สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

สมุนไพรบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนและสรรพคุณอื่นๆ
วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือนไม่ต้องพึ่งยา
ยาแผนปัจจุบันแตกต่างกับสมุนไพรอย่างไร

สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนและสรรพคุณอื่นๆ

ยอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.
ชื่อวงศ์ : Rubiaceae
ชื่อสามัญ : Indian Mulberry
ชื่ออื่น : ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ: ไม้ต้น สูง ๒-๖ เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง ๘-๑๕ ซม. ยาว ๑๐-๒๐ ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๕ แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก

สรรพคุณ :

ใบ - มีวิตามินเอ ๔๐๐,๐๐๐ กว่ายูนิตสากลต่อ ๑๐๐ กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง

ราก - ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น
ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน
ผลดิบ - ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ ๑ กำมือ (๑๐-๑๕ กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

กระเทียม
ขี้เหล็ก
ข่อย
ขิง
ดีปลี
ตะไคร้
บัวบก
ยอ
ว่านชักมดลูก
พริกไทย
ไพล
หอม
เถาคันแดง
ขึ้นฉ่าย