ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ตำนานเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์
การเทศน์มหาชาติ คือการมหากุศลที่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ
คือความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว
เพื่อผลประโยชน์สูงอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญเป็นเทศกาลที่คงความหมายอย่างแท้จริง
การเทศน์ทุกกัณฑ์จะมีผู้เป็นเจ้าภาพจัดกัณฑ์เทศน์ถวาย
เมื่อพระที่ตนรับกัณฑ์เทศน์ขึ้นเทศน์เจ้าภาพจะจุดเทียนบูชาคาถาหว่านข้าวตอกข้าวสาร
การเทศน์ในสมัยก่อนพระเจ้าของกัณฑ์จะอ่านจากอักษรธรรม(อักษรลาว)
ซึ่งจารลงบนใบลานเป็นแผ่นยาว คำว่า"จาร" มาจากภาษาเขมรแปลว่า
การเขียนด้วยเหล็กแหลมบนใบลาน
แต่ปัจจุบันจะนิยมพิมพ์ลงบนใบลานเป็นตัวหนังสือไทยปัจจุบัน
เป็นเรื่องราวในแต่ละกัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสำหรับพระรุ่นใหม่
เมื่อจบกัณฑ์จะตีฆ้องเป็นสัญญาณ
การเป็นเจ้าของกัณฑ์ในหมู่บ้านในชนบทอาจแบ่งเจ้าภาพเป็นคุ้ม
เรื่องราวและประวัติความเป็นมาแต่ละกัณฑ์มีดังนี้
ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ
ตำนานเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์
กัณฑ์ที่ 1 ทศพร
กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์
กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์
กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศ
กัณฑ์ที่ 5 ชูชก
กัณฑ์ที่ 6 จุลพน
กัณฑ์ที่ 7 มหาพน
กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร
กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์ที่ 10 สักกบรรพ
กัณฑ์ที่ 11 มหาราช
กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์
กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์