วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

พลังงานและสิ่งแวดล้อม

แหล่งกำเนิดของพลังงานปิโตรเลียม

ปิโตรเลียมเป็นสารประกอบไฮโดรเจนกับคาร์บอน ซึ่งเรียกสั้นว่า "ไฮโดรคาร์บอน" ซึ่งเกิดจากการทับถมและแปรสภาพของซากพืชและซากสัตว์ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้นหินใต้ผิวโลก มีทั้งที่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ในสภาพของก๊าซ ของเหลว และของแข็ง นอกจากไฮโดรเจนและคาร์บอนแล้ว ปิโตรเลียมยังมีแร่อื่นประกอบอยู่ด้วย

ปิโตรเลียมเกิดจากการสารอินทรีย์ตกตะกอนสะสมและมีการแปรสภาพ โดยกระบวนการออกซิเดชั่น ในสภาวะที่เหมาะสมดังนี้คือ

  • การตกตะกอนอย่างมากมาย
  • สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับชีวิตอินทรีย์
  • สภาวะแอนนาโรบิกของตะกอน

เมื่อสารอินทรีย์ที่ทับถมอยู่ได้รับอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม ก็จะแปรสภาพเป็นปิโตรเลียมและจะไหลสู่เบื้องบนเนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่าหินรอบๆ ถ้าไม่มีอะไรกีดขวางก็จะขึ้นมาสู่ผิวโลก และระเหยไปตามธรรมชาติ แต่ถ้าบังเอิญมีชั้นหินที่มีสภาพกักเก็บ (Revervoir) อันประกอบไปด้วย หินกักเก็บ (Reservoir Rock) ปิโตรเลียมก็จะเข้าไปเก็บสะสมอยู่ในแหล่งนั้นๆ จนกว่าจะมีผู้สำรวจพบและขุดเจาะขึ้นมาใช้

ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม

1. ก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้ม (LPG)

เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเดือดต่ำมาก มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้องดังนั้น ในการเก็บรักษาต้องเพิ่มความดัน หรือลดอุณหภูมิให้ก๊าซเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เมื่อลุกไหม้จะให้ความร้อนสูง และมีเปลวที่สะอาด ไม่มีสี ประโยชน์ ใช้เป็นแก๊สหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ รวมทั้งเตาเผา เตาอบต่างๆ



2. เชื้อเพลิงเหลว แบ่งเป็น

น้ำมันเบนซิน (gasoline) เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์มาก โดยใช้จุดระเบิดที่หัวเทียน น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนนัมเบอร์ต่ำ จะมีราคาถูก เพราะการเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่ดี จึงมีการเติมสารจำพวกเตตระเอธิลเลต หรือสารเมทิลเทอร์-เธียรีมิวทิลอีเธน (MTBE) ลงไปเพื่อให้เบนซินมีคุณภาพดีขึ้น ใกล้เคียงกับเบนซินที่มีออกเทนนัมเบอร์สูง

น้ำมันก๊าด (kerosene) เป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในระยะแรก เดิมใช้สำหรับจุดตะเกียงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้หลายทาง เช่น ใช้เป็นส่วนผสมในยาฆ่าแมลง สีทาบ้าน น้ำมันขัดเงา และน้ำยาทำความสะอาด ใช้เป็นเชื่อเพลิงสำหรับรถแทรกเตอร์ และเป็นเชื้อเพลิงในการเผาเครื่องเคลือบดินเผา

น้ำมันดีเซล (Diesel) ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน เพราะต้องการความร้อนในลูกสูบที่เกิดจากการอัดอากาศสูง มักใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถแทรกเตอร์ หัวจักรรถไฟ รถบรรทุก รถโดยสาร และเรือประมง

น้ำมันเตา (fuel oils) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาหม้อน้ำ เตาเผา หรือเตาหลอมในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้กับเครื่องยนต์เรือเดินสมุทร เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

การใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียม

  • ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นแหล่งให้ความร้อน รวมถึงการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเตา (Fuel Oil) เป็นต้น
  • ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstocks) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จะเห็นว่าวัตถุดิบตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีล้วนมาจากผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมสามารถแบ่งตามการใช้ประโยชน์หลักๆ ได้ดังต่อไปนี้
  • ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการขับเคลื่อนยานพาหนะต่างๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติเหลว (NGL) น้ำมันเบนซิน (Gasoline) น้ำมันดีเซล (Diesel) และน้ำมันเครื่องบิน (JET A1) เป็นต้น
  • ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นแหล่งให้ความร้อน รวมถึงการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเตา (Fuel Oil) เป็นต้น
  • ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstocks) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

การจัดการสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แหล่งกำเนิดของพลังงาน
แหล่งกำเนิดของถ่านหิน
ผลกระทบจากการใช้ถ่านหิน
แหล่งกำเนิดของพลังงานปิโตรเลียม
ผลกระทบจากการใช้ปิโตรเลียม
แหล่งกำเนิดของก๊าซธรรมชาติ
แหล่งกำเนิดของพลังงานนิวเคลียร์
การนำพลังงานน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
พลังงานลม
พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานขยะ
พลังงานชีวมวล
การอนุรักษ์พลังงาน
การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน
สถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านพลังงานของโลก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย