สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การจัดระเบียบทางสังคม

องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม

กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)

หมายถึง กระบวนการปลูกฝังบรรทัดฐานของกลุ ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ด้วยดี ฉะนั้นการขัดเกลาทางสังคมจึงเป็นวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรม

ขั้นตอนในการขัดเกลาทางสังคมหรือการอบรมสั่งสอน

  1. ขั้นปฐมภูมิ เป็นการอบรมขัดเกลาที่ได้รับในวัยเด็กนับตั้งแต่คลอดออกมา โดยได้จากครอบครัว โรงเรียน เพื่อน ทำให้เกิดบุคลิกภาพเป็นของตนเองโดยเฉพาะ
  2. ขั้นทุติยภูมิ เป็นการอบรมขัดเกลาที่ได้รับในช่วงประกอบอาชีพ เพื่อเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของ ตน เช่น เป็นครู เป็นแพทย์ เป็นนักธุรกิจ

รูปแบบการอบรม

  1. โดยตรง (Direct Socialization) พบเห็นในหมู่ครอบครัว โรงเรียน และวัด เป็นการเรียนรู้ อย่างแจ่มแจ้ง
  2. โดยอ้อม (Indirect Socialization) เป็นการลอกเลียนแบบมาปฏิบัติ เช่น พ่อแม่ชอบใช้คำหยาบ ลูกก็จะพูดคำหยาบด้วย

พื้นฐานของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมมาจาก

  1. มนุษย์ต้องพึ่งพาผู้อื่นในวัยเด็ก ทำให้เกิดความผูกพันรักใคร่พอใจจะขัดเกลาให้
  2. มนุษย์มีการติดต่อระหว่างกันทางสังคม จำต้องได้รับการขัดเกลาและอบรมสั่งสอนมาก่อน
  3. มนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้ จึงทำให้การขัดเกลาได้ผลตามที่สังคมคาดหวัง
  4. การที่มนุษย์สามารถสร้างภาษาขึ้นใช้ ทำให้มนุษย์สามารถใช้เป็นสื่อในการขัดเกลา อบรมสั่งสอน เข้าใจตรงกัน

 

ความมุ่งหมายของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

  1. เป็นการปลูกฝังระเบียบวินัยแก่สมาชิกในสังคม
  2. เป็นการปลูกฝังความมุ่งหวังที่สังคมยกย่อง
  3. สอนสมาชิกในสังคมให้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนตามกาลเทศะและความเหมาะสม
  4. สอนให้สมาชิกในสังคมเกิดความชำนาญหรือทักษะที่จะร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นในสังคม

เครื่องมือที่ใช้ในการอบตมสั่งสอนหรือขัดเกลาทางสังคม ได้แก่

  1. บรรทัดฐาน (Norms)
  2. ค่านิยม (Values)
  3. ความเชื่อ (Beliefs)

ที่มา

  • วัชรา คลายนาทรและคณะ,ส401 สังคมศึกษา สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช(2533)
  • วิทย์ วิศทเวทย์และคณะ,หนังสือเรียนสังคมศึกษารายวิชา ส401 สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์(2533)
  • สุพัตรา สุภาพและคณะ,หนังสือเรียนสังคมศึกษา ส401 สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช(2533)

บรรทัดฐานทางสังคมหรือปทัสถาน (Norms)
สถานภาพ (Status)
บทบาท (Roles)
สิทธิและเสรีภาพ สิทธิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
การควบคุมทางสังคม (Social control)
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย