สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การจัดระเบียบทางสังคม

องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม

บทบาท (Roles)

หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่และสิทธิของตนตามสถานภาพในสังคม เช่น สถานภาพเป็นนักเรียนก็จะต้องมีบทบาทเรียนหนังสือ ขยันหมั่นเพียร เป็นคนดี เชื่อฟังคำสั่งสอนของครู เป็นต้น

บทบาทขัดกัน (Roles Conflicts) หมายถึง การที่คนคนหนึ่งมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกันและขัดกันเอง ทำให้ยากต่อการปฏิบัติตามบทบาทใดบทบาทหนึ่ง เช่น เป็นตำรวจที่จะต้องจับกุมลูกหลานของตนซึ่งเป็นโจร เป็นต้น

ข้อสังเกตที่เกี่ยวกับบทบาท มีดังนี้

  1. หากสมาชิกแสดงบทบาทได้เหมาะสมกับสถานภาพ ก็ย่อมจะเกิดผลดีต่อตัวเอง
  2. เมื่อบุคคลมีอายุมากขึ้นย่อมมีบทบาทมากขึ้นตามสถานภาพ
  3. ถ้าสมาชิกทุกคนแสดงบทบาทได้เหมาะสม สังคมโดยส่วนรวมย่อมเกิดความเป็นระเบียบเรียบ ร้อย
  4. ในกรณีที่บุคคลมีหลายสถานภาพในเวลาเดียวกัน อาจทำให้เกิดบทบาทขัดแย้ง(Conflict Role) ขึ้นได้

 

ประโยชน์ของสถานภาพและบทบาท มีดังนี้คือ

  1. ทำให้บุคคลรู้จักฐานะของตนเองในสังคม
  2. ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มสมาชิก
  3. ทำให้บุคคลมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
  4. ช่วยให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย

สถานภาพและบทบาทเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน สถานภาพเป็นตัวกำหนดบุคคลให้รู้จักหน้าที่และความ รับผิดชอบ บทบาทเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและคาดหมายให้บุคคลกระทำ เช่น สถานภาพนักเรียนบทบาทในสังคมก็คือ เคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งสอนอบรมของครู เป็นต้น

บรรทัดฐานทางสังคมหรือปทัสถาน (Norms)
สถานภาพ (Status)
บทบาท (Roles)
สิทธิและเสรีภาพ สิทธิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
การควบคุมทางสังคม (Social control)
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย