ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
สาระความรู้ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
เอนไซม์ (Enzymes)
เอนไซม์ (Enzymes) คือสารอินทรีย์เร่งปฏิกริยา (Organic catalysts) ทีมีโครงสร้างซับซ้อน คนไทยนิยมเรียกเอนไซม์ว่า น้ำย่อย (อาหาร) เช่นน้ำย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน เอนไซม์สร้างมาโดยเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ หน้าที่ของเอนไซม์เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวะเคมี คือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีของกรรมวิธีต่างๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก เอนไซม์แต่ละชนิดทำหน้าที่ได้ดี ณ อุณหภูมิ, pH และ substrate (สารที่ถูกทำให้ลลายตัว) เฉพาะเท่านั้น เอนไซม์ทั้งหลายที่เรารู้จักคือโปรตีน เอนไซม์บางชนิดมีสาร non-proteins รวมอยู่ด้วย เรียกว่า prosthetic groups ซึ่งจำเป็นในการเร่งปฏิกริยาบางอย่าง แต่องค์ประกอบส่วนมากแล้วเป็นโปรตีนเกือบทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะถูก inactivate ด้วยความร้อนในน้ำนมมีเอนไซม์มากมายหลายชนิด ซึ่งหลั่งออกมาจากเซลล์ของต่อมเต้านม เอนไซม์เหล่านี้ยังไม่ทราบหน้าที่แน่นอนว่ามีอยู่ในน้ำนมเพื่อทำหน้าที่อะไร หรือเป็นส่วนที่มากเกินพอแล้วถูกขับออกมาในน้ำนมระหว่างการหลั่งน้ำนม เอนไซม์ที่พบในน้ำนมมีประมาณ 20 ชนิด มีประมาณ 5 ชนิดที่ทราบรายละเอียด อีกประมาณ 15 ชนิด ยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก ส่วนเอนไซม์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยแบคทีเรียในน้ำนม ไม่จัดว่าเป็นเอนไซม์ที่เป็นส่วนประกอบของน้ำนม เอนซม์ในนมมีหลายชนิด เช่น ไลเปส คะตะเลส แลคเตส เป็นต้น
ที่มา: วิทยาศาสตร์น้ำนม, ทองยศ อเนกะเวียง พ.ศ. 2524,หน้า 112
กรดซิตริก
กระดาษสา
กระเจี๊ยบแดง
กล็อกซิเนีย
กล้วยร้อยหวี
เกลือแร่
แก๊สชีวภาพ
แกลดิโอลัส
เก๊กฮวย
กุหลาบ
การสเตอริไรส์
การสังเคราะห์แสง
ขนุน
ขิง (Ginger)
ไขมัน
ข้าว
ต้นข้าว
ดอกข้าว
รวงข้าว
คลอโรฟิลล์
คะตะเลส (Catalase)
คาร์เนชั่น
คาร์โบไฮเดรต
เคซีน (Casein)
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การพาสเจอร์ไรส์แบบเพลท
แครอท
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย
จิบโซฟิลล่า
จุลินทรีย์
ซีไฟโคไซยานิน
ดินพรุ
ไม้ตะแบกเลือด
ตะไคร้
นม
นมข้นหวาน
นมดิบ
นมพาสเจอร์ไรส์
นมสด
นมสดปราศจากไขมัน
หางนม
นาดำ
นาหว่าน
น้ำตาล
เนยสด
เนยแข็ง
เนยแข็งปรุงแต่ง
เบญจมาศ
ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยหมัก
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เห็ดหลินจือ
เอนไซม์ (Enzymes)
เรนเนท (rennet)
โฮโมจิไนส์