ้าภัททิยศากยะ, เจ้าอนุรทธะ, เจ้าอานนท์,
เจ้าภคุ, เจ้ากิมพิละ เมื่อประสงค์จะออกผนวชได้กราบทูลขอกลับพระพุทธเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้าพวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีความถือตัว
อุบาลีผู้นี้เป็นช่างกัลบกรับใช้พวกข้าพระพุทธเจ้ามานาน
ขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาบวชก่อนพวกข้าพระพุทธเจ้าจะอภิวาท ลุกต้อนรับ
ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่เขา
เมื่อเป็นเช่นนี้ความถือตัวว่าเป็นศากยะของพวกหม่อมฉันจักบรรเทาไป
นั้นแสดงให้เห็นถึงการจัดชนชั้นทางสังคมของสงฆ์ที่ต้องการให้ผู้ที่บวชเข้ามาแม้ห่างกันแค่ไม่ถึง
5-10 นาทีก็ต้องยอมรับในระบบ อาวุโส-ภันเต
- ข.เมื่อบวชแล้วพระที่บวชใหม่ที่มีอายุพรรษาต่ำกว่า 5 พรรษา จะถูกเรียกว่า
พระนวกะ ซึ่งแปลว่าผู้เข้ามาใหม่และต้องอยู่รับใช้พระอุปัชฌาย์ของตนก่อน
จนกว่าพรรษาจะพ้น 5 พรรษา หรือที่เรียกว่าพ้นนิสัยมุตตกะ
- ค.เมื่อบวชแล้วอายุพรรษาอยู่เลย 5 พรรษาแต่ก็ยังมีอายุพรรษาไม่ถึง 10
เรียกว่า พระ มัชฌิมะ หรือพระปานกลาง
คือพอที่จะบริหารควบคุมตัวเองได้โดยไม่ต้องมีพระอุปัชฌาย์คอยดูแลสอดส่องตักเตือนเพราะถือว่าพอจะรู้แล้วว่าอะไรควรไม่ควร
- ง.เมื่ออายุพรรษาครบ 10 แล้วเรียกว่า พระเถระ
แปลว่าพระผู้มั่นคงที่มีภูมิที่สามารถ คุ้มครองป้องกันตัวเองได้
ตลอดไปถึงการเป็นผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมและสามารถที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์
รับกุลบุตรบวชได้
- จ.เมื่อพรรษาครบ 20 พรรษาขึ้นไปเรียกว่า พระมหาเถระ แปลว่าพระผู้ใหญ่ที่มีความตั้ง มั่นในพระศาสนาสูงมีทั้งความฉลาดรอบรู้ในพระธรรมวินัย เป็นพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ของบรรดาเหล่าลูกศิษย์ที่มาแวดล้อมได้ ซึ่งการจัดลำดับชั้นดังที่กล่าวมานี้ย่อมส่งผลทำให้เกิดการมีอำนาจอธิปไตยที่แตกต่างกัน ตามจำนวนอายุพรรษา
กล่าวคือพระที่อาวุโสสูงสุดในสภานั้น ๆ หรือในการทำสังฆกรรมนั้น ๆ
มักจะเป็นประธานในพิธีกรรมเสมอ ในเรื่องดังกล่าวนี้ ปรีชา ช้างขวัญยืน
ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่า
ข้อดีทางสังคมที่เห็นได้ชัดคือ
พระวินัยนั้นใช้กับพระภิกษุทุกรูปทุกองค์เสมอกัน ทำให้เกิดความเสมอภาค
ซึ่งก็เป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย
ข้อนี้นับว่าสำคัญสำหรับสังคมสมัยพุทธกาล เพราะผู้ที่เข้ามาบวชอาจมาจากวรรณะต่าง ๆ
คือ พราหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ และศูทร ซึ่งมีธรรมเนียมและวิธีประพฤติต่างกัน
จำเป็นต้องให้ละเว้นสิ่งเดียวกันและกระทำในสิ่งที่ทรงมีพุทธานุญาตเหมือน ๆ กัน
มิฉะนั้นจะเกิดการดูถูกดูหมิ่นกันเองและจากคนภายนอก เมื่อหลักการนี้ขยายไปถึง
พุทธบริษัทธจำพวกอื่นก็จะเกิดลักษณะสังคมพุทธ คือสังคมที่ยอมรับความเสมอภาคของบุคคล
โดยยกย่องบุคคลตามคุณงามความดีที่กระทำ ซึ่งจะทำให้สังคมใหม่นี้ต่างกับสังคม
ที่เกิดจากศาสนาพราหมณ์ซึ่งยอมรับกันอยู่ในสมัยนั้น ความเสมอภาคดังกล่าว
ยังทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมอีกแง่หนึ่งนอกจากเรื่องการยึดมั่น
ในธรรมเป็นที่ตั้ง ความเสมอภาคทางกฎหมายนี้แม้ในปัจจุบันก็ถือว่าสำคัญ
เพราะเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
ของบุคคลเท่าเทียมกัน