วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ชีวิตและพันธุกรรมกำหนดของความเป็นมนุษย์
ปิแอร์ ลุยกิ ลุยสิ, มหาวิทยาลัยโรมา อิตาลี
ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วินสู่ยุคพันธกรรมมนุษย์
สัญชาติญาณของเอปนักฆ่า
ความก้าวร้าวของมนุษย์มีหลักฐานเชิงประจักษ์บันทึกในประวัติศาสตร์นับพันปีที่มนุษย์ใช้ชีวิตทำสงครามและฆ่ามาตลอดเวลา สิ่งนี้กำหนดจากพันธุกรรมหรือไม่? เราถูกกำหนดให้ก้าวร้าว เข่นฆ่าซึ่งกันและกัน ทำสงคราม เพราะนี่คือ ความเป็นมนุษย์ ทางพันธุกรรมกระนั้นหรือ? มีข้อพึงสังเกตที่น่าสนใจ คือมีสิ่งมีชีวิตสปีซีส์อื่นน้อยมากที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ จากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราเป็นสัตว์ที่อำมหิตโหดเหี้ยมที่สุด ในบรรดาสปีซีส์ทั้งหมด
ผู้เรียบเรียงได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง โดยแรงแฮมและปีเตอร์สัน (Wrangham and Peterson, 1997) เรื่อง Demonic males นักมานุษยวิทยาทั้งสองท่านศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าว ในมนุษย์และ ในลิงใหญ่ไม่มีหาง (apes) และได้ข้อสรุปที่ไม่น่าสบายใจนักว่า มีแค่สองสปีซีส์เท่านั้น ได้แก่ มนุษย์ และชิมแปนซี ที่เป็น เอปนักฆ่า (killing apes) คือมีอุปนิสัยหรืออย่างน้อยก็เป็นความ สามารถในการที่จะจัดการกลุ่ม หรือสร้างพันธะระหว่างสัตว์ตัวผู้ในกลุ่มเพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือ การฆ่าสัตว์สปีซีส์เดียวกันตัวอื่นอย่างเลือดเย็น และจากความจริงที่ว่ามนุษย์พึ่งจะเกิด วิวัฒนาการแยกตัวออกมา จากสายลิงชิมแปนซีเมื่อประมาณ 5 ล้านกว่าปีมานี้เท่านั้น และเอปทั้งหมด (เอปคือลิงใหญ่ไม่มีหาง) นั้นแยกสายวิวัฒนาการออกจากลิงอื่นๆมานานถึง 20 ล้านปี กอริลล่าแยกออกไปประมาณ 10 ล้านปี และเราจากชิมแปนซีประมาณ 5 ล้านปีเท่านั้น ในสายวิวัฒนาการที่ว่านี้ ยังมีเรื่องที่น่าสนใจมากคือมีเอปอีกชนิดหนึ่ง ชื่อว่าโบโนโบ (bonobo) ลักษณะคล้ายๆกับชิมแปนซีตัวเล็ก ปรากฏว่าสายโบโนโบนั้นไม่มีคุณลักษณะก้าวร้าวเลย เป็นสัตว์ที่เป็นมิตรที่สุด สันติภาพที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด
นักมานุษยวิทยาทั้งสองท่านไม่เชื่อในข้อโต้แย้งที่ว่า ที่จริงบนโลกเรานี้ ก็ยังมีที่ที่อยู่กันอย่างสันติ ปราศจากความรุนแรงอยู่บ้าง ผู้เรียบเรียงขอยกบทความบางตอนจากหนังสือเล่มนี้ดังนี้
... ทั้งในประวัติศาสตร์ของมวงมนุษย์ และทั่วทั้งโลก ไม่มีหลักฐานใดๆเลย ที่แสดงถึงการมีอยู่ของสังคมแห่งสันติสุข บทสรุปที่ว่ามนุษย์และชิมแปนซี ต่างก็มีลักษณะแห่งความก้าวร้าวรุนแรง มาจากลักษณะพื้นฐานแห่งความรุนแรงในชีวิต และจำเพาะเจาะจงว่ามนุษย์นั้นมีความก้าวร้าวรุนแรงอย่างทั้งระบบ เป็นไปโดยลักษณะอารมณ์พื้นฐาน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ทำไมเราไม่ได้รับยีนสายทางของลิงโบโนโบ แต่กลับรับมาทางสายชิมแปนซี ผู้เขียนทั้งสองท่านพินิจวิเคราะห์เจาะลึกลงไปในพฤติกรรมสันติ และอุปนิสัยอันน่าขันของลิงโบโนโบ พบว่าโลกนี้จะแตกต่างไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างมาก ถ้าหากมนุษย์วิวัฒน์มาในสายโบโนโบ
เป็นแบบฝึกหัดที่น่าสนใจในการลองคาดเดาโลกแห่งมวลมนุษยชาติใหม่ เราจะกลายเป็นเช่นไร สังคมแบบไหน? ผู้เรียบเรียงลองจินตนาการดูแล้วพบว่า ไม่สามารถจะจินตนาการออกไปได้สักแค่ไหนเลย เพราะว่าสงครามได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ของมวลมนุษย์มาตลอด มหากาพย์แห่งชีวิต วัฒนธรรมของทุกเชื้อชาติ ทุกเผ่า ไม่ว่าจะเป็นมหากาพย์อีเลียด โอดิสซีของโฮเมอร์ หรือสงครามมหาภารตะ เรื่องราวอาณาจักรอียิปต์ และอาณาจักรโรมัน ทั้งหมดถูกตกแต่ง ฝังลึกไว้ด้วยมหาสงคราม สุดที่เราจะจินตนาการถึงมนุษย์ที่มียีนโบโนโบแทนที่ยีนของชิมแปนซีได้ ถ้าจะลองจริงๆ โดยการเอาแรงผลักดันปรารถนาของมนุษย์ในการพิชิตอริราช และครอบครองผืนแผ่นดินรอบบริเวณออกไป เราอาจจะจินตนาการเห็นกลุ่มมนุษย์กลุ่มเล็กๆ อาศัยในพื้นที่จำกัดเหมือนวัวอยู่ในทุ่งหญ้าเท่านั้น บางทีเราอาจจะต้องเชื่อมโยง การกำหนดทางพันธุกรรมในเรื่องนี้ เข้ากับลักษณะอื่นๆที่เราจะพูดถึงอีกครั้ง ในเรื่องความอยากรู้อยากเห็น ความกระหายในความรู้ การสร้างสรรค์ และจิตใจแห่งการรักการผจญภัย
นอกจากนี้ ยังเป็นคำถามเกี่ยวกับผลกระทบอื่นจากความก้าวร้าวของมนุษย์ มีพฤติกรรมที่ สำแดงนัยยะนี้อีกมากมาย ที่สะท้อนลักษณะด้านมืดนี้ของเรา ไม่ว่าจะเรื่องกีฬาชนวัว อันทารุณโหดร้าย นิสัยของนักล่า การชอบฆ่าได้แม้กระทั้งนกที่ไม่อันตราย และปลาโลมาอันรักสันติ หรือแม้กระทั่ง การกีฬาของมนุษย์ที่เน้นการแข่งขัน ซึ่งซ่อนนัยยะแห่งความก้าวร้าวรุนแรงไว้เต็มเปี่ยม ดูได้จาก ปรากฏการณ์ฮูลิแกนของเหล่าแฟนฟุตบอลในยุโรป ทั้งหมัด ทั้งมีด ปลิวกันว่อนกระจาย ในลักษณ์อื่นๆที่นึกได้อีกก็เช่น ในวงการตลาดและธุรกิจ การยึดครองไล่ล่าอาณานิคมทุกรูปแบบ (รวมถึงการเผยแพร่ศาสนา) ระบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่มวลมนุษย์กำลังสร้างความเสื่อมโทรมแก่สิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อนในตอนนี้หรอกหรือ?
อาจจะเป็นอะไรที่ถกเถียงกันไม่รู้จักจบ แต่หลายคนก็พร้อมที่จะเห็นด้วยและยอมรับ (Clark, 2007) แม้กระทั่งค่านิยมตามผู้นำ ก็เป็นอะไรที่เป็นสัญชาติญาณ ไม่ใช่การค่อยๆพัฒนา เติบโตจากประวัติศาสตร์และสังคม
ความก้าวร้าวของมนุษย์ การเป็นเอปนักฆ่า และลักษณะพฤติกรรมอื่นๆก็ดี ต่างก็สำแดงถึงการกำหนดทางพันธุกรรมของความเป็นมนุษย์
แน่นอน ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ในทันทีเราสามารถนึกถึงอะไรที่เป็นขั้วตรงกันข้ามได้
- สัญชาติญาณของเอปนักฆ่า
- ความรักและความเมตตากรุณา
- ความรู้สติ
- จิตวิญญาณ
- ความอยากรู้อยากเห็น ความกระหายที่จะรู้
สัตว์เซลล์เดียวขั้นพื้นฐานธรรมดา
การผุดกำเนิด
ระบบจัดการตนเอง
ระบบอัตตกำเนิด
การไร้ซึ่งจุดจำเพาะเจาะจงหรือศูนย์กลางแห่งชีวิต
การรับรู้
วิถีภายในตัวเองของการรู้ตัว
ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วินสู่ยุคพันธกรรมมนุษย์
ภาพรวมและอนาคตที่กำลังผุดกำเนิด
พันธุกรรมของมนุษย์จะส่งผลอะไรกับเรา