วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

พลังงานและสิ่งแวดล้อม

แหล่งกำเนิดของก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งประกอบด้วย ธาตุถ่านคาร์บอน (C) กับธาตุ ไฮโดรเจน (H) จับตัวกันเป็นโมเลกุล โดยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตตามชั้นหิน ดิน และในทะเลหลายร้อยล้านปีมาแล้ว เช่นเดียวกับน้ำมัน และเนื่องจากความร้อนและความกดดันของผิวโลกจึงแปรสภาพเป็นก๊าซแก๊สธรรมชาติเกิดอยู่ใต้พื้นดิน อาจเป็นบนบกหรือในทะเล และอาจพบอยู่ตามลำพัง ในสถานะแก๊สหรืออยู่รวมกับน้ำมันดิบ

แหล่งแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย ประกอบด้วยแก๊สมีเทนเป็นส่วนใหญ่ แก๊สธรรมชาติบางส่วนเกิดจากความร้อนสูงภายในโลก ทำให้น้ำมันดิบที่ถูกเก็บกักไว้เป็นเวลานานเกิดการสลายตัวเป็นแก๊สธรรมชาติอยู่เหนือชั้นน้ำมันดิบ

ผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติ

1. ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่าก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ รู้จักกันในชื่อว่า ?ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์? (Natural Gas for Vehicles : NGV)

2. ก๊าซอีเทน (C2) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป

 

3. ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : ก๊าซโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นได้เช่นเดียวกัน และหากนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) หรือที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ และใช้ในการเชื่อมโลหะได้รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย

4. ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon) : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต เรียกว่า คอนเดนเสท (Condensate) สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป

5. ก๊าซโซลีนธรรมชาติ แม้ว่าจะมีการแยกคอนเดนเสทออกเมื่อทำการผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว ไฮโดรคาร์บอนเหลวนี้ก็จะถูกแยกออก เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (natural gasoline) และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้เช่นเดียวกับคอนเดนเสท และยังเป็นตัวทำละลาย ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน

6. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ : เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้ว จะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง เรียกว่า น้ำแข็งแห้ง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่ง นำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต หรือการถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้วัยรุ่นคุ้นเคยเป็นอย่างดีล่ะซิ

ผลกระทบจากการใช้ก๊าซธรรมชาติ

ทำให้เกิดมลภาวะในอากาศเช่นเดียวกับถ่านหิน คือ จะมีก๊าซ CO2 SO2และ NOx ถูกปล่อยออกมาที่ส่งผลโดยตรงต่อมนุษย์และบรรยากาศของโลก เช่น การเกิดฝนกรด ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น

การจัดการสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แหล่งกำเนิดของพลังงาน
แหล่งกำเนิดของถ่านหิน
ผลกระทบจากการใช้ถ่านหิน
แหล่งกำเนิดของพลังงานปิโตรเลียม
ผลกระทบจากการใช้ปิโตรเลียม
แหล่งกำเนิดของก๊าซธรรมชาติ
แหล่งกำเนิดของพลังงานนิวเคลียร์
การนำพลังงานน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
พลังงานลม
พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานขยะ
พลังงานชีวมวล
การอนุรักษ์พลังงาน
การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน
สถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านพลังงานของโลก

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย