ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ลัทธิของค้านท์

หน้าที่กับกฎศีลธรรม

การทำตามหน้าที่คือการทำตามเหตุผล ได้แก่การทำตามกฎโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกใด ๆ ทั้งสิ้น กฎในที่นี้หมายถึง กฎทางศีลธรรมคือกฎที่มีลักษณะเป็นคำสั่ง เช่น จงพูดคำสัตย์ จงอย่าทำลายชีวิต

คำสั่งมี 2 แบบ คือ

  1. คำสั่งที่มีเงื่อนไข (Hypothetical Imperative)
  2. คำสั่งเด็ดขาด (Categorical Imperative)
    - คำสั่งที่มีเงื่อนไข เช่น ถ้า คุณขยัน คุณจะสอบไล่ผ่าน ถ้าคุณซื่อสัตย์ คุณจะขายของได้กำไร
    - คำสั่งเด็ดขาด เช่น จง ซื่อสัตย์เพราะความซื่อสัตย์เป็นความดี

คำสั่งเด็ดขาดหรือกฎทางศีลธรรมที่ตายตัวในจริยศาสตร์ของค้านท์ก็คือ

“จงทำตามหลักซึ่งท่านจงใจที่จะให้เป็นกฎสากล”

 

“จงปฏิบัติต่อมนุษย์โดยถือว่าเขาเป็นจุดหมายในตัวเอง อย่าถือเขาเป็นเพียงเครื่องมือไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเองหรือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน”

การที่คนทำผิดเพราะไม่เป็นอิสระ คือถูกกระแสอารมณ์ความอยาก ผลักดันให้ทำผิด คนเป็นอิสระ คือคนที่หลุดพ้นจากกระแสเหล่านั้นมาอยู่บนเหตุผลหรือปัญญา ถ้าทุกคนมีปัญญาบริสุทธิ์ ทุกคนจะเห็นความถูกต้องของกฎศีลธรรมเหมือนกันหมด ค้านท์ถือว่า

“การกระทำตามกฎศีลธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์หลุดพ้นจากกระแสความรู้สึกมาสู่ปัญญาเท่านั้น”

การกระทำที่ถูก คือการกระทำที่เกิดจากเจตนาดี การกระทำที่เกิดจากเจตนาดี คือการกระทำที่สำนึกในหน้าที่ การกระทำที่เกิดจากหน้าที่ คือการกระทำที่เกิดจากเหตุผล การกระทำที่ตั้งอยู่บนเหตุผลคือการกระทำที่เกิดจากกฎศีลธรรม

หลักการคือเจตนาที่ดี
เจตนาที่ดีคือการกระทำตามหน้าที่
หน้าที่กับกฎศีลธรรม
วิจารณ์จริยศาสตร์ของค้านท์
เปรียบเทียบแนวคิดของค้านท์และประโยชน์นิยม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย