สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ภาวะสังคมในสหรัฐอเมริกา
ในหนังสือ The Index of Leading Cultural Indicators ของ William J.Bennett
ได้ให้ข้อมูลว่า ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาได้ดีขึ้นมาก จาก
ค.ศ. 1960 รายได้ประชาชาติเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่า
รายจ่ายเพื่อสวัสดิการสังคมได้เพิ่มขึ้น 630% เพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นกว่า 200%
สหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุด แต่ในระยะ 30
ปีที่ผ่านมาสังคมได้เสื่อมทรามลงปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นมาก จากปี ค.ศ. 1960
อาชญากรรมได้เพิ่มขึ้น 560% การฆ่าตัวตายของวัยรุ่นได้เพิ่มขึ้นกว่า 200%
อัตราการหย่าร้างได้เพิ่มขึ้นเกือบ 200% ปัญหาสังคมที่น่าเป็นห่วงมีหลายปัญหา อาทิ
ปัญหายาเสพติด ปัญหาการดื่มสุรา ปัญหาการฆ่าตัวตาย ปัญหาการข่มขืน ปัญหาโจรกรรม
ปัญหาการประทุษร้ายต่อร่างกาย
สิ่งที่ทำให้สังคมเสื่อมทรามลงคือ
ความเสื่อมของค่านิยมทางศีลธรรมและสังคม (moral and social value) Mr.Alexander
Solzhenitsyn ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ได้กล่าวสุนทรพจน์มีข้อความตอนหนึ่งว่า
ศีลธรรมและจริยธรรมในตะวันตกได้ผุกร่อนลง ชีวิตด้านจิตในของคนได้มืดมัวลง
ความเสื่อมโทรมด้านสังคมในระยะ 30 ปี
ส่วนใหญ่เนื่องมาจากความอ่อนแอของสถาบันสังคม (Social institutions)
ความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันสังคมที่สำคัญ 3 สถาบัน คือ สถาบันการศึกษา
สถาบันศาสนา และสถาบันครอบครัว รวมทั้งความบกพร่องในการสอนจริยศึกษา (moral
education) แก่เยาวชน
Mr. William Muechison นักเขียนคอลัมน์ที่มีชื่อเสียงของอเมริกา
ได้เขียนหนังสือเรื่อง "Reclaiming Morality in America"
หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวว่าสหรัฐอเมริกากำลังประสบปัญหาสังคมที่ร้ายแรงอย่างไม่เคยประสบมาก่อน
เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาครอบครัว
การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ
ถ้าไม่นำศีลธรรมที่สูญหายไปแล้วกลับคืนมา ในการนำศีลธรรมให้กลับคืนมา
จะต้องสร้างจิตสำนึกในเรื่องศาสนา (religions consciousness) ให้เกิดขึ้นก่อน
ในหนังสือ To Renew America เขียนโดย Newt Gingrich
ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงปัญหาที่ท้าทายสหรัฐอเมริกา
และข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา
ปัญหาที่ท้าทายประการหนึ่งก็คือ ระบบสวัสดิการสังคม Newt Gingrich
ได้กล่าวว่า ระบบสวัสดิการสังคมได้ลดสถานภาพของคนจากประชาชน (citizen)
มาเป็นลูกค้าหรือคนไข้ (client) ได้ทำให้ครอบครัวแตกแยก
ได้ลดสิ่งจูงใจในการทำงาน ป้องกันประชาชนมิให้มีการออมและแสวงหาทรัพย์สิน
และบดบังความหวังในอนาคตให้จมอยู่ในความหมดหวังในปัจจุบันที่เกิดจากความยากจน
ความรุนแรงการสิ้นหวัง
ค่าใช้จ่ายของสวัสดิการสังคมในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินถึง 305
พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก พ.ศ. 2508 ได้จ่ายเงินเพื่อสวัสดิการสังคมเป็นเงินกว่า
5,000,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
มากกว่าจำนวนเงินที่ใช้จ่ายในการชนะสงครามโลกครั้งที่ 2
ทั้งที่มีการจ่ายเงินจำนวนมหาศาลภาวะของชุมชนที่ยากจนส่วนมากแทนที่จะดีขึ้นกลับเลวลงจาก
พ.ศ. 2513 จำนวนเด็กที่ต้องพึ่งสวัสดิการสังคมได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จาก พ.ศ.
2508 คดียุวชนอาชญากรรมที่ร้ายแรงได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า จาก พ.ศ. 2503
จำนวนเด็กหญิงวัยรุ่นที่มีครรภ์โดยไม่มีการแต่งงานได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า
อัตราการฆ่าตัวตายของเด็กวัยรุ่นได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า จาก พ.ศ. 2503
เงินรายจ่ายเพื่อสวัสดิการสังคมได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
จำนวนการเกิดนอกสมรสได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นเส้นขนาน
ยิ่งจ่ายเงินสวัสดิการสังคมเพื่อแก้ไขความยากจนมากเท่าไร
ประชาชนก็ตกอยู่ในความยากจนเพิ่มมาขึ้นเท่านั้น
Newt Gingrich ได้เสนอว่า
จะต้องเปลี่ยนระบบสวัสดิการด้วยสังคมที่ให้โอกาส (Replacing the Welfare State
within Opportunity Society) โดยดำเนินการ 8 ขั้นตอน ดังนี้
- เปลี่ยนจากการให้การดูแลเป็นการเอื้ออาทร
- ฟื้นฟูกิจการอาสาสมัครและการฟื้นฟูด้านจิตวิญญาณ
- ทำให้เกิดความมั่นใจในคุณค่าอารยธรรมของอเมริกัน
- ย้ำเรื่องครอบครัวและการทำงาน
- สร้างสิ่งจูงใจในด้านภาษีเพื่อการทำงาน การลงทุน และการประกอบธุรกิจ
- ส่งเสริมการออมและการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
- การเรียนรู้เป็นจุดเน้นของการศึกษา
- การป้องกันความรุนแรงและยาเสพติด
ภาวะสังคมในสหรัฐอเมริกา
ภาวะวิกฤตทางสังคมไทย
วิกฤตสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์และทางออก
การขัดเกลาทางสังคม