ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
สาระความรู้ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
เห็ดหลินจือ
หลินจือ เป็นคำเรียกทับศัพท์ภาษาจีน Ling Zhi หมายถึงเห็ดหมื่นปี
ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Lacquered mushroom และ Holy mushroom
ส่วนในประเทศไทยนั้นมีทั้งที่เรียกทับศัพท์ภาษาจีนว่า หลินจือ ที่แปลมา
จากภาษาญี่ปุ่นว่า หมื่นปี หรือตั้งชื่อใหม่ว่าเห็ดอมตะ
เห็ดหลินจือเป็นเห็ดที่ชาวจีน มีความเชื่อถือว่ามีสรรพคุณทางยามา แต่โบราณนับพันปี
ในปี ค.ศ 1971 ได้มีการปลูกเห็ดชนิดนี้ในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย
ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่ช่วยบำรุงรักษาและส่งเสริมสุขภาพ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เห็ดหลินจือ จัดเป็นเห็ดที่มีอายุข้ามปี
ดอกเห็ดเกิดเป็นดอกเดียว หรือ เป็นกลุ่มที่มีโคนติดกันกลุ่มละ 3-4 ดอก
ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายพัด ซึ่งมีก้านหรือไม่มีก้าน ดอกเห็ดที่มีก้าน
ก้านจะเกิดอยู่กึ่งกลางหรือค่อนไปข้างใด ข้างหนึ่งของดอก ผิวหมวกเห็ดมี
ลักษณะเป็นมันเงา คล้ายทาด้วยแชลแลคสีน้ำตาลแดงอาจมีสีเหลืองหรือสีขาวบริเวณขอบหมวก
เนื้อเยื่อภายในดอกเห็ดเป็นเส้นใยสีน้ำตาลและมีความหนาจากผิวหมวกลงไปถึงรูเล็กๆ
สีขาว หรือเหลืองอ่อน เมื่อเวลาแก่หรือจับต้อง จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
สปอร์มีสีน้ำตาลรูปวงรี ปลายบนมีผิวหน้าตัดผนังหมวกเป็น 2 ชั้น
และมีหนามที่มียอดแหลมชี้ไปที่ผนังชั้นนอกแต่ไม่ทะลุผิวนอก ผิวนอกของสปอร์เรียบ
สูตรอาหารสำหรับประเทศไทย มีดังนี้คือ
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำ และน้ำตาลทราย ในอัตราส่วน 100:3:2
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำ ยิบซั่ม ปูนขาวและดีเกลือในอัตราส่วน 100:5:0:2
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำ ยิบซั่ม ปูนขาวและดีเกลือในอัตราส่วน 100:5:1:0:2 (โดยน้ำหนักรวม)
- ขี้เลื่อยไม้เบญพรรณ ปูนขาว และแอมโมเนียมซัลเพต (21-0-0) ในอัตราส่วน 100:1:2 ผสมกับน้ำ คลุกให้ทั่ว หมักนาน 2 เดือน โดยกลับกองที่หมักนี้ทุกๆ 15 วันหมักจนหมดกลิ่น ต่อจากนั้นนำขี้เลื่อยซึ่งหมักได้ที่แล้วมาผสมกับรำและน้ำตาลในอัตราส่วน 100:3:2
กรดซิตริก
กระดาษสา
กระเจี๊ยบแดง
กล็อกซิเนีย
กล้วยร้อยหวี
เกลือแร่
แก๊สชีวภาพ
แกลดิโอลัส
เก๊กฮวย
กุหลาบ
การสเตอริไรส์
การสังเคราะห์แสง
ขนุน
ขิง (Ginger)
ไขมัน
ข้าว
ต้นข้าว
ดอกข้าว
รวงข้าว
คลอโรฟิลล์
คะตะเลส (Catalase)
คาร์เนชั่น
คาร์โบไฮเดรต
เคซีน (Casein)
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การพาสเจอร์ไรส์แบบเพลท
แครอท
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย
จิบโซฟิลล่า
จุลินทรีย์
ซีไฟโคไซยานิน
ดินพรุ
ไม้ตะแบกเลือด
ตะไคร้
นม
นมข้นหวาน
นมดิบ
นมพาสเจอร์ไรส์
นมสด
นมสดปราศจากไขมัน
หางนม
นาดำ
นาหว่าน
น้ำตาล
เนยสด
เนยแข็ง
เนยแข็งปรุงแต่ง
เบญจมาศ
ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยหมัก
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เห็ดหลินจือ
เอนไซม์ (Enzymes)
เรนเนท (rennet)
โฮโมจิไนส์